Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6910
Title: ภาวะการทำงานของไตกับการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Other Titles: Prognostic implications of renal function and cardiovascular outcomes after acute coronary syndrome
Authors: กรวิชญ์ สุขลิ้ม
Advisors: สุพจน์ ศรีมหาโชตะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Supot.S@chula.ac.th, s_srimahachota@yahoo.co.th
Subjects: ไต -- โรค
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
พยากรณ์โรค
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาของงานวิจัย : การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การทำงานของไตมีความสัมพันธ์กับการพยากรณ์โรค ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แต่ในปัจจุบันข้อมูลยังไม่ชัดเจนและ ยังไม่มีรายงานในประชากรไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างระดับการทำงานของไตเมื่อแรกรับในโรงพยาบาล (estimated glomerular filtration rate [eGFR]) กับอัตราตาย (mortality rate ) และ cardiovascular complication เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีการทำงานของไตอยู่ในเกณฑ์ปกติ วิธีการดำเนินการ : ข้อมูลผู้ป่วยจากโครงการทะเบียนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute coronary syndrome) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2545 ถึงเดือน ตุลาคม 2547 นำมาวิเคราะห์ถึงอัตราการตาย, ภาวะแทรกซ้อน และหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยแบ่งตามระดับการทำงานของไต ผลการศึกษา : จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 1816 ราย เป็นเพศชายคิดเป็น 59.4% อายุเฉลี่ย 65 ปี อัตราตายในโรงพยาบาล และ ที่ 1 ปีของการติดตาม เท่ากับร้อยละ 13.5 และ 22.5 ตามลำดับ เมื่อแบ่งระดับการทำงานของไต โดยใช้ค่า eGFR ออกเป็น 3 ระดับ คือ เสื่อมรุนแรง (eGFR น้อยกว่า 30 ml/min/1.73 sq.m., เสื่อมปานกลาง (eGFR 30-60 ml/min/1.73 sq.m.) และ ปกติหรือเสื่อมเล็กน้อย (eGFR มากกว่า 60 ml/min/1.73 sq.m.) จะพบว่าโอกาสเสียชีวิตในโรงพยาบาล และที่ 1 ปีของการติดตาม เพิ่มขึ้นตามระดับ eGFR ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Adjusted hazard ratio ต่อการเสียชีวิตที่ 1 ปีของการติดตาม ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีค่า eGFR น้อยกว่า 30 ml/min/1.73 sq.m. และ 30-60 ml/min/1.73 sq.m., เท่ากับ 1.66 (95% CI 1.22-2.23) และ 1.91 (95% CI 1.34-2.72) ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีค่า eGFR มากกว่า 60 ml/min/1.73 sq.m. จาก sub group analysis พบว่า eGFR สามารถพยากรณ์การเสียชีวิตในโรงพยาบาลได้ในกลุ่มที่เป็น ST elevation myocardial infarction (STEM) เท่านั้น แต่ที่ 1 ปีของการติดตาม eGFR สามารถพยากรณ์การเสียชีวิตได้ทั้งกลุ่ม unstable angina with ST-T change (UA), non ST elevation myocardial infarction และ STEMI ยกเว้นในกลุ่ม UA ที่มี eGFR 30-60 ml/min/1.73 sq.m. สรุป : การศึกษานี้พบว่าระดับการทำงานของไต โดยใช้ค่า eGFR ในขณะที่ผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute coronary syndrome) มีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับการพยากรณ์โรค ทั้งในแง่ อัตราตาย (in-hospital mortality และ 1-year mortality) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยกลุ่มที่มีการทำงานของไตเสื่อม ตั้งแต่ระดับเสื่อมปานกลางถึงรุนแรง เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเสียชีวิตและมีภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น
Other Abstract: Background: Recent studied suggest that renal insufficiency is associated with poorer outcome in patients with acute coronary syndrome (ACS), but for the Thai, Eastern population, this prognostic value is unknown. Method : We studied patients hospitalized with ACS. Clinical characteristics, treatment strategies, in hospital mortality and 1-year mortality were compared for patients with normal minimally renal dysfunction (estimated glomerular filtration rate [eGFR] > 60 ml/min/1.73 sq.m., moderate renal dysfunction (eGFR 30-60 ml/min/1.73 sq.m.), and sever renal dysfunction (eGFR < 30 ml/min/1.73 sq.m. Results : Of the 1809 patients with mean follw-up 10.8 months, the mean age was 65 years, and 59.2% of the groups were male. Patients with severe renal dysfunction were significantly older, less likely to be male (45.2%, p < 0.001), and had a greater prevalence of diabetes (63.1%, p < 0.001) and hypertension (85.4%, p < 0.001). In-hospital and 1-year mortality were 13.5% and 22.5% respectively. According to discharge diagnosis, unadjusted hazard ratios for in-hospital death from any cause was statistically significant only in ST elevation Ml group, hazard ratio was 2.73 (95% CI, 1.72 to 4.34) and 6.27 (95% CI 3.78 to 10.4) for moderate and severe renal dysfunction group, respectively. The risk of death for all types of ACS at 1-year follow up was increased with eGFR decreased below 60 ml/min/1.73 sq.m., the adjusted hazard ratio was 1.66 (95% CI, 1.22 to 2.23) and 1.91 (95% CI, 1.34 to 2.72) for moderate and severe renal dysfunction group, respectively. Conclusion : Renal dysfunction at presentation is an independent, graded association with higher in-hospital (STEM) and 1-year mortality in patients with a broad range of ACS.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6910
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1160
ISBN: 9745329258
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1160
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khorawit_ So.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.