Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66160
Title: วิธีหาคำตอบที่เหมาะสมสำหรับปัญหาการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่มีสินค้าคงคลังหลายชนิดโดยมีข้อจำกัดเชิงสมรรถภาพร่วมกัน
Other Titles: A heuristic approach for the capacitated multi-item lot-sizing problem
Authors: ภัทร์อร แสงฤดี, 2521-
Advisors: ปวีณา เชาวลิตวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Paveena.C@Chula.ac.th
Subjects: การควบคุมสินค้าคงคลัง
สินค้าคงคลัง
การจัดการวัสดุ
การจัดซื้อ
Inventory control
Inventories
Materials management
Purchasing
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการแก้ปัญหาการจัดปริมาณการสั่งซื้อของสินค้าจำนวน N ชนิด ภายใน T ช่วงเวลา ภายใต้ข้อจำกัดเชิงสมรรถที่กำหนด โดยกำหนดให้ทราบปริมาณความต้องการของสินค้าที่แน่นอน และปริมาณความต้องการสามารถแปรเปลี่ยนได้ตามจำนวนช่วงเวลาและชนิดของสินค้าการแก้ปัญหามีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อและเก็บรักษาพัสดุคงคลังมีจำนวนน้อยที่สุด ปัญหานี้สามารถหาคำตอบที่ดีที่สุดได้จากการใช้โปรแกรมสำหรับรูปแต่จะใช้เวลาในการคำนวณสูง ดังนั้นจึงได้นำเสนอวิธีหาคำตอบที่เหมาะสมที่ใช้เวลาในการคำนวณน้อยกว่าสำหรับแก้ปัญหานี้ขึ้นโดยวิธีนำเสนอจะเป็นการวมปริมาณการสั่งซื้อในแต่ละช่วงเวลาเข้าด้วยกันเพื่อลดจำนวนครั้งในการสั่งซื้อลง ผลจากการทดสอบพบว่าวิธีการที่นำเสนอสามารถหาคำตอบที่เหมาะสมได้ โดยคำตอบที่ได้มีความคลาดเคลื่อนจากคำตอบที่ดีที่สุดประมาณ 0.91% และ 0.79% จากปัญหาทดสอบขนาดเล็ก (สินค้า 3 ถึง 6 ชนิด ภายใน 6 ถึง 10 ช่วงเวลา) และขนาดใหญ่ (สินค้า 10 ถึง 25 ชนิด ภายใน 5 ถึง 15 ช่วงเวลา) ตามลำดับ และพบว่าจำนวนช่วงเวลาของปัญหาทดสอบและอัตราส่วนระหว่างต้นทุนในการสั่งซื้อกับต้นทุนการเก็บรักษาพัสดุคงคลังมีผลต่อการหาคำตอบกับวิธีการที่นำเสนอ และวิธีการหาคำตอบที่นำเสนอจะให้คำตอบที่ไม่ดีนักเมื่ออัตราส่วนระหว่างต้นทุนในการสั่งซื้อกับต้นทุนการเก็บรักษาพัสดุคงคลังมีความแตกต่างกันมาก (คลาดเคลื่อนจากคำตอบที่ดีที่สุดประมาณ 2.81)
Other Abstract: This paper addresses the problem of scheduling the timing and quantities of ordering of N different products over T periods with prespecified capacity. We assume that the demand is deterministic and can vary from one period to another and from one product to another. The objective is to minimize the sum of ordering setup and inventory carrying cost. This problem can be solved to optimality by using a commercial mixed integer code but it is a computer-intensive task so we introduce lot elimination approach that requires less computational time for this problem. The results indicate that the best solution costs found by the heuristic deviated on an average by 0.91% and 0.79% from the optimal values for small problems (3 to 5 items over 6 to 10 periods) and large problems (10 to 25 items over 5 to 15 periods). We also found that the number of period and ratio of setup costs and carrying costs affect the heuristics. When there was a large disparity between setup costs and carrying costs, the performance of heuristic is poor (2.81% on average error).
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66160
ISSN: 9741759061
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patorn_sa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ999.5 kBAdobe PDFView/Open
Patorn_sa_ch1_p.pdfบทที่ 1806.95 kBAdobe PDFView/Open
Patorn_sa_ch2_p.pdfบทที่ 21.69 MBAdobe PDFView/Open
Patorn_sa_ch3_p.pdfบทที่ 31.18 MBAdobe PDFView/Open
Patorn_sa_ch4_p.pdfบทที่ 43.51 MBAdobe PDFView/Open
Patorn_sa_ch5_p.pdfบทที่ 5891.08 kBAdobe PDFView/Open
Patorn_sa_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.