Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66553
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรทางกลยุทธ์กับการดำเนินงานทางการเงิน ของอุตสาหกรรมบริการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: Relationship between strategic alliances and financial performance the study of services sector on the Stock Exchange of Thailand
Authors: วีรพล แสงมณี
Advisors: อุทัย ตันละมัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: Uthai.T@Chula.ac.th,uthai@cbs.chula.ac.th
Subjects: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กลยุทธ์พันธมิตรธุรกิจ
อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน
Strategic alliances ‪(Business)‬
Financial service industry
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรทางกลยุทธ์กับผล การดำเนินงานทางการเงินของอุตสาหกรรมบริการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย องค์ประกอบของพันธ มิตรทางกลยุทธ์ประกอบด้วย ลักษณะการทำพันธมิตรซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ (1) จำนวนพันธมิตร (2) ระยะเวลาในการทำพันธมิตร (3) ความมีชื่อเสียงของพันธมิตร (4) ระดับความสำคัญของพันธมิตร ส่วนรูปแบบ ในการทำพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะความสัมพันธ์สามารถแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ (1) ความ สัมพันธ์ทางด้านการตลาดอย่างหลวม ๆ (2) ความสัมพันธ์ในรูปของสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (3) ความ สัมพันธ์ที่เป็นทางการที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเจ้าของธุรกิจ (4) การรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บริษัทในอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย โดยการศึกษานำร่องกับกลุ่มบันเทิงและสันทนาการ ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกก่อนที่จะนำผล การทดสอบมาปรับปรุงเพื่อใช้เป็นเครื่องมือหลักในการวิจัย ประเด็นหลักในการศึกษา ได้ทำการส่งแบบสอบ ถามไปยังผู้จัดการฝ่ายบัญชีทั้ง 73 บริษัท ใน 8 กลุ่มของอุตสาหกรรมบริการ ถึงแม้ว่าได้มีการโทรศัพท์เพื่อติด ตามผลแล้วก็ตาม แต่ก็ได้รับการตอบกลับเพียง 38 บริษัท (52%) เท่านั้น ด้านผลการดำเนินงานในการวัดผล ประกอบด้วย ขายสุทธิ ต้นทุนสินค้า/บริการ กำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากการใช้สินทรัพย์ EBIDA Margin และอัตราผลตอบแทนจากการใช้สินทรัพย์สุทธิ ซึ่งเก็บรวบรวมจากรายงานทางการเงินสำหรับ5ปี(2542-2546) ผลการวิเคราะห์ พบว่า ลักษณะการทำพันธมิตรทางธุรกิจกับกลุ่มผลประโยชน์ ไม่มีความ สัมพันธ์กับผลการดำเนินงานทางการเงินในด้านใด ๆ เลย อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างรูป แบบพันธมิตรกับผลการดำเนินงานทางการเงิน พบว่ากำไรสุทธิเฉลี่ยในแต่ละรูปแบบของการทำพันธมิตรมี ความแตกต่างกัน โดยการทำพันธมิตรในรูปแบบความสัมพันธ์ของสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรและการทำ พันธมิตรในรูปแบบของความสัมพันธ์ที่เป็นทางการที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเจ้าของธุรกิจ แตกต่างกับการทำพันธมิตรในรูปแบบของการรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ แต่ในส่วนของผลการดำเนินงานทางการเงินในด้าน อื่น ๆ รูปแบบของการทำพันธมิตรทางธุรกิจแต่ละรูปแบบมีผลการดำเนินงานทางการเงินไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The main objective of this thesis is to study the relationship between strategic alliances and financial performance in service industries. The alliance characteristics comprise (1) the number of alliance, (2) the length of time of strategic alliance formation, (3) the reputation of ally partners, and (4) the importance of ally partners. Also, the types of strategic alliances in terms of the extent of engagement are also examined, including (1) loose market relationship. (2) contractual relationship. (3) formalized ownership/relationship, and (4) formal integration. The sampling frame covers all service sectors in the Stock Exchange of Thailand. A pilot study was carried out with all companies in the entertainment sector. In-depth interviews were used to test and modify the main survey instrument. In the main study, self-administered questionnaires were sent to the accounting manager of all 73 organizations listed in the 8 service industries. Although with extensive telephone follow-ups, only 38 firms (52%) responded. Financial performance ratios-- Net Sales, Cost of Good Sold. Net Income, Return on Asset. Return on Net Asset and EBIDA Margin-- were also collected from the firm's financial reports for 5 years (fiscal year 1999-2003). The results showed no relationship between the strategic alliance characteristics and financial performances. However, the firms engaging in different types of strategic alliances appeared to differ in their financial performances. Contractual and formalized types of strategic alliances differed significantly from the Formal Integration in terms of their net profit margins.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66553
ISBN: 9745318574
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weeraphon_sa_front_p.pdf928.12 kBAdobe PDFView/Open
Weeraphon_sa_ch1_p.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Weeraphon_sa_ch2_p.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Weeraphon_sa_ch3_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Weeraphon_sa_ch4_p.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Weeraphon_sa_ch5_p.pdf911.23 kBAdobe PDFView/Open
Weeraphon_sa_back_p.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.