Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70950
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช-
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ ปิตนนท์-
dc.contributor.authorทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-24T07:13:24Z-
dc.date.available2020-11-24T07:13:24Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746343424-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70950-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาตัวแปรที่จำแนกนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาและไม่สำเร็จการศึกษาตามเวลาของหลักสูตร ของนักศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลระดับปริญญาตรี และนำเสนอแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนโดยใช้ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ในขั้นต้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการวิเคราะห์หาตัวแปรในการจำแนกนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาและไม่สำเร็จการศึกษา ตามเวลาของหลักสูตร ขั้นตอนที่สองเป็นการนำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2/2537 เป็นภาคเรียนสุดท้าย จำนวน 1,583 คน แบ่งวิเคราะห์จำแนกตามกลุ่มศาสตร์และหลักสูตร โดยกลุ่มด้านสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์โดยใช้การ วิเคราะห์จำแนกโดยวิธีตรง ( Direct Method ) ส่วนกลุ่มด้านมนุษยศาสตร์ วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยใช้ t-test และ X2-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปรที่ปรากฎน้ำหนักในสมการจำแนก โดยมีค่าน้ำหนักสูงสุดถึงค่าประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำหนักสูงสุด จำแนกตามกลุ่มศาสตร์และหลักสูตรได้ดังนี้คือ (1.1)ในกลุ่มสังคมศาสตร์หลักสูตร 2 ปี มี 4 ตัวแปร คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความมีวินัยในตนเอง การจดบันทึก และการเตรียมตัวและการสอบ (1.2) ในกลุ่มสังคมศาสตร์หลักสูตร 3 ปี มี5 ตัวแปร คือ อายุ ความมีวินัยในตนเอง การจดบันทึกลักษณะและวิธีการอ่าน และ ความสัมพันธ์ของงานกับสาขาวิชาที่เรียน (1.3) ในกลุ่มสังคมศาสตร์หลักสูตร 4 ปี มี 2 ตัวแปร คือ ความมีวินัย ในตนเอง และการวางแผนการเรียน (1.4) ในกลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตร 2 ปี มี 4 ตัวแปร คือ การศึกษาพื้นฐาน การจดบันทึก การวางแผนการเรียน และสภาพทางเศรษฐกิจ (1.5) ในกลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตร 4 ปี มี 2 ตัวแปร คือ อายุ และ การวางแผนการเรียน (1.6) ในกลุ่มมนุษย์ศาสตร์ หลักสูตร 2 ปี มี 3 ตัวแปร ที่มีความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาและไม่สำเร็จการศึกษาตามเวลาของหลักสูตร คือ ความมีวินัยในตนเอง ภาระการทำงาน และ ความสัมพันธ์ของงานกับสาขาวิชาที่เรียน 2. แนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนที่นำเสนอในการวิจัยคือ การสร้างชุดพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนในระบบการศึกษาทางไกล พบว่าชุดพัฒนาทั้ง 6 เรื่อง สามารถทำใน้นักศึกษามีความสามารถ ทางการเรียนในแต่ละเรื่องที่ศึกษาได้โดยคะแนนสอบหลังใช้ชุดพัฒนาฯ สูงกว่าก่อนใช้ชุดพัฒนาฯ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to analyze the variables discriminating students graduated and not graduated within the period of time specified for undergraduate programs in distance education system and to present ways and means to develop students’ learning efficiency accordingly. The study was divided into two phases. The first one was to analyze the variables discriminating students graduated and not graduated within the period of time specified for undergraduate programs in distance education system. The second one was to present ways and means to develop students’ learning efficiency. The subjects were 1.583 students of Sukhothai Thammatirat Open University who enrolled for the last semester of their studies in the second semester of the Academic Year 1994. The subjects were categorized according to the fields and programs of their studies. The direct method discriminant analysis was employed to analyze the variables of the Social Science stream and the Science stream. The t -test and X2- test were employed to analyze the variables of the Humanities stream. The findings were as follows: 1. The variables that had power of discrimination weighing between the highest to half of the highest were as follows: (1.1) the 4 discriminant variables: achievement motive, self-discipline, note-taking skill and preparation for examination were found in the 2 year Social Science program, (1.2) the 5 discriminant variables: age, self-discipline, note-taking skill, method of reading and relevance of work to the study program were found in the 3 year Social Science program, (1.3) the 2 discriminant variables: self-discipline and study planning were found in the 4 year Social Science program, (1.4) the 4 discriminant variables: educational background, note-taking skill, study planning and economic status were found in the 2 year Science program, (1.5) the 2 discriminant variables: age and study planning were found in the 4 year Science program, (1.6) the 3 variables: self-discipline, work burden and relevance of work to the study program were differently found between students graduated and not graduated within the specified period of time. 2. Ways and means to develop students’ learning efficiency proposed in this research was to construct 6 training packages to develop learning efficiency in the distance education system. It was found that all the packages could increase the students’ learning efficiency in 6 aspects at the .05 level of significance.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษาทางไกล -- หลักสูตรen_US
dc.subjectการศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- หลักสูตรen_US
dc.titleการวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกนักศึกษาที่สำเร็จกับไม่สำเร็จตามเวลา ของหลักสูตรระดับปริญญาตรีในระบบการศึกษาทางไกลen_US
dc.title.alternativeAn analysis of the variables discriminating students graduate and not graduated within the period of time specified for undergraduate programs in distance education systemsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChanpen.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorTaweewat.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tweesak_ch_front_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Tweesak_ch_ch1_p.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Tweesak_ch_ch2_p.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Tweesak_ch_ch3_p.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Tweesak_ch_ch4_p.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Tweesak_ch_ch5_p.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Tweesak_ch_ch6_p.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Tweesak_ch_back_p.pdf7.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.