Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68018
Title: กระบวนการปรับปรุงแผนที่ฐานสำหรับโครงการ GIS/AM/FM ของการไฟฟ้านครหลวงเขตราษฎร์บูรณะ
Other Titles: Base map updating process for the Metropolitan Electricity Authority's GIS/AM/FM project in Ratburana district
Authors: ณรงค์ เฉลิมวัฒนชัย
Advisors: บรรเจิด พละการ
ทรัพย์สวนแตง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
การไฟฟ้านครหลวง เขตราษฎร์บูรณะ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นระบบที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ทางการไฟฟ้านครหลวงเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่สำคัญหน่วยงานหนึ่งที่ให้บริการทางด้านสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สะท้องให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับการเจริญเติบโตและการขยายตัวของตัวผุ้ใช้บริการ จึงได้นำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาใช้ในหน่วยงาน เพื่อใช้ในการปรับปรุงข้อมูลผู้ใช้บริการที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยพิจารณาถึงตำแหน่งที่ตั้งเป็นสำคัญในการปรับปรุง ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการจัดทำระบบแผนที่และข้อสนเทศระบบจำหน่ายไฟฟ้า ในการจัดทำโครงการ GIS/AM/FM ของการไฟฟ้านครหลวง เพื่อดำเนินการปรับปรุงแผนที่ของการไฟ้ฟ้านครหลวงให้มีความทันสมัยเป็นปัจจุบันมากที่สุด ด้วยวัตถุประสงค์ของการวิจัย มุ่งที่จะศึกษาเพื่อหาวิธีการใช้เครื่องมือสำรวจที่มีใช้อยู่ในการปรับปรุงแผนที่ฐานและหาแนวทางความเป็นไปได้ในการจัดปรับปรุงแผนที่ของการไฟฟ้านครหลวง ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ได้พิจารณาเลือกสำนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตราษฎร์บูรณะ เป็นพื้นที่ทดลองในการปฏิบัติงานทางด้านการหากระบวนการปรับปรุงแผนที่ฐานของการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งพื้นที่ทดลองดังกล่าวมีพื้นที่ครอบคลุมเท่ากับ 377.98 ตารางกิโลเมตรและมีผู้ใช้บริการประมาณ 100,000 กว่าราย โดยในพื้นที่ทดลองมีความหลากหลายของพื้นที่ เช่น หมู่บ้านจัดสรร มีถนนตัดผ่าน และข้อมูลอื่น ๆ เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการปรับปรุงแผนที่ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอและเป็นปัจจุบันมากที่สุด ด้วยเครื่องมือที่มีใช้อยู่ของการไฟฟ้านครหลวงในการเก็บข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด ผลจากการวิจัย พบว่า เครื่องมือสำรวจที่มีใช้อยู่ของการไฟฟ้านครหลวงที่ใช้ในการปรับปรุงแผนที่ที่มีความเหมาะสมมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว คือ ชุดเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมระบบ GPS และเครื่อง Digitizer โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เครื่องมือทั้ง 2 ชนิดนี้ในการปรับปรุง เพราะว่าเครื่องมือแต่ละชนิดมีความสามารถต่างกันคือ ชุดเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมระบบ GPS หาตำแหน่งที่ตั้ง หมุดควบคุมส่วนเครื่อง Digitizer เป็นเครื่องในการลอกรายละเอียดเพื่อนำเข้าข้อมูลลงในฐานข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งข้อมูลที่ได้นั้นมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ ทำการแก้ไขหรือปรับปรุงกี่ครั้งก็ได้เพื่อให้ถูกต้องตามต้องการ อีกทั้งสามารถที่จะผลิตแผนที่ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และยังสามารถรักษาข้อมูลให้มีความถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ แนวทางความเป็นไปได้ในการการจัดปรับปรุงแผนที่ของการไฟฟ้านครหลวง คือ ต้องมีการพัฒนาทางด้านบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและเครื่องมือที่ใช้ให้มีความทันสมัยต่อปัจจุบัน
Other Abstract: Geographic Information System is widely used in both government and private organization Under The Mapping System and The Power Distribution Information System Project, the Metropolitan Electrical Authority (MEA). the state enterprises of infrastructure service, is also using GIS to support and update the client data in term of location which is increasing day by day. This GIS/AM/FM project has improved and highly updated MEA base map. The objective of this research is to study how to use the existing equipment and also looking for possible way to improve base map processing system which have been used in MEA. An area selected to be studied in this research is MEA Ratburana district Which covers 377.98 km2 and serves approximately 100,000 clients. This area posses the diversified factors, such as real estate property. New cut road etc. which have been used to improve and mostly update the data by MEA equipment. From the results show that GPS and Digitizer which are used in MEA perform good capability and user friendliness. GPS are used for searching requested position where as Digitizer are used for signal amplification. Data from both output will be used for base map processing to tabulate accurately map. In order to improve base map updating process for MEA. human resource must be well trained in using software, as well as some of the conventional equipments must be replaced by modern technology.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68018
ISSN: 9743344713
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narong_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.05 MBAdobe PDFView/Open
Narong_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1953.96 kBAdobe PDFView/Open
Narong_ch_ch2_p.pdfบทที่ 23.12 MBAdobe PDFView/Open
Narong_ch_ch3_p.pdfบทที่ 311.09 MBAdobe PDFView/Open
Narong_ch_ch4_p.pdfบทที่ 4945.09 kBAdobe PDFView/Open
Narong_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.39 MBAdobe PDFView/Open
Narong_ch_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.