Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6959
Title: สถาบันประกันเงินฝาก : ศึกษาอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบระบบสถาบันการเงิน และการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงินที่มีปัญหา
Other Titles: Deposit insurance corporation : a study on its supervision authority over financial institutions and its authority concerning management of asset and liability of troubled financial institutions
Authors: คึกฤทธิ์ สิงหฬ
Advisors: สำเรียง เมฆเกรียงไกร
ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Samrieng.M@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การประกันเงินฝาก
สถาบันการเงิน
การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบประกันเงินฝากเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของตาข่ายระวังภัยของระบบการเงิน (financial safety net) อย่างไรก็ตาม การจัดให้มีระบบประกันเงินฝากได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาที่สำคัญ ต่อระบบสถาบันการเงินโดยเฉพาะพฤติกรรมที่ไม่ระมัดระวัง ในการดำเนินงานหรือจูงใจให้ดำเนินธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูง (moral hazard) ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้จะมีผลทำให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอและประสบปัญหาตามมา มีผลเป็นการทำลายความเชื่อมั่นของบรรดาเจ้าหนี้ ความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินทั้งของสถาบันการเงินที่มีปัญหา และผู้ฝากเงินของสถาบันการเงินอื่นจนเกิดปัญหาแห่ถอนเงิน (bank run) ลุกลามไปทั่วทั้งระบบ (contagion effect) ทำลายเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ และเมื่อสถาบันการเงินนั้นประสบปัญหา ก็จะเป็นภาระของสถาบันประกันเงินฝากที่จะต้องเข้ามามีบทบาท ในการคุ้มครองผู้ฝากเงินโดยการจ่ายเงินคืนแก่ผู้ฝากเงิน ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนหรือ cost อย่างมหาศาลแก่เงินกองทุนประกันเงินฝากของสถาบันประกันเงินฝาก จากการศึกษาวิจัยพบว่าการจัดให้มีระบบประกันเงินฝาก จะต้องให้อำนาจแก่สถาบันประกันเงินฝากในการตรวจสอบสถาบันการเงิน (examination measures) ให้ดำเนินงานอย่างมั่นคงและถูกต้อง ผ่านรูปแบบและขั้นตอนของ on-site examination และ off-site examination การจัดอันดับของสถาบันการเงิน (rating) เพื่อใช้อำนาจในการบังคับ (enforcement action) กับสถาบันการเงินในรูปแบบของการสั่งให้กระทำ งดเว้นกระทำ หรือแก้ไข เพื่อเป็นมาตรการป้องกันล่วงหน้า มิให้สถาบันการเงินประสบปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ (precautionary measures) อย่างไรก็ตามหากสถาบันการเงินใดประสบปัญหาขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ฝากเงินมิให้ตื่นตระหนกแห่ถอนเงิน (bank run) เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้โดยการรักษามูลค่าของสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่มีปัญหา รวมถึงรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน สถาบันประกันเงินฝากจะต้องมีอำนาจในการจัดการกับสินทรัพย์และหนี้สิน (resolution measures) ในลักษณะดังนี้คือ 1. อำนาจในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา ซึ่งในกรณีที่สถาบันการเงินที่มีปัญหานั้น มีโอกาสที่จะสามารถกลับมาดำเนินงานได้อย่างมั่นคงและเป็นปรกติ สถาบันประกันเงินฝากอาจจะเข้ามาให้ความช่วยเหลือ โดยการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ (restructuring plan) หรือให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่สถาบันการเงินที่มีปัญหา เช่นให้กู้ยืม (loan) ซื้อหุ้นเพิ่มทุน อย่างไรก็ตาม หากสถาบันการเงินที่ประสบปัญหานั้น ไม่อาจที่จะแก้ไขหรือสามารถกลับมาดำเนินงานได้อย่างมั่นคงแล้ว ก็อาจจะเข้ามาคุ้มครองผู้ฝากเงินโดยการจ่ายเงินคืนแก่ผู้ฝากเงิน หรืออาจจะเลือกใช้วิธีการอื่นที่มีต้นทุนหรือ cost ที่ต่ำกว่ากว่าการจ่ายเงินคืนแก่ผู้ฝากเงินเช่น การโอนขายสินทรัพย์ให้แก่สถาบันการเงินอื่น(purchase and assumption, P&A) การควบรวมกิจการ (M&A) หรือปิดกิจการนั้นและดำเนินการชำระบัญชีสถาบันการเงินนั้นต่อไป 2. อำนาจในการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินที่มีปัญหา ซึ่งภายหลังจากที่ปิดกิจการสถาบันการเงินใดที่มีปัญหา สถาบันประกันเงินฝากจะมีอำนาจในการจัดการกับสินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงินที่ปิดกิจการ รวบรวมทรัพย์สินต่างๆ ของสถาบันการเงินที่ปิดกิจการนั้น และดำเนินการจัดสรรชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลาย รวมถึงสถาบันประกับเงินฝากในฐานะผู้รับช่วงสิทธิของผู้ฝากเงินอย่างเท่าเทียมกัน สถาบันประกันเงินฝากที่มีอำนาจในการตรวจสอบสถาบันการเงินและอำนาจในการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงินที่มีปัญหาจะทำให้ระบบประกันเงินฝากมีประสิทธิภาพเพราะสถาบันประกันเงินฝากจะมีเครื่องมือในการป้องกันและเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินมีพฤติกรรม Moral Hazard และมีส่วนสำคัญในการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของตาข่ายระวังภัยทางการเงินของประเทศ (financial safety net)
Other Abstract: A deposit insurance system is one crucial part of a financial safety net which can; however, cause serious effects on the financial institution system. One of those effects is a moral hazard problem that can eventually weaken the financial institution system, thus reducing the creditor's confidence, the depositor's confidence including a contagious run on the bank, and the stability of the national financial system. This subsequently makes an expensive deposit insurance fund reimbursed by a deposit insurance corporation. The findings from this research revealed that the deposit insurance corporations should be authorized to examine financial institutions through examination measures both on-site and off-site, assign an institution rating for an enforcement action, and take effective precautionary measures. In addition, to create depositors' confidence and protect creditors as well as maintain the stability of the financial system, the deposit insurance corporations should have the authority to manage the assets and liabilities (or resolution measures) of any troubled financial institutions as follows 1) A corrective action. In the case that the troubled financial institutions can be rehabilitated, the deposit insurance corporations may use a solution called "bail out", "direct financial assistance" or "restructuring plan". If; however, the troubled financial institutions cannot be rehabilitated, the deposit insurance corporations may use a solution called "deposit payoff" or other solutions that cost less such as purchase and assumption (P&A), merger and acquisition (M&A) or closing and liquidation. 2) A liquidation action. After any troubled financial institutions are closed, the deposit insurance corporations will have the authority to manage all the assets and liabilities, to collect all the assets and distribute it to all creditors, including the deposit insurance corporations (the subrogator) in an equal manner. Once the deposit insurance corporations have the authority over the troubled financial institutions as mentioned above, the deposit insurance system will be more effective. As a result, the moral hazard problem will be prevented or eliminated, and the national stability and financial safety net will be maintained.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6959
ISBN: 9741746733
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kukrit.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.