Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70913
Title: ผลของการใช้เกมกลุ่มสัมพันธ์ทางพลศึกษา ในการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
Other Titles: Effects of using group process games in physical education on developing self confidence of mathayom suksa one students with low learning achievement
Authors: รัฐพล ไผ่งาม
Advisors: เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย
พรรณราย ทรัพยะประภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน
เกม
กลุ่มสัมพันธ์
ความเชื่อมั่นในตัวเอง
นักเรียนมัธยมศึกษา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เกมกลุ่มสัมพันธ์ทางพลศึกษาในการพัฒนา ความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตํ่าและมีคะแนนความเชื่อมั่นในตนเองตํ่าจำนวน 40 คนนำมาทำการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม20 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยเกมกลุ่มสัมพันธ์ทางพลศึกษาจำนวน 24 เกม แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเองและแบบประเมินพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองกลุ่มทดลองเข้าร่วมเกมกลุ่มสัมพันธ์ทางพลศึกษาเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมให้ทำกิจกรรมของตนตามปกติ การเก็บข้อมูลกระทำโดยให้นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมตอบแบบวัดความเชื่อมั่นในตนเองและให้อาจารย์ทำการตอบแบบประเมินพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียน ในช่วงก่อนการทดลองและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการทดลองพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมเกมกลุ่มสัมพันธ์ทางพลศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้นกว่าค่อนการทดลองทั้งจากแบบวัดความเชื่อมั่นในตนเองและแบบประเมินพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This research was to study the use of group process games in Physical Education activities on developing self-confidence in Matthayom suksa one students of Ayutthaya Witthayalai School with low-learning achievement. The samples were 40 Matthayom suksa one students with low-leaming achievement and low self-confident scores, and were divided in to two groups : the experimental and the control groups , 20 subjects each. Twenty four group process games of Physical Education activities , the Test of Self-confidence and the Assessment of Self-confident Behavior were utilized as research instruments. The experimental group participated in Physical Education games for 8 weeks, while the control group did their activities as usual. Both groups were given the Test of Self-confidence and the Assessment of Self-confident Behavior before and after the experiment. The t-test was used as data analysis. The results of the experiment showed that after the experiment 1the self-confident mean scores of the experimental group were significantly higher than the scores before the experiment, both in the Test of Self-confidence and the Assessment of Self-confident Behavior, and were significantly higher than those of the control group at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70913
ISBN: 9741302835
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratthapol_ph_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ788.14 kBAdobe PDFView/Open
Ratthapol_ph_ch1_p.pdfบทที่ 1989.13 kBAdobe PDFView/Open
Ratthapol_ph_ch2_p.pdfบทที่ 22.7 MBAdobe PDFView/Open
Ratthapol_ph_ch3_p.pdfบทที่ 3996.65 kBAdobe PDFView/Open
Ratthapol_ph_ch4_p.pdfบทที่ 4901.42 kBAdobe PDFView/Open
Ratthapol_ph_ch5_p.pdfบทที่ 51.07 MBAdobe PDFView/Open
Ratthapol_ph_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.