Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66868
Title: การใช้ประโยชน์เถ้าลอยลิกไนต์และกากตะกอนน้ำเสียชุมชน เป็นแหล่งธาตุปุ๋ยในการปลูกข้าว
Other Titles: Utilization of lignite fly ash and domestic sewage sludge as fertilizer elements source for planting rice
Authors: วิไล พันธุ์จงหาญ
Advisors: อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Orawan.Si@chula.ac.th
Subjects: เถ้าลอย
กากตะกอนน้ำเสีย
ข้าว -- ปุ๋ย
Fly ash
Sewage sludge
Rice -- Fertilizers
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เถ้าลอยลิกไนต์และกากตะกอนน้ำเสียชุมชนจัดเป็นของเหลือทิ้ง จากระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าและการบำบัดน้ำเสียซึ่งมีปริมาณต่อวันเกิดขึ้นมากหากมีการจัดการไม่เหมาะสมย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมได้ทางเลือกหนึ่งของการแก้ปัญหาเป็นการนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเนื่องจากเถ้าลอยลิกไนต์และกากตะกอนน้ำเสียชุมชนมีสมบัติทางเคมีที่สามารถเป็นแหล่งธาตุปุ๋ย (ไนโตรเจนฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม) ในการปลูกข้าวได้ขณะเดียวกันก็มีโลหะหนักที่เป็นธาตุพิษปนเปื้อนอยู่ด้วยดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นถึงการใช้ประโยชน์เถ้าลอยลิกไนต์และกากตะกอนน้ำเสียชุมชนเป็นแหล่งธาตุปุ๋ยในการปลูกข้าวพันธุ์ขาวตาแห้ง 17 ที่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของข้าวอย่างเหมาะสมและปลอดภัยโดยทำการศึกษาวิจัยในภาคสนามที่บริเวณพื้นที่มูลนิธิชัยพัฒนาแปลงที่ 3 ตำบลบ้านพริกอำเภอบ้านนาจังหวัดนครนายกด้วยแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ทำ 3 ซ้ำหนึ่งหน่วยทดลองคือแปลงขนาด 3x6.5 เมตร ผลการศึกษาวิจัยพบว่าการเติมกากตะกอนน้ำเสียชุมชนเพียงอย่างเดียวหรือเถ้าลอยลิกไนต์ร่วมกับกากตะกอนน้ำเสียชุมชนสามารถใช้ประโยชน์เป็นแหล่งธาตุปุ๋ยเทียบเท่ากับการเติมปุ๋ยเคมีหรือเถ้าลอยลิกไนต์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและมีปริมาณธาตุปุ๋ยคงเหลืออยู่ในดินหนึ่งเก็บเกี่ยวเพียงพอสำหรับการปลูกข้าวในฤดูถัดไปขณะที่การเติมเถ้าลอยลิกไนต์เพียงอย่างเดียวสามารถเป็นแหล่งของธาตุโพแทสเซียมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโดยผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกที่ได้รับจากการเติมกากตะกอนน้ำเสียชุมชน (166.11 กิโลกรัมต่อไร่) หรือเติมเถ้าลอยลิกไนต์ร่วมกับกากตะกอนน้ำเสียชุมชน (152.60 กิโลกรัมต่อไร่) ไม่แตกต่างทางสถิติเมื่อเทียบการเติมปุ๋ยเคมีหรือเถ้าลอยลิกไนต์ร่วมกับปุ๋ยเคมีส่วนการเติมเถ้าลอยลิกไนต์เพียงอย่างเดียว (111.12 กิโลกรัมต่อไร่) ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตที่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการเติมปุ๋ยเคมีหรือกากตะกอนน้ำเสียชุมชนทั้งนี้การเติมกากตะกอนน้ำเสียชุมชนอัตรา 0.5 ตันต่อไร่หรือเถ้าลอยลิกไนต์อัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับกากตะกอนน้ำเสียชุมชนอัตรา 0.5 ตันต่อไร่มีความปลอดภัยจากธาตุพิษ (สารหนูและแคดเมียม) เนื่องจากข้าวกล้องมีแคดเมียมน้อยมากจนตรวจไม่พบด้วยเครื่อง AAS ซึ่งสามารถตรวจวัดแคดเมียมได้ต่ำสุดที่ 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและปริมาณสารหนู (<0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมให้บริโภคคือ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมนอกจากนี้ดินมีแคดเมียม (<0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และสารหนู (<5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) อยู่ในระดับที่ยอมรับให้มีได้ในดินทั่วไป กล่าวได้ว่าในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดที่มีการยกระดับความเป็นกรดเป็นด่างเท่ากับ 5 การเติมกากตะกอนน้ำเสียชุมชนอัตรา 0.5 ตันต่อไร่หรือเถ้าลอยลิกไนต์อัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับกากตะกอนน้ำเสียชุมชนอัตรา 0.5 ตันต่อไร่สามารถเป็นแหล่งธาตุปุ๋ยในการปลูกข้าวได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยจากธาตุพิษ (สารหนูและแคดเมียม) ขณะที่การเต็มเถ้าลอยลิกไนต์อัตรา 2 ตันต่อไร่เพียงอย่างเดียวสามารถเป็นแหล่งของธาตุโพแทสเซียมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวดังนั้นเถ้าลอยลิกไนต์และกากตะกอนน้ำเสียชุมชนจึงเป็นประโยชน์ทางการเกษตรทดแทนปุ๋ยเคมีที่ช่วยลดปริมาณของเหลือทิ้งและแก้ไขปัญหามลพิษอย่างครบวงจร
Other Abstract: Lignite fly ash and domestic sewage sludge has been produced a sheer volume of wastes from pulverized coal burning and waste water treatment plant. Improper waste management resulted in a serious environmental problem in term of air, water and soil pollution. To solve this problem, an alternative way is utilization of lignite fly ash and domestic sewage sludge in agriculture because their chemical compositions consist of fertilizer elements (nitrogen, phosphorus and potassium) for planting rice. However, there are some toxic elements in these wastes. This study, therefore, focuses on appropriate utilization of lignite fly ash and domestic sewage sludge as fertilizer elements source for planting Tah Haeng 17 rice variety with safety from toxic elements. The field study was carried out at test area of Chaipattana Foundation, tambon Bangprik, Nakorn Nayok province. The experimental design was Randomized Complete Block with 3 replications. One experimental unit was 3 * 6.5 m. The result indicated that applying only domestic sewage sludge or lignite fly ash with domestic sewage sludge could be used as fertilizer elements source equal to chemical fertilizer or lignite fly ash with chemical fertilizer. In addition, the amount of fertilizer elements source after harvest remained in the soil enough for the next crop. Lignite fly ash was potassium source for planting rice sufficiently. Besides, rice yield received from applying domestic sewage sludge (166.11 kg / rai) or lignite fly ash with domestic sewage sludge (152 60 kg./rai) had no significant difference compared with chemical fertilizer (174.14 kg / rai) or lignite fly ash with chemical fertilizer (164 52 kg./rai). Application only lignite fly ash gave yield (111.12 kg / rai) lower than that of chemical fertilizer or domestic sewage sludge significantly. The content of cadmium and arsenic in brown rice were in safe dose due to non-detected cadmium by Atomic Absorption Spectrophotometer which the lowest detection limit of 0.01 mg.Cd/kg. and the amount of arsenic (<0.2 mg./kg.) was found within the allowable consumed level that was less than 2 mg. As / kg. Moreover, the amount of cadmium (<0.01 mg./kg.) and arsenic (<5 mg./kg.) in the soil after harvest were within normal level of general soil. In conclusion, adjustment pH of acid sulfate soil up to 5, application of domestic sewage sludge 0.5 tons / rai or lignite fly ash (2 tons / rai) with domestic sewage sludge (0.5 tons / rai) could be used as fertilizer element sources for planting rice properly with safety from arsenic and cadmium Lignite fly ash (2 tons / rai) alone could be used as potassium source Therefore, utilization lignite fly ash and domestic sewage sludge in agriculture were not only reduced waste by used as fertilizer but also resolved consequence environmental problem
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66868
ISBN: 9745327344
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vilai_ph_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ948.89 kBAdobe PDFView/Open
Vilai_ph_ch1_p.pdfบทที่ 1741.53 kBAdobe PDFView/Open
Vilai_ph_ch2_p.pdfบทที่ 22.29 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_ph_ch3_p.pdfบทที่ 3875.73 kBAdobe PDFView/Open
Vilai_ph_ch4_p.pdfบทที่ 41.78 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_ph_ch5_p.pdfบทที่ 52.65 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_ph_ch6_p.pdfบทที่ 6775.4 kBAdobe PDFView/Open
Vilai_ph_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.