Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65708
Title: | ความรู้และทัศนคติต่อเรื่องเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Knowledge and attitude towards sex issues of lower secondary schools under department of Formal Education Ministry of Education in Samut Prakan Province |
Authors: | จิราภรณ์ รัตนพิทักษ์ |
Advisors: | เดชา ลลิตอนันต์พงศ์ เอม อินทกรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Decha.L@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- ไทย -- สมุทรปราการ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- ทัศนคติ วัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศ เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่น จิตวิทยาวัยรุ่น Junior high school students -- Thailand -- Samut Prakan Junior high school students -- Attitude (Psychology) Adolescence -- Sexual behavior Sex instruction for teenagers Adolescent psychology |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัย ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติในเรื่องเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัด กรมสามัญศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ โดย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 475 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นแบบสอบถามนักเรียนประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล รูปแบบการเลี้ยงดู ความรู้และทัศนคติต่อ เรื่องเพศ การอบรมสั่งสอนเรื่องเพศในครอบครัว ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามผู้ปกครองประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของครอบครัว ความเรื่องเพศ ทัศนคติในการสอนเรื่องเพศ เนื้อหาเรื่องเพศและวิธีการสอน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด สถิติ เชิงอนุมาน ได้แก่ t-test F-test Scheffe’s method Stepwise Multiple Regression ผลการศึกษาพบว่า ความรู้และทัศนคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสมุทรปราการอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ เพศ การได้รับความรู้เรื่องเพศจากสื่อต่าง ๆ ของบุตร รูปแบบการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย รูปแบบการเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจควบคุม ลักษณะการคบเพื่อนต่างเพศเป็นเพื่อนสนิท ลักษณะบ้านที่อยู่ โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.01 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อเรื่องเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสมการได้รับข้อมูลเรื่องเพศจากสื่อต่าง ๆ ของบุตร สถานภาพสมรสของบิดามารดา การทำกิจกรรมกับเพื่อนโดยการทานข้าวร่วมกัน และการใช้สวนสาธารณะเป็นที่พบปะสังสรรค์ โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.01 ปัจจัยทำนายความรู้เรื่องเพศ ตัวแปรอิสระที่มีผลเชิงบวก คือ การได้รับข้อมูลเรื่องเพศของบุตร รูปแบบการเลี้ยงดูลักษณะการเลือกคบเพื่อน ลักษณะที่พักอาศัย ตัวแปรอิสระที่มีผลเชิงลบ คือ เพศ ทัศนคติในการสอนเรื่องเพศวิธีการสอน สถานที่พบปะสังสรรค์กับเพื่อน สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามได้ร้อยละ 69 ส่วน ปัจจัยทำนายทัศนคติต่อเรื่องเพศ เชิงบวกคือ เกรดเฉลี่ย แหล่งข้อมูลเรื่องเพศ กิจกรรมที่ทำกับเพื่อน ความถี่ในการทำกิจกรรม สถานที่พบปะ ตัวแปรเชิงลบ คือ ข้อมูลเรื่องเพศที่ผู้ปกครองได้รับ สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามได้ร้อยละ 57 |
Other Abstract: | This Cross-Sectional Descriptive Study was to examine knowiedge and attitude towards sex issue of lower secondary school students under department of formal education Ministry of education in Samut prakam Province. The sample consisted 475 secondary school students. Research instrument were set of questionnaire that consisted of 2 part Part 1: demographic questionnaire was used for collecting subjects1 background information, child-rearing, teaching of sex in family, knowledge and attitude towards sex Part 2: Family questionnaire were consisted demographic of family data, knowledge and attitude towards sex The data were analyzed by descriptive statistics Unpaired T-test One – way ANOVA percentage arithmatics mean standard deviation Sheffe’s method and Stepwise multiple regression. The result of this study were as following : Most of student’s scores of knowledge and attitude towards sex of student at the moderate degree mean of knowledge was 24.3 and mean of attitude was 69.4 Knowledge were significantly related to sex issue from media. Democracy, Authoritarian child-raring, friends (p<0.01), Attitude were significantly related to sex issue from media, GPA., status of parents Democracy, Authoritarian child-raring, friends (p<0.01) From stepwise multiple regression knowledge with a predictive value of 69 (R2= 69) percent and attitude with a predictive value of 57 percent (R2 = 57) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65708 |
ISSN: | 9741755708 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jiraporn_ra_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 887.33 kB | Adobe PDF | View/Open |
Jiraporn_ra_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 818.75 kB | Adobe PDF | View/Open |
Jiraporn_ra_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Jiraporn_ra_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 823.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
Jiraporn_ra_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Jiraporn_ra_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Jiraporn_ra_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.