Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69446
Title: ความหมายของชีวิตในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
Other Titles: Meaning of life among palliative medical professionals in King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: สุนทร ลิ่มหลัก
Advisors: ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาและเหตุผล: การมีความหมายของชีวิตเป็นส่วนสำคัญในชีวิตมนุษย์ทุกคนและทุกช่วงวัย การค้นพบความหมายของชีวิตและส่งผลในเชิงบวกต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาความหมายของชีวิตในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งเป็นทีมสุขภาพที่ทำงานใกล้ชิดกับความเป็นความตาย การรับรู้ช่วงสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วยอาจเป็นประโยชน์ต่อการรับรู้ความหมายของชีวิต และนำไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตที่ดีและความอยู่ดีมีสุข วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความหมายของชีวิตในบุคลากรการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและปัจจัยที่มีผลต่อความหมาย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหมายของชีวิตกับทัศนคติในการดำเนินชีวิตและการดูแลผู้ป่วย วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงคุณภาพในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจำนวน 12 คนโดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกส่วนบุคคลและแบบกึ่งโครงสร้าง จากนั้นทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ของข้อมูล และทำการสังเคราะห์ข้อมูลจนเหลือแต่คุณลักษณะที่มีความหมายร่วมกันมาประกอบกับทฤษฎี  ผลการศึกษา: แนวคิด “ความหมายของชีวิต” ในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายค้นพบทั้งสิ้น 5 แก่น ได้แก่ 1) การก้าวข้ามตัวตน; 2) ความรักและความผูกพัน; 3) การทำหน้าที่และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับโลก; 4) การชื่นชมและปีติกับความงามของชีวิต และ 5) การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความหมายคือประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและปัจจัยอื่นๆ เฉพาะบุคคล โดยพบว่าการมีความเข้าใจความหมายของชีวิตย่อมส่งเสริมสุขภาพจิตและพฤติกรรมในเชิงบวก ผู้ที่มีความหมายของชีวิตชัดเจนย่อมมีเป้าหมายในชีวิต รู้ความต้องการปลายทางของชีวิต ความหมายของชีวิตมีผลอย่างมากต่อมุมมองชีวิต โลกทัศน์ และวิถีชีวิต สรุปผลการศึกษา: การทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในช่วงสุดท้ายของชีวิตและการมีโอกาสได้เห็นผู้ที่กำลังจะเสียชีวิต ส่งผลให้เกิดการตระหนักรู้ความหมายของชีวิต ซึ่งมีผลต่อวิถีการดำเนินชีวิต การดูแลสุขภาพกายและใจ รวมถึงมีการดูแลคนรอบข้างและผู้ป่วยที่ดีขึ้น แนวคิดความหมายของชีวิตนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในเวชปฏิบัติด้านการดูแลแบบประคับประคองในการค้นหาความหมายของชีวิตผู้ป่วย หรือด้านจิตเวชในการบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่ขาดความหมายของชีวิต เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการดูแลผู้ป่วยอย่างรู้คุณค่าและมีความหมาย และสามารถนำไปใช้ส่งเสริมการมีความหมายของชีวิตในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขกลุ่มอื่น รวมทั้งยังส่งเสริมคนในสังคมตระหนักรู้ถึงความสำคัญของความหมายแห่งการมีชีวิตอยู่ การมีเครื่องมือไว้จัดการความทุกข์ และช่วยทำให้ชีวิตมีความสุขได้ง่าย ปล่อยวางความเป็นตัวตนได้มากขึ้น และช่วยให้ชีวิตอยู่ในสมดุลและผาสุก
Other Abstract: Background: Having meaning of life plays an essential part in human life. It is shown to affect one’s perspective towards life and way of living, and is positively correlated with physical and mental health status. Meaning of life in palliative care professionals who work closely to life and death was not yet defined. The experiences from providing end-of-life care might contribute to meaning of life, way of living and quality of life. Objectives: To explore meaning of life in palliative care professionals and to determine factors contributing to the meanings. The associations between meaning of life and their profession and way of life were also studied. Methods: Qualitative descriptive design was utilized in this study. Twelve palliative care professionals in palliative care unit were interviewed face-to-face using a semi-structured interview guide. Data were analyzed and compared. Themes were summarized from data analysis. Results: Five themes emerged as meaning of life in palliative care professionals: 1) Transcendence; 2) Love and attachment; 3) Duty and contribution to the world; 4) Appreciation of beauty and joy in life; and, 5) Purposes in life. Main factors contributing to the meaning was the palliative profession along with other individualized factors. The meaning of life greatly contributed to each subject perspective towards life and the way of living. Conclusion: Working in palliative profession and providing end-of-life care experience of participants greatly impacted the perception of life as an uncertain matter and the meaning of life which effect the ways of living and quality of life. This findings not only can be applied to identify meaning of life in palliative care patients to provide a better care but also to psychiatric patients who lack meaning of life to guide therapeutic strategy. In addition, this study can be used to promote meaning of life in other healthcare professions and society to encourage a positive perception towards life and a sense of well-being.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69446
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.757
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.757
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074042230.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.