Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65908
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความแปรปรวนของส่วนคิวที และอัตราส่วนความแปรปรวนของส่วนคิวทีกับระดับซีรั่มโทรโปนินที ในผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บเค้นหน้าอกแบบแปรผัน
Other Titles: Correlation between QT dispersion and QT dispersion ratio with serum level of cardiac troponin-T in patients with unstable angina
Authors: เสก ปัญญสังข์
Advisors: ฉลาด โสมะบุตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
อาการปวดเค้นหัวใจ
Coronary heart disease
Angina pectoris
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของระดับซีรั่มโทรโปนที ซึ่งจัดเป็นตัววัดชี้ปริมาณการตายของกล้ามเนื้อหัวใจที่มีความไวสูง กับความแปรปรวนของส่วนคิวที, ความแปรปรวนของส่วนคิวทีที่ได้รับการแก้ไขแล้ว, และอัตราส่วนความแปรปรวนของส่วนคิวที ซึ่งเป็นตัวชี้วัดโอกาสที่จะเกิดภาวะเวนทริเคิลเต้นผิดจังหวะ ในผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บเค้นหน้าอกแบบแปรผันที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีดำเนินการ ได้ทำการศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บเค้าหน้าอกแบบแปรผันจำนวน 25 ราย (อายุเฉลี่ย 57.24 +/- 13.80 ปี, เป็นชาย 12 คน และหญิง 13 คน) โดยที่ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจวัดความแปรปรวนของส่วนคิวที, ความแปรปรวนของส่วนคิวทีที่ได้รับการแก้ไขแล้ว, และอัตราส่วนความแปรปรวนของส่วนคิวทีได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติทันทีที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเจ็บเค้นหน้าอกแบบแปรผัน และเมื่อครบเวลา 48 ชั่วโมงภายหลังจากการเจ็บหน้าอกครั้งสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง พร้อม ๆ กับได้รับการเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจซีรั่มโทรโปนินทีในเวลาเดียวกัน ผลการศึกษา พบว่าระดับซีรั่มโทรโปนินทีไม่มีความสัมพันธ์กับความแปรปรวนของส่วนคิวทีในทุกช่วงเวลาของการศึกษา (r2 = 0.025, P = 0.450 ที่แรกรับ; r2 - 0.157, p - 0.050 ที่ 48 ชั่วโมงภายหลังการเจ็บหน้าอกครั้งสุดท้าย; และ r2 = 0.086, p = 0.095 ที่ทุกช่วงเวลา) แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความแปรปรวนของส่วนคิวทีที่ได้รับการแก้ไขแล้ว (r2 =0.1651 p - 0.044 ที่แรกรับ; r2 = 0.292, p = 0.005 ที่ 48 ชั่วโมงภายหลังการเจ็บหน้าอกครั้งสุดท้าย; และ r2 = 0.188, p= 0.002 ที่ทุกช่วงเวลา) และอัตราส่วนความแปรปรวนของส่วนคิวที (r2 = 0.392, p = 0.001 ที่แรกรับ; r2 = 0.403, p = 0.001 ที่ 48 ชั่วโมงภายหลังการเจ็บหน้าอกครั้งสุดท้าย; และ r2 = 0.354, p <0.001 ที่ทุกช่วงเวลา สรุป เนื่องจากความแปรปรวนของส่วนคิวทีที่ได้รับการแก้ไขแล้ว และอัตราส่วนความแปรปรวนของส่วนคิวทีมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับระดับซีรั่มโทรโปนินทีโดยมีระดับความแม่นยำที่ไม่สูงมากนัก ดังนั้นเราจึงอาจจะใช้เป็นตัวชี้วัดของปริมาณกล้ามเนื้อหัวใจตายในผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บเค้นหน้าอกแบบแปรผันได้อย่างคร่าว ๆ
Other Abstract: Objectives : We investigated the relationship between the value of cardiac troponin-T and QT dispersion, corrected QT dispersion, and QT dispersion ratio in hospitalized patients with unstable angina in King Chulalongkorn Memorial Hospital. If its have correlation, its may be used as a non-invasive marker of ischemic Injury in patients with unstable angina. Methods : This is a prospective study that includes adult patients with unstable angina who were admitted to wards of medicine department. Twenty-five patients were enrolled เท the study (mean age of 57.24 +/- 13.80 years, 12 males and 13 females). QT dispersion, corrected QT dispersion, and QT dispersion ratio were calculated from surface ECG immediately after admission and 48 hours after the last onset of chest pain. Cardiac troponin-T was assayed at the same times. Results : The serum level of cardiac troponin-T showed no significantly correlation with QT dispersion in these patients (r2 = 0.025, p = 0.450 at time of admission; r2 = 0.157, p = 0.050 at 48 hours after the last onset of chest pain; and r2 = 0.086, p = 0.095 at all time of evaluation). But the serum level of cardiac troponin-T were significantly correlated with corrected QT dispersion (r2 = 0.165, p = 0.044 at time of admission; r2 = 0.292, p = 0.005 at 48 hours after the last onset of chest pain; and r2 = 0.188, p = 0.002 at all time of evaluation) and QT dispersion ratio (r2 = 0.392, p = 0.001 at time of admission; r2 = 0.403, p = 0.001 at 48 hours after the last onset of chest pain; and r2 = 0.354, p <0.001 at all time of evaluation). The correlation is confirmed for all by ANOVA and t test (all p <0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65908
ISBN: 9740311458
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sake_pa_front_p.pdf869.86 kBAdobe PDFView/Open
Sake_pa_ch1_p.pdf707.17 kBAdobe PDFView/Open
Sake_pa_ch2_p.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Sake_pa_ch3_p.pdf771.81 kBAdobe PDFView/Open
Sake_pa_ch4_p.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Sake_pa_ch5_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sake_pa_ch6_p.pdf669.3 kBAdobe PDFView/Open
Sake_pa_ch7_p.pdf669.53 kBAdobe PDFView/Open
Sake_pa_back_p.pdf754.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.