Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70839
Title: | อำนาจรัฐในสถานการณ์ฉุกเฉินกับสิทธิมนุษยชน : ศึกษาในกรณีพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495 |
Other Titles: | States of emergency and human rights : a study of the states of emergency act of Thailand b.e.2495 |
Authors: | เชวง ไทยยิ่ง |
Advisors: | วิทิต มันตาภรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Vitit.M@Chula.ac.th |
Subjects: | สิทธิมนุษยชน พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495 รัฐธรรมนูญ -- ไทย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มุ่งที่จะศึกษาแนวคิดและกลไกทางกฎหมายใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉน พ.ศ. 2495 เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและขณะเดียวกันกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จากการศึกษาพบว่าแนวคิดของการบังคับให้กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินของประเทศไทย, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และองค์การรหว่างประเทศเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องให้รัฐมีอำนาจที่กว้างขวางกว่าเวลาปรกติเพื่อยับยั้ง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้นแม้ว่าการให้อำนาจด้งกล่าวอาจกระทบต่อสิทธิมนุษยชนก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายของไทยให้ความสำคัญในประสิทธิภาพของการให้อำนาจซึ่งแตกต่างจากอังกฤษ ฝรั่งเสส และแนว ทางคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล นอกจากประสิทธิภาพในการบังคับให้อำนาจแล้วรัฐไม่อาจละเลยต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในสถานการณ์ฉุกเฉินการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไม่อาจจะดำเนินการเช่นนเดียวกับเวลา ปรกติ ความเคร่งครัดในหลักการดังกล่าวควรผ่อนคลายลงสิทธิบางอย่างอาจต้องถูกจำกัดตามความจำเป็น ซึ่งคณะกรรมการนิติศาสตร์สากลได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนที่จัดตั้งขึ้นตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและทางการเมืองได้นำไปเป็นแนวทาง ในการพิจารณาถึงการปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพื่อให้การใช้อำนาจรัฐในสถานการณ์ฉุกเฉินมีสัดส่วน ที่สมดุลยระหว่างประสิทธิภาพของการให้อำนาจกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนพบว่าประเทศต่าง ๆ ได้กำหนดกลไกทางกฎหมายที่สำคัญสรุปได้คือการเชื่อมโยงการให้อำนาจของรัฐในสถานการณ์ฉุกเฉินกับฝ่ายนิติบัญญัติ, การคง ให้ศาลมีอำนาจในการประกันสิทธิของประชาชนแม้ในสถานการณ์ฉุกเฉินและการยินยอมให้มีการตรวจสอบถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยองค์กรภายนอกอื่น ๆ เช่นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและหางการเมือง องค์กรเอกชน และสื่อสารมวลชน เป็นต้น เพื่อให้การบังคับใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495 ได้ สัดส่วนระหว่างประสิทธิภาพในการบริหารราชการและการคุ้มครองสิทธิมนุษชนในสถานการณ์ฉุกเฉินในมาตรฐานสากล ควรปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น |
Other Abstract: | This thesis aims to study the concepts and legal mechanisms under the Emergency Act of Thailand, B.E. 2495 to provide enforcement and human rights protection. The study indicates that the concepts regarding states of emergency in Thailand, England, France and International Organisation are similar to some extent. It is agreed that it necessary for states to exercise absolute power in emergency situation in order to stop certain crisfs within a short period in exercising such power, the state should not ignore the protection of human rights. Measures of protection of may be restricted in states of emergency, but the minimum standards of human rights must be maintained. In this regard, The Human Rights Committee estabulished under The International Covenant on Civil and Political Rights laid down the guidelines on human right protection to be followed by all parties. To balance the effective enforcement and human rights protection, many state have set up legal mechanisms such as ligistative supervision, constitution and legal control by an ordinary court, and scrutiny by non-govermental organisation or the mass media. In Thailand, however, the minimum standards for human rights protection are not in accordance with the international standards. It needs inproment and reform so as to be in keeping with international standards. This thesis therefore proposes that the law shcud be revised to include the mechanisms for human rights protection in such Act. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70839 |
ISBN: | 9746342681 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chavang_th_front_p.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chavang_th_ch1_p.pdf | 868.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chavang_th_ch2_p.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chavang_th_ch3_p.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chavang_th_ch4_p.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chavang_th_ch5_p.pdf | 2.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chavang_th_ch6_p.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chavang_th_ch7_p.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chavang_th_back_p.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.