Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68956
Title: แนวทางการจัดการหาบเร่แผงลอยในเมือง : กรณีศึกษานครเชียงใหม่
Other Titles: Guidelines for urban hawkers management : a case study of Nakhon Chiang Mai
Authors: วัลลภ มั่นแน่
Advisors: ขวัญสรวง อติโพธิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: แผงลอย ผังเมือง -- ไทย -- เชียงใหม่
เชียงใหม่ -- ภาวะสังคม
เชียงใหม่ -- ภาวะเศรษฐกิจ
Vending stands City planning -- Thailand -- Chiang Mai
Chiang Mai -- Social conditions
Chiang Mai -- Economic conditions
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาหาแนวทางการจัดการหาบเร่แผงลอยในนครเชียงใหม่นั้น พบว่าลักษณะและสภาพทั่วไปของการค้าหาบเร่แผงลอยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเป็นอย่างมาก ทั้งจำนวนและสถานที่การค้าที่เพิ่มมากขึ้น รูปลักษณะและวัตถุประสงค์ในการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่ามีจำนวนหาบเร่แผงลอยเพิ่มมากขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วงระยะกว่า 8 ปีที่ผ่านมานับแต่มีการสำรวจและบันทึกไว้ พื้นที่การค้าขยายออกไปสู่บริเวณพื้นที่โดยรอบของเมืองมากกว่ากระจุกตัวอยู่แต่เฉพาะในเมืองเท่านั้น วัตถุประสงค์ได้เปลี่ยนไปเป็นการค้าเพื่อแสวงหากำไรมากขึ้นกว่าการค้าเพื่อยังชีพเช่นในอดีต มีการอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการค้า ทำให้หาบเร่แผงลอยส่วนหนึ่งมีลักษณะที่แปลกตาออกไป หาบเร่แผงลอยที่พบมีความหลากหลายมากขึ้นในประเภทสินค้าที่จำหน่าย ที่ตั้งการค้า อุปกรณ์การค้า ขนาดพื้นที่การค้า และช่วงเวลาที่ค้าขาย นอกจากนี้การค้าหาบเร่แผงลอยยังจัดได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และเป็นรูปแบบการค้าขายของผู้คนในเมืองไทยและประเทศทางตะวันออกมาเป็นเวลาช้านาน เป็นอาชีพที่มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจการค้าและวิถีชีวิตของชาวเมือง แต่งแต้มสีสันให้แก่สังคมเมือง ทำให้เมืองมีเสน่ห์ มีชีวิตชีวา เพิ่มความคึกคักและน่าอยู่อาศัยให้กับเมือง เกิดความประทับใจต่อผู้ที่ได้พบเห็น แต่ขณะเดียวกันการค้าหาบเร่แผงลอยที่ขาดการควบคุมและการจัดการที่ดี ในระยะที่ผ่านมาก็ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเมืองในทางที่เลวลงเช่นกัน ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะกลุ่มหาบเร่แผงลอยที่มีจำนวนมากในบริเวณพื้นที่พิเศษของเมือง การศึกษาแนวทางการจัดการหาบเร่แผงลอยในเมืองกระทำโดยคำนึงถึงวัตถุประสง์ที่สอดคล้องกับปรัชญาหรือความคิดที่มีเหตุผลและเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ อันได้แก่ตัวผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเอง ประชากรเมือง และหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบในการดำเนินการ การเชื่อมโยงแนวคิดดังกล่าวเข้ากับแนวทางหรือมาตรการทั้งหลาย ทำให้พบว่าแนวทางการจัดการที่เหมาะสมน่าที่จะเป็นแนวทางที่ทำให้การค้าหาบเร่แผงลอยมีความสมบูรณ์ในแง่ของการพัฒนา โดยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวเมืองให้มากที่สุด โดยการผสมผสานแนวทางและมาตรการต่าง ๆ มากกว่าที่จะดำเนินมาตรการหลักเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดทางเลือกหรือแนวทางปฏิบัติที่มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ โดยจะต้องดำเนินการควบคู่กันไปทั้งในระดับภาพรวมของเมืองและในระดับพื้นที่ที่เล็กลงไป เพื่อให้เกิดผลครอบคลุม และเป็นที่รูปธรรมมากที่สุด
Other Abstract: According to the study of Guidelines for Urban Hawkers Management in Nakhon Chiang Mai, the characteristics and general conditions of hawkers in the present have much changed from the past in terms of their increasing number and locations, characteristics and trading objectives. It is found that the number of hawkers have grown double for the past eight years since being surveyed and recorded. A commercial area also extends to the urban fringe instead of clustering in the urban area. Trading is aiming more at profit rather than sustaining life as it was in the past. In addition, since new technology is employed, some hawkers have a different look. They are also diverse in their products, location, equipment, area, and trading time. Furthermore, they are a distinguished characteristic, way of life, and a form of trading in Thailand and oriental countries for years. They play an important role in the urban economics, commerce, and way of life. They also make the city colorful, charming, and lively, so it not only becomes a vigorous and suitable place to live in but also impresses travelers. On the otherhand, lack of good control and management of hawkers in the past could affect the urban environment and consequently brings about several problems, especially a large number of hawkers in the urban's special area. The study of Guidelines for Urban Hawkers Management is based on the objectives in the agreement with philosophy and concepts which provide benefits to every party-hawkers, urban population, and organizations who are responsible for this issue. Also, due to a linkage between the above concepts and other guidelines and measures, it is found that the appropriate guidelines should be ones that provide a complete development of hawkers and agree with the urban culture and way of life as much as possible. The integration of guidelines and measures rather than running a particular measure alone could bring about various practical alternatives or guidelines which are suitable to the city. Also, they should be carried out in an overall level of the city and smaller area to provide a complete and concrete result as much as possible.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68956
ISSN: 9743316337
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wunlop_mu_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ955.24 kBAdobe PDFView/Open
Wunlop_mu_ch1.pdfบทที่ 1325.33 kBAdobe PDFView/Open
Wunlop_mu_ch2.pdfบทที่ 21.32 MBAdobe PDFView/Open
Wunlop_mu_ch3.pdfบทที่ 39.95 MBAdobe PDFView/Open
Wunlop_mu_ch4.pdfบทที่ 49.54 MBAdobe PDFView/Open
Wunlop_mu_ch5.pdfบทที่ 55.76 MBAdobe PDFView/Open
Wunlop_mu_ch6.pdfบทที่ 61.03 MBAdobe PDFView/Open
Wunlop_mu_ch7.pdfบทที่ 7322.69 kBAdobe PDFView/Open
Wunlop_mu_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก634.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.