Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71039
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปองสิน ชูวัฒนกูล-
dc.contributor.authorศิระ อุดมรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2020-11-26T07:33:58Z-
dc.date.available2020-11-26T07:33:58Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9740300774-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71039-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการใช้และการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานคอมพิวเตอร์ จำนวน 156 คน โดยใช้กรอบแนวคิดของ Edwin Merritt และคณะ (1997) ซึ่งการวิจัยนี้ได้กำหนดขอบเขตให้เป็นการศึกษาการบริหารการใช้และการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยพิจารณาจากการดำเนินการ 6 ด้าน คือ 1) การวางแผน 2) โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ 3) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 4) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 5) บุคลากร 6) การบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีกับหลักสูตรเครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยโดยสรุปจากคำตอบที่ถูกระบุในระดับสูงและตามความสำคัญมีดังนี้ ในเรื่องการบริหารการใช้และการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1) ด้านการวางแผน พบว่า มีการวางแผนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในด้านการเรียนการสอนมากที่สุดแต่มีการนำไปใช้จริงกับงานธุรการมากที่สุด 2) ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ พบว่า มีการดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพในหลาย ๆ แบบ มีการดูแลเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์เสริมสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ เช่น เรื่องเครื่องปรับอากาศ การจัดเตรียมหรือดูแลเรื่องอุปกรณ์และจัดให้มีเครื่องปรับอากาศเพื่อสนับสนุนการใช้งาน แต่ไม่มีการจัดเตรียมสถานที่ไว้รองรับการให้บริการคอมพิวเตอร์ก่อนล่วงหน้า 3) ด้านอุปกรณ์ พบว่า โรงเรียนมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เพียงพอต่อความต้องการและอยู่ในสภาพดีมีการจัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยครูหรือบุคลากรในโรงเรียน 4) ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ พบว่า มีการจัดงบประมาณแบบจัดเป็นกรณีพิเศษเป็นครั้งคราวมากที่สุด มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมบุคคลทั่วไปในการใช้คอมพิวเตอร์ 5) ด้านบุคลากร พบว่า ผู้บริหารเป็นผู้คัดเลือกบุคลากรผู้รับผิดชอบงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาบุคลากรทำโดยส่งไปรับการอบรมภายนอกเมื่อได้รับการอบรมแล้วจัดให้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ที่ได้รับการอบรมนอกเหนือจากงานปกติโดยไม่ได้รับสิทธิพิเศษ 6) ด้านบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีกับหลักสูตร พบว่ามีการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับหลักสูตรโดยมีการบูรณาการใช้ในการเรียนการสอนในบางรายวิชา บูรณาการโดยวิธีการเล่นเกมทางการศึกษา-
dc.description.abstractalternativeThis research is to study the implementation and its support of the computer technology in basic Education schools under the Office of Private Education Commission in Bangkok Metropolis. The limitation of this study was to study the implementation and its support under the boundary of its management. The population samples are school principals and teachers in charged of the school computer-technology. The collected data was from survey questionnaires constructed based on the conceptual framework of Edwin Merritt and Associates from Task Force on Education Telecommunications report 1977 and analyzed by frequency and percentage. Followings are some of results found showing according to their significance in each category. Planning - computer technology plans were developed the most for teaching and learning but were actually implemented the most in school business administrative tasks. Physical Infrastructure - many forms of Physical Infrastructure caring were attained including computer equipment, its gadgets, and environment, however, most of schools did not particularly prearranged a place for the computer service. Equipment - there were enough computers for schools needs and most of them were in good conditions. On-going Operations - budgeting was done case by case depended on the necessity, there was the fee for computer service for publics which considered as a part of the on-going operations income. People - person responsible for school computer technology tasks was selected by the administrator, staff-development in computer skills were done through external channels, trained-staff were assigned for computer tasks in addition to their regular jobs and without any privilege. Integration of Technology and Curriculum - Schools did integrated technology and curriculum, the integration was in some subjects and mostly done through games in education.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรงเรียนเอกชน-
dc.subjectการบริหารการศึกษา-
dc.subjectคอมพิวเตอร์-
dc.subjectคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา-
dc.titleการศึกษาการใช้และการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeA study of computer technology implementation and support in basic education schools under the Office of Private Education Commission in Bangkok Metropolis-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sira_ud_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ794.36 kBAdobe PDFView/Open
Sira_ud_ch1_p.pdfบทที่ 1765 kBAdobe PDFView/Open
Sira_ud_ch2_p.pdfบทที่ 21.76 MBAdobe PDFView/Open
Sira_ud_ch3_p.pdfบทที่ 3632.68 kBAdobe PDFView/Open
Sira_ud_ch4_p.pdfบทที่ 41.66 MBAdobe PDFView/Open
Sira_ud_ch5_p.pdfบทที่ 51.17 MBAdobe PDFView/Open
Sira_ud_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.