Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69303
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการรับรู้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวมกับความพึงพอใจในงานของบุคลากรพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Relationships between personal factors and perceived total quality managemant with job satisfaction of nursing personnel, hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public Health
Authors: นริศา ฐีตะธรรมานนท์
Advisors: พนิดา ดามาพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Panida.D@Chula.ac.th
Subjects: พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน
การบริหารคุณภาพโดยรวม
โรงพยาบาล -- การรับรองคุณภาพ
ความพอใจในการทำงาน
การควบคุมคุณภาพ
Nurse -- Job satisfaction
Total quality management
Hospitals -- Accreditation
Job satisfaction
Quality control
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของความพึงพอใจในงานของบุคลากรพยาบาล ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการรับรู้การจัดการคุณกาพโดยองศ์รวมกับความพึงพอใจในงาน และศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวทำนายความพึงพอใจในงานของบุคลากรพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรพยาบทลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่มีการจัดการคุณภาพโดยองค์รวม ได้แก่ กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 285 คน ในจำนวนนี้เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 129 คน เป็นพยาบาลประจำการ จำนวน 156 คน และได้พยาบาลเทคนิค จำนวน 14 คน รวมจำนวนบุคลากรพยาบาล 431 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยแบบสอบถามการรับรู้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวมและแบบสอบถามความพึงพอใจในงานมีค่าความเที่ยง .95 และ .97 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบเอฟ สถิติทดสอบที การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจในงานของบุคลากรพยาบาลที่สมรสแล้วและที่ยังเป็นโสด หม้าย หย่าหรือแยกกันอยู่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในงานของบุคลากรพยาบาลที่สมรสแล้วสูงกว่าผู้ที่เป็นโสด หม้าย หย่า หรือแยกกันอยู่ ความพึงพอใจในงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยสูงกว่าพยาบาลประจำการ ส่วนอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและประเภทของบุคลากรพยาบาลที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในงานไม่แตกต่างกัน 2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .261) และการรับรู้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวมโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .666) ส่วนการรับรู้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวมโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .672) 3. ตัวแปรที่ร่วมทำนายความพึงพอใจในงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การรับรู้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวมด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการบริหารคุณภาพของกระบวนการบริการ และสถานภาพสมรส ซึ่งสามารถร่วมทำนายความพึงพอใจในงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยได้ ร้อยละ 50.73 (R2 = .5073) ได้สมการทำนายดังต่อไปนี้ ZHN = .5157 HRDM + .2002 Process + .1367 Mst ส่วนตัวแปรที่ร่วมทำนายความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การรับรู้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวมด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านกาวะผู้นำ และด้านสารสนเทศและกาววิเคราะห์ ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการได้ ร้อยละ 50.43 (R2 = .5043) ได้สมการทำนายดังต่อไปนี้ ZSN = .6355 HRDM +.1940 Leader - .1085 Inform
Other Abstract: The purposes of this research were to study the difference of job satisfaction among nursing personnel, the relationships between personal factors and perceived total quality management with job satisfaction of nursing personnel, hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public Health, and to determine variables which could predicted job satisfaction. A sample of 129 head nurses, 156 staff nurses, and 146 technical nurses were randomly selected through simple random sampling technique. The instruments consisted of perceived total quality management questionnaire and job satisfaction questionnaire, which were developed by the researcher, has been tested for content validity and reliability. The reliability of the two questionnaires tested by the Cronbach Alpha Coefficient, were .95 and .97. The data were analyzed by using F-test, t-test, Pearson 's Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression analysis. The major findings were as follow : 1. Job satisfaction of nursing personnel who was married and did not married or widow or separated, were significant difference at .05 level. The job satisfaction mean scores of married nursing personnel was higher than that of those who did not married, widow and separated. Job satisfaction of head nurses and staff nurses were significant difference at .05 level, the different of age, educational level, experiences, and the level of nursing personnel were not significant different of job satisfaction. 2. There were positive relationships at .05 level between marital status and job satisfaction of head nurses, at low level (r = .261), perceived total quality management has positive relationships at .05 level with job satisfaction of head nurses, at middle level (r = .666), and perceived total quality management has positive relationships at .05 level with job satisfaction of staff nurses, at middle level, (r = .672) 3. Factors significantly predicted job satisfaction of head nurses were perceived human resource development and management, perceived management of process quality and marital status at .05 level. These predictors accounted for 50.73 percent (R2 = .5073) of variance. The functions derived from the analysis was as follow: ZHN = .5157 HRDM + .2002 Process + .1367 Mst Factors significantly predicted job satisfaction of staff nurses were perceived human resource development and management, perceived leadership, and perceived information and analysis at .05 level. These predictors accounted for 50.43 percent (R2 = .5043) of variance. The functions derived from the analysis was as follow: ZSN = .6355 HRDM +.1940 Leader - .1085 Inform
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69303
ISSN: 9746386875
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narisa_dh_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ501.31 kBAdobe PDFView/Open
Narisa_dh_ch1.pdfบทที่ 1769.6 kBAdobe PDFView/Open
Narisa_dh_ch2.pdfบทที่ 25.74 MBAdobe PDFView/Open
Narisa_dh_ch3.pdfบทที่ 3398.96 kBAdobe PDFView/Open
Narisa_dh_ch4.pdfบทที่ 4735.42 kBAdobe PDFView/Open
Narisa_dh_ch5.pdfบทที่ 51.52 MBAdobe PDFView/Open
Narisa_dh_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.