Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67496
Title: แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการการวิ่งเที่ยวเปล่าของรถหัวลาก
Other Titles: Computerized model for managing empty moves of tractors
Authors: ทรงศักดิ์ โชติเวที
Advisors: สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sompong.Si@Chula.ac.th
Subjects: แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์
การขนส่งด้วยรถบรรทุก
การบริหารงานโลจิสติกส์
Computer simulation
Trucking
Business logistics
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการจัดตารางการทำงานของรถหัวลาก สำหรับวางแผนการใช้รถหัวลากในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการนำเข้าและส่งออก ที่ทำการขนส่งระหว่างท่าเรือ โรงงาน และลานตู้เปล่าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แบบจำลองการจัดตารางการทำงานของรถหัวลากที่ได้พัฒนาขึ้นแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ส่วน หลัก คือ 1) การประเมินความเป็นไปได้ของตาราง เป็นตรวจสอบเวลาการปฏิบัติงานเทียบกับข้อจำกัดด้านเวลาต่างๆ 2) การมอบหมายงานเพิ่มเข้าไปในตารางการทำงานในส่วนของงานที่ยังไม่ได้ทำการมอบหมาย 3) การค้นหาแบบข้อห้าม (Tabu Search) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของตารางการทำงานให้ดีขึ้น และ4) การประเมินคุณภาพตารางการทำงานเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ต้องเกิดการทำงานที่ให้กำไรสูงสุด แบบจำลองที่ได้พัฒนาขึ้นได้ผ่านการทดสอบความน่าเชื่อถือและความเหมาะสม ด้วยการทดสอบ ผลการวิเคราะห์ด้วยข้อมูลการปฏิบัติงานจริง ผลการทดสอบพบว่าแบบจำลองนี้ให้ผลการจัดตารางการทำงานดีกว่าการจัดตารางการทำงานปกติของหน่วยงานตัวอย่าง ทั้งด้านจำนวนรถที่ใช้และระยะวิ่งเที่ยวเปล่าของรถหัวลาก
Other Abstract: The objective of this study is to develop a computerized model for scheduling the movement of tractors and trailers used to transport containers for imports/exports between ports, factories, and container yards located in the great Bangkok area. The tractor-trailer scheduling model is composed of 4 main parts. The first part determines the feasibility of the schedules by comparing the job processing times with the various time windows and constraints. The second part attempts to add to the schedules the jobs that have not been earlier assigned to the current schedules. The third part adopts the so-called Tabu search algorithm to identify potential improvements over the current scheduling solution. The last part is to assess the quality of the obtained solution with respect to the scheduling objective of profit maximization. To check the validity of the model, the model is applied to determine the schedules for the use of tractors and trailers based on a set of real-life operational data. The analysis results reveal that the schedules generated by the model perform better than those generated manually in terms of the number of required tractors and empty movement of tractors.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67496
ISBN: 9745311839
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songsak_ch_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ955.67 kBAdobe PDFView/Open
Songsak_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1693.22 kBAdobe PDFView/Open
Songsak_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.5 MBAdobe PDFView/Open
Songsak_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.23 MBAdobe PDFView/Open
Songsak_ch_ch4_p.pdfบทที่ 42.62 MBAdobe PDFView/Open
Songsak_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.3 MBAdobe PDFView/Open
Songsak_ch_ch6_p.pdfบทที่ 6841.43 kBAdobe PDFView/Open
Songsak_ch_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.