Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67857
Title: | ภาวะสุขภาพจิตของพนักงานเก็บขยะในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Mental health of waste collectors in Bangkok metropolis |
Authors: | นรารัตน์ ธนกุลพรรณ |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Advisors: | นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ |
Subjects: | พนักงานเก็บขยะ -- สุขภาพจิต พนักงานเก็บขยะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ Refuse collectors -- Mental health Refuse collectors -- Thailand-- Bangkok |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิตของพนักงานเก็บขยะในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในศึกษาคือ กลุ่มพนักงานเก็บขยะ สังกัดสำนักรักษาความสะอาด กรุงเทพมหานคร จำนวน 439 คน ที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และแบบคัดกรองภาวะสุขภาพจิต GHQ-30 (General Health Questionnaire 30) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสูด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า พนักงานเก็บขยะในกรุงเทพมหานครมีปัญหาภาวะสุขภาพจิต ร้อยละ 21.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิต ได้แก่ สถานภาพทางการเงิน ภาระหนี้สิน ภาวะสุขภาพทางกาย และจำนวนชั่วโมงการทำงาน มีความสัมพันธ์กับปัญหาภาวะสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 เมื่อนำปัจจัยต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์โดย Multiple Logistic Regression พบว่าปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะสุขภาพจิตของพนักงานเก็บขยะในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สถานภาพทางการเงิน ภาวะสุขภาพทางกาย และจำนวนชั่วโมงการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และภาระหนี้สิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | This study was a cross-sectional descriptive study. The objectives of this study were to study mental health and factors related to mental health of waste collectors in Bangkok Metropolis. The samples of the study were 439 collectors of the Public Cleansing Department of the B.M.A. The instrument was a set of questionnaires consisting of 2 pats: demographic questionnaire and GHQ-30 (General Health Questionnaire 30) Data was analyzed by SPSS for Windows. Statistics utilized were percentage, mean, standard deviation, maximum, minimum, Chi-square test and Multiple Logistic Regression Analysis. The Study revealed that 21.2 percent of waste collectors had mental health problem. Factors related to mental health were financial status, debt, physical health problem and hours of work per day were statistically significant related to mental health of waste collectors at p<0.01. The factors significantly predicted mental health after performing multiple logistic regression analysis were financial status, physical health problem and hours work per day at the 0.01 level and debt at the 0.05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67857 |
ISBN: | 9741422245 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nararat_th_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 914.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nararat_th_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nararat_th_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nararat_th_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nararat_th_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nararat_th_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nararat_th_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.