Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70844
Title: วิธีการใช้ไดนามิคคอนเดนเซชั่นอย่างง่ายในการวิเคราะห์ทางพลศาสตร์ ของโครงสร้างแผ่นบางและโครงสร้างเปลือกบาง
Other Titles: A simplified dynamic condensation scheme in dynamic analysis of plate and shell structures
Authors: สุริยา ทัศนียานนท์
Advisors: ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การคำนวณ
วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง -- การวิเคราะห์
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้ได้เสนอวิธีการอย่างง่ายในการลดจำนวนตัวแปรอิสระสำหรับการวิเคราะห์ทางพลศาสตร์ของโครงสร้างแผ่นบางและโครงสร้างเปลือกบางโดยการพิจารณาให้การเคลื่อนที่ของจุดข้อต่อบริเวณต่อเนื่องของโครงสร้างย่อยเป็นพิกัดการเคลื่อนที่ประธานซึ่งใช้เป็นพิกัดทั่วไปของจุดต่อบริเวณขอบต่อเนื่องของโครงสร้างย่อยเป็นพิกัดการเคลื่อนที่ประธานซึ่งใช้เป็นพิกัดทั่วไปของโครงสร้างทั้งระบบ พลังงานความเครียดของระบบที่ลดจำนวนตัวแปรแล้วนั้นเขียนให้อยู่ในรูปของพิกัดการเคลื่อนที่ประธานได้โดยการสมมุติว่าความสัมพันธ์ระหว่างพิกัดการเคลื่อนที่บริวารซึ่งจะถูกลดทิ้งกับพิกัดการเคลื่อนที่ประธานนั้นเหมือนกับความสัมพันธ์ที่ใช้ในวิธีการลดจำนวนตัวแปรทางสถิตย์มาตรฐานส่วนในการหาพลังงานจลน์โดยประมาณของระบบที่ลดจำนวนตัวแปรแล้วนั้น สมมติว่าความเร็วของจุดข้อต่อบริวารจะหาได้จากการเทียบส่วนเฉลี่ยโดยตรงกับความเร็วของจุดข้อต่อประธานเมื่อพิจารณว่าโครงสร้างย่อยเปรียบเสมือนเป็นชิ้นส่วนไอโซพาราเมตริคใหญ่อันหนึ่ง ด้วยวิธีการดังกล่าวจะสามารถหาเมทริคช์ของมวลซึ่งลดขนาดได้โดยตรงอย่างง่ายๆ สมการการเคลื่อนที่ของระบบที่ลดจำนวนตัวแปรแล้วหาได้โดยใช้สมการของลากรางจ์ จากตัวอย่างแสดงผลการคำนวณทางตัวเลขสำหรับการลั่นอิสระและการตอบสนองเมื่อมีแรงภายนอกมากระทำโดยการเปรียบเทียบผลลัพธ์กับการใช้วิธีการลดจำนวนตัวแปรอย่างคงตัวแปลง แสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ของวิธีการที่นำเสนอมีความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทางปฏิบัติ
Other Abstract: This research presents a simple mass condensation scheme for the dynamic analysis of plate and shell structures. The substructure interface nodal displacements are used as generalized coordinates of the reduced system. The strain energy of the reduced system is expressed in terms of the master nodal displacements, by assuming the same transformation between the master and slave displacements as that in the. standard static condensation method. In determining the approximate kinetic energy of the reduced system the slave nodal velocities are interpolated from the master nodal velocities by treating the substructure as a macro isoparametric element. This leads to a simple direct method for the determination of the reduced mass matrix. The equations of motion for the reduced system are then derived by applying Lagrange's equations. Numerical examples for free and forced vibration are obtained using the proposed scheme and compared with those calculated by using the consistent condensation scheme. The numerical results show that the accuracy of the proposed method is satisfactory for practical purposes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70844
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suriya_th_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ999.04 kBAdobe PDFView/Open
Suriya_th_ch1_p.pdfบทที่ 1830.77 kBAdobe PDFView/Open
Suriya_th_ch2_p.pdfบทที่ 21.22 MBAdobe PDFView/Open
Suriya_th_ch3_p.pdfบทที่ 31.17 MBAdobe PDFView/Open
Suriya_th_ch4_p.pdfบทที่ 4709.93 kBAdobe PDFView/Open
Suriya_th_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.