Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66473
Title: | ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับระยะเวลาของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดารวัยรุ่น |
Other Titles: | Selected factors related to duration of exclusive breastfeeding in teenage mothers |
Authors: | อังคณา เจียมอมรรัตน์ |
Advisors: | ชมพูนุช โสภาจารีย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chompunut.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การให้นม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาวัยรุ่น Lactation Breastfeeding Teenage mothers |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการพยากรณ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ 1) ตัวบ่งชี้พื้นฐานประกอบด้วย เจตคติต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว การทำงานนอกบ้าน อิทธิพลของสื่อโฆษณา อิทธิพลของสื่อรณรงค์ 2) ตัวบ่งชี้ระดับกลาง ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว ทักษะการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว การสนับสนุนของสามี และ 3) ตัวบ่งชี้ใกล้ตัวคือความตั้งใจในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว และระยะเวลาของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาวัยรุ่นที่มีบุตรอายุ 6 เดือน ได้รับการคัดเลือกแบบตามสะดวก (Convenience sampling) จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเจตคติต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว แบบสอบถามอิทธิพลของสื่อโฆษณา แบบสอบถามอิทธิพลของสื่อรณรงค์ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว แบบสอบถามทักษะการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว แบบสอบถามการสนับสนุนของสามี แบบสอบถามความตั้งใจในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว แบบสอบถามทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach alpha) มีค่าระหว่าง 0.73 กับ 0.92 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบเชิงชั้น (Hierarchical Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้พื้นฐานได้แก่ อิทธิพลของสื่อรณรงค์ ตัวบ่งชี้ระดับกลางได้แก่ทักษะการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว การสนับสนุนของสามี และตัวบ่งชี้ใกล้ตัวได้แก่ ความตั้งใจในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระยะเวลาของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 030,022,023, และ 028 ตามลำดับ) ส่วนตัวบ่งชี้พื้นฐานได้แก่ เจตคติต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว การทำงานนอกบ้าน อิทธิพลของสื่อโฆษณา ตัวบ่งชี้ระดับกลางได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว ไม่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว (r = 0.01, -0.06, 0.06, และ 0.12 ตามลดำลับ) 2. ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ได้แก่ เจตคติต่อการเลี้ยงบุตรนมมารดาอย่างเดียว การทำงานนอกบ้าน อิทธิพลของสื่อโฆษณา ตัวบ่งชี้ระดับกลางได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวไม่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว (r=001,006, และ 0.12 ตามลำดับ) 2. ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ได้แก่ เจตคติต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว การทำงานนอกบ้าน อิทธิพลของสื่อโฆษณา และอิทธิพลของสื่อรณรงค์ ตัวบ่งชี้ระดับกลาง ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว ทักษะการเลี้ยงบุตรด้วยนมมาดาอย่างเดียว การสนับสนุนของสามี และตัวบ่งชี้ใกล้ตัวได้แก่ ความตั้งใจในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวสามารถร่วมกันพยากรณ์ระยะเวลาของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดาวัยรุ่นได้ร้อยละ 12 (R²=0.12,F=1216,p<.05) โดยอิทธิพลของสื่อรณรงค์เป็นเพียงตัวแปรเดียวที่สามารถพยากรณ์ระยะเวลาของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Beta=0.29,p<.05) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมระยะเวลาของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในวัยรุ่นต่อไป |
Other Abstract: | The purposes of this research were to 1) examine the relationships between selected factors including a) proximal determinants: attitude toward exclusive breastfeeding, working hour, influence of advertising media, influence of media campaign, b) intermediate determinants: including exclusive breastfeeding knowledge, exclusive breastfeeding skill, husband's support, c) underlying determinations including intention to exclusive breastfeeding and duration of exclusive breastfeeding and 2) to determine abilities of selected factors in predicting duration of exclusive breastfeeding in teenage mothers. One hundred and thirty subjects who were mothers of 6-month old infant were selected through convenience sampling method. Data collection tools including personal data sheet, attitude toward exclusive breastfeeding scale, influence of advertising media scale, influence of media campaign scale, exclusive breastfeeding knowledge scale, exclusive breastfeeding skill scale, husband's support scale and intention to exclusive breastfeeding scale were content validated. All questionnaires were tested for reliability from which the Cronbach's alpha were between 0.73 and 0.92 Statistical techniques use were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation, and Hierarchical multiple regression. Main findings were as follows: 1. Selected factors including proximal determinants: influence of media campaign, intermediate determinant: husband's support, exclusive breastfeeding skill and underlying determinants: intention to exclusive breastfeeding were significantly positively correlated with duration of exclusive breastfeeding in teenage mothers (r = 0.30, 0.23, 0.22 and 0.28, respectively p<.05) Proximal determinants including attitude toward exclusive breastfeeding, working hour, influence of advertising media, and intermediate determinants including exclusive breastfeeding knowledge were not correlated with duration of exclusive breastfeeding in teenage mothers (r = 0.01, -0.06, 0.06 and 0.12, respectively p>.05) 2. For the predictive abilities, all predictive together accounted for 12 percents of the variance in predicting duration of exclusive breastfeeding in teenage mothers (R² = 0.12, F=12.16, p<.05). The results indicated that influence of media campaign was only significant predictor of the duration of exclusive breastfeeding in teenage mothers (Beta = 0.29, p<.05). The results from this study can be used as guideline for promoting duration of exclusive breastfeeding in teenage mothers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66473 |
ISBN: | 9741429169 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Aungkana_je_front_p.pdf | 947.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aungkana_je_ch1_p.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aungkana_je_ch2_p.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aungkana_je_ch3_p.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aungkana_je_ch4_p.pdf | 917.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aungkana_je_ch5_p.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aungkana_je_back_p.pdf | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.