Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67919
Title: เสถียรภาพของข้อมูลบัญชีกับความสามารถในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนและหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: Accounting information permanence and incremental explanatory power before and after economic crisis of property and construction companies listed in the Stock Exchange of Thailand
Authors: ทิพวรรณ แซ่ล่อ
Advisors: วรศักดิ์ ทุมมานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: Vorasak.T@chula.ac.th
Subjects: การบัญชี
หลักทรัพย์ -- อัตราผลตอบแทน
Accounting
Securities -- Rate of return
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นการศึกษาเสียรภาพของข้อมูลบัญชีกับความสามารถในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนและหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยเน้นศึกษาเฉพาะบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 74 แห่ง เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2537 – 2539 และ พ.ศ. 2543- 2545 ตามลำดับ ข้อมูลทุติยภูมิในการศึกษาครั้งนี้ ได้รวบรวมจากฐานข้อมูลทางการเงินของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากฐานข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ และจากฐานข้อมูลในห้องปฏิบัติการทางการเงินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทดสอบผลกระทบจากเสถียรภาพของข้อมูลบัญชีที่มีต่อความสามารถในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นด้วยตัวแบบความถดถอยเชิงพหุระหว่างผลตอบแทนหลักทรัพย์ซึ่งเป็นตัวแปรตาม และข้อมูลบัญชีซึ่งเป็นตัวแปรอิสระ นอกจากนี้ได้ใช้เทคนิคตัวแปรหุ่นสำหรับเสถียรภาพของข้อมูลบัญชีและช่วงระยะเวลา ซึ่งถือเป็นตัวแปรอิสระในตัวแบบความถดถอยเชิงพหุ ความสามารถในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น จะประมาณจากค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยของระดับและการเปลี่ยนแปลงในข้อมูลบัญชี โดยสรุป การทดสอบผลกระทบจากเสถียรภาพของข้อมูลบัญชีที่มีต่อความสามารถในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ในช่วงก่อนและ หลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ได้ให้หลักฐานที่เหมือนกันว่ากำไรที่มีเสถียรภาพต่ำจะมีความสามารถในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ที่น้อยกว่ากำไรที่มีเสถียรภาพสูงในขณะเดียวกัน กระแสเงินสดจากการดำเนินงานก็ไม่มีความสามารถในกาอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเกินกว่ากำไรทางบัญชี ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% อย่างไรก็ตาม การทดสอบเปรียบเทียบผลกระทบจากเสถียรภาพของข้อมูลที่มีต่อความสามารถในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ ในช่วงก่อนกับหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ได้ให้หลักฐานว่า เมื่อกำไรมีเสถียรภาพต่ำ ความสามารถของกำไรทางบัญชีในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ ในช่วงก่อนและหลังวิกฤตมีความแตกต่างกัน แต่ความสามารถของกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ในช่วงก่อนและหลังวิกฤตไม่แตกต่างกัน ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 95%
Other Abstract: This thesis is to study the accounting information permanence and incremental explanatory power before and after economic crisis which on focuses on property and construction companies listed in the Stock Exchange of Thailand. The sample consists of 74 Thai listed companies in 1994 – 1996 and 2000 – 2002, respectively. The secondary data used in this study were collected from financial database available at the Stock Exchange of Thailand, the Ministry of Commerce and the Financial Laboratory of Chulalongkorn University. This study examines the effect of accounting information permanence on incremental explanatory power in multiple regression models with stock returns as the dependent variable and accounting information as independent variable. In addition, the dummy variable technique is used for the accounting information permanence and the timing as independent variables in multiple regression models. The incremental explanatory power is estimated by regression coefficients of the levels and changes in accounting information. In summary, the effect of accounting information permanence on incremental explanatory power before and after crisis shows the same results that low permanent earnings have less explanatory power than high permanent earing while operating cash do not have incremental explanatory power beyond earnings, indices at confidence interval 95%. However, the comparison of explanatory before and after crisis affected by accounting information permanence shows that the explanatory power of accounting earning before and after crisis is different when earnings are low permanent, but not for operating cash flows, indices at confidence interval 95%.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67919
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.136
ISBN: 9745324655
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.136
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tippawan_sa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ911.16 kBAdobe PDFView/Open
Tippawan_sa_ch1_p.pdfบทที่ 11.14 MBAdobe PDFView/Open
Tippawan_sa_ch2_p.pdfบทที่ 21.49 MBAdobe PDFView/Open
Tippawan_sa_ch3_p.pdfบทที่ 31.22 MBAdobe PDFView/Open
Tippawan_sa_ch4_p.pdfบทที่ 41.54 MBAdobe PDFView/Open
Tippawan_sa_ch5_p.pdfบทที่ 51.02 MBAdobe PDFView/Open
Tippawan_sa_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.