Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68157
Title: บทบาทของ "กลุ่ม 16" ในฐานะกลุ่มทางการเมือง
Other Titles: The role of "Group 16" as political faction
Authors: มีลาภ เปรมทรัพย์
Advisors: ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กิจกรรมทางการเมือง
กลุ่ม 16
กลุ่มการเมือง
กลุ่มอิทธิพล -- กิจกรรมทางการเมือง
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษา “บทบาทของกลุ่ม 16 ในฐานะกลุ่มการเมือง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการจัดตั้ง รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์ และการสลายตัวของกลุ่มการเมือง ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม ดังกล่าวเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มหรือผลประโยชน์ ส่วนร่วม โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักการเมือง (กลุ่ม 16) นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา ข้าราชการ ตำรวจ และนักหนังสือพิมพ์ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและเทคนิคการสังเกตเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล เพื่อพิสูจน์สมมุติฐานที่วางไว้ว่า กลุ่ม 16 เป็นกลุ่มย่อยทางการเมืองที่จัดตั้งขึ้นโดยความ สัมพันธ์ภายในกลุ่มเป็นไปในลักษณะที่มีความเท่าเทียมกันและกลุ่ม 16 มีบทบาทในการดำเนินการ กิจกรรมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางการเมือง มากกว่าผลักดันนโยบายของรัฐ ผลของการศึกษาพบว่า การจัดตั้งหรือการรวมกลุ่มการเมืองของ กลุ่ม 16 เกิดจากความ สัมพันธ์ส่วนตัว โดยสมาชิกส่วนใหญ่ภายในกลุ่มมีความสัมพันธ์สนิทสนมกันทั้งในระดับส่วนตัวและ ครอบครัว ทำให้กลุ่ม 16 มีลักษณะเฉพาะพิเศษ คือ สมาชิกของกลุ่มมี คุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันมาก การบริหารองค์กรของกลุ่มเน้นความประนีประนอมและยึดถือระบบอาวุโส ไม่มีระบบบังคับบัญชาในเชิง เจ้านาย ลูกน้อง สมาชิกกลุ่มมีอิสระทางความคิด ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ตลอดจนมีอุดมการณ์ทาง การเมืองร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในระบบสังคมไทย สําหรับประเด็นการศึกษาบทบาทของกลุ่ม 16 ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง พบว่ากลุ่มเนื่องในกรณีที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน และมีส่วนร่วมต่อการผลักดันแนวนโยบายของรัฐบาลอย่างชัดเจน นอกจากนี้กลุ่ม 16 ได้มีอิทธิพลด้านการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว โดยอาศัยโอกาสทางการเมืองเป็นปัจจัยการเกื้อหนุน
Other Abstract: The objectives of the study are to study on the establishment, form of relation structure, disintegration of the political faction as well as its activities which are related to public interest. The method of the study is based upon quality research. The data was collected from the selected politicians of "Group 16", university lecturers, police officers and journalists by in-depth interview and observation technique in order to test the hypothesis Group 16 is a faction within a political group that has equal status to other group members; its actual role is for economical and political interest rather than being a political interest group. The result of the study concludes that the establishment of Group 16 is based on personal relations among its members, both individually and family-ties. A notable characteristic of the group member is an indentical one: the organization and its management is based on compromise, seniority, liberty, fratunity which are conformed to the Thai political culture. As for the political role of the group; it is found out that the group has sufficient power to bargain with the political parties. Moreover, the group has influence on seeking for personal interest.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68157
ISBN: 9743329544
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Meelap_pr_front_p.pdf883.58 kBAdobe PDFView/Open
Meelap_pr_ch1_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Meelap_pr_ch2_p.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Meelap_pr_ch3_p.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Meelap_pr_ch4_p.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Meelap_pr_ch5_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Michelle_ro_ch6_p.pdf684.61 kBAdobe PDFView/Open
Michelle_ro_back_p.pdf724.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.