Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70707
Title: | การคาดหวังและความพึงพอใจที่ผู้ชมได้รับจากละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ |
Other Titles: | Viewers' expectancy and gratification on television folk drama |
Authors: | เบญจศรี ศรีโยธิน |
Advisors: | ขวัญเรือน กิติวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kwanruen.K@chula.ac.th |
Subjects: | ละครโทรทัศน์ไทย -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ Television plays, Thai -- User satisfaction |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาลักษณะความต้องการและความปรารถนาที่ผู้ชมแสวงหาจากละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ 2. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะความพึงพอใจของผู้ชมที่ได้รับจากละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ ภายใต้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับผู้รับสารเชิงรุก แนวคิดเกี่ยวกับการเปิดรับและการตอบสนองของผู้ชม แนวคิดการคาดหวังคุณค่าที่ได้รับจากสื่อมวลชน แนวคิดละครโทรทัศน์ แนวคิดเกี่ยวกับรสในละคร โดยมีระเบียบวิธีวิจัยทั้งการวิเคราะห์เนื้อหาข้อความเกี่ยวกับละครเรื่อง "เทพสามฤดู" ทั้งหมดจากกระดานข่าว ในเว็บไซต์ของบริษัทสามเศียร (www.dida.tv/webboard) ตั้งแต่เดือน เมษายน 2546 ถึงเดือนมกราคม 2547 ผลการวิจัยพบว่าลักษณะความต้องการและความปรารถนาของผู้ชมแสวงหาจากละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ในช่วงก่อนออกอากาศ ผู้ชมมีความต้องการข้อมูลด้านนักแสดงเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเปิดรับสื่อ ช่วงที่ออกอากาศพบว่าความต้องการของผู้ชมมีดังต่อไปนี้ ผู้ชมมีความต้องการจะเห็นนักแสดงที่ตนชื่นชอบแสดงในบทบาทนำของละคร ผู้ชมปรารถนาให้มีการนำคอมพิวเตอร์กราฟฟิค ระบบการทำภาพ 3 มิติ เพลงประกอบที่มีความเป็นไทย และเทคนิคพิเศษมาใช้ในละคร ผู้ชมต้องการจะเห็นนักแสดงในเรื่องแต่งกายด้วยชุดไทยที่สวยงาม ผู้ชมปรารถนาเห็นนักแสดงที่ชื่นชอบได้ออกแสดงโดยเร็ว ผู้ชมมีความต้องการจะเห็นนักแสดงใหม่มาแสดงบทนำในเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ในละคร ผู้ชมปรารถนาที่จะเห็นนักแสดงที่ตนประทับใจได้แสดงคู่กับนักแสดงที่ผู้ชมคาดหวัง ผู้ชมต้องการจะเห็นพระเอกนางเอกของเรื่องมีความเข้าใจและเห็นใจกัน ผู้ชมปรารถนาจะให้ละครมีการดำเนินเรื่องและองค์ประกอบของละครในทุกด้านมีความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับความจริง ในช่วงกลางของเรื่องผู้ชมต้องการและปรารถนาจะเห็นการแสดงความรักหรือการเข้าพระเข้านางของตัวเอกในเรื่อง ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ทำให้ผู้ชมติดตามดูละครมากที่สุด ผู้ชมมีความปรารถนาที่จะเห็นตัวละครในเรื่องเป็นคนดีและมีคุณธรรม ผู้ชมต้องการเห็นตัวประหลาดหรือสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในจินตนาการ ผู้ชมปรารถนาจะได้รับข้อคิดหรือมายาคติจากละครพื้นบ้านในตอนท้ายของการออกอากาศ ผู้ชมต้องการให้การดำเนินเรื่องของละคร เป็นไปอย่างกระชับ เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ยืดเรื่องจนทำให้ละครหมดสนุก ผู้ชมมีความต้องการและปรารถนาที่จะให้ละครพื้นบ้าน จบลงอย่างมีความสุข และปมปัญหาต่างๆ ได้รับการคลี่คลายไปในทางที่ดี |
Other Abstract: | The objectives of this research are 1.) to study the needs and preferences of the viewers toward a television folk drama, Thep Sam Rue Doo or Three Season Angel, and 2.) to study the gratification the viewers obtained from such television folk drama. This research was carried out under the concepts of Active Audience, Reception and Reader Response Criticism, Expectancy Value, Television Drama, and Drama Taste. The research was conducted within qualitative approach, in which data was collected from a Web board owned by the drama producer company. The data in this study was collected and analyzed in two phases: before and during the production was on air. The results of the study showed that before the production was on air, the viewers expected the performer-related information. During the production was on air, at the beginning of the story line, the viewers expected their favorite performers in leading roles, their early appearance in the scenes, new-face performers, Thai musical scores, three dimensional computer graphics and special effects, beautiful Thai costumes, reconciliation between hero and heroine and the reasonable plot. In the middle of the story line, viewers expected the romantic scenes between the hero and the heroine, good deeds, imaginative monsters and moral of the story. Near the end of the story line, viewers expected smooth pacing and happy ending with all conflicts well solved. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70707 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.73 |
ISBN: | 9741424191 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.73 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Benchsri_sr_front_p.pdf | 899.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Benchsri_sr_ch1_p.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Benchsri_sr_ch2_p.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Benchsri_sr_ch3_p.pdf | 657.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Benchsri_sr_ch4_p.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Benchsri_sr_ch5_p.pdf | 772.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Benchsri_sr_ch6_p.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Benchsri_sr_back_p.pdf | 2.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.