Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71050
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉัตรชัย ไวยาพัฒนการ-
dc.contributor.authorศุภเชษฐ์ เพิ่มพูนวัฒนาสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-26T08:29:17Z-
dc.date.available2020-11-26T08:29:17Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746349414-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71050-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบเนื่องจากปรากฏการณ์การเลี้ยวเบนที่ขอบของจานสะท้อนที่มีต่อสมรรถนะของระบบสายอากาศชนิดจานสะท้อนเดี่ยวรูปพาราโบลีก เช่น แบบรูปการแผ่พลังงานย่านสนามไกล โพลาไรเซชันร่วม โพลาไรเซชันไขว้ อัตราขยาย และประสิทธิภาพต่าง ๆ และศึกษาผลการเปลี่ยนค่าปัจจัยของระบบสายอากาศที่มีต่อผลกระทบของการเลี้ยวเบนที่ขอบนี้ โดยใช้ทฤษฎีการเลี้ยวเบนเชิงเรขาคณิตและแนวความคิดเกี่ยวกับสเปกตรัมคลื่นระนาบ มาวิเคราะห์ จากผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบจากปรากฏการณ์เลี้ยวเบนทีขอบของจานสะท้อนทำให้เกิดระลอกขึ้นบนการกระจายความเข้มของสนามไฟฟ้าบนระนาบหน้าจานทั้งขนาดและเฟส ซึ่งส่งผลให้เกิดการผิดเพี้ยนทางขนาดและตำแหน่งของจุดศูนย์ที่ตำแหน่งเชิงมุมไกล ๆ บนแบบรูปการแผ่พลังงานย่านสนามไกล ส่วนที่ตำแหน่งเชิงมุมใกล้ ๆ นั้นมีการผิดเพี้ยนทางขนาดและตำแหน่งของจุดศูนย์ไม่มากนัก โดยการผิดเพี้ยนดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งบนแบบรูปอัตราขยายในแนวโพลาไรเซชัน ร่วมและโพลาไรเซชันไขว้ นอกจากนี้ยังทำให้อัตราขยายในแนวแกนของสายอากาศ ประสิทธิภาพช่องเปิด และประสิทธิ- ภาพของลายอากาศลดลงด้วย ผลของการเปลี่ยนค่าปัจจัยของระบบลายอากาศมีผลต่อผลกระทบจากปรากฏการณ์เลี้ยวเบนทีกล่าวไว้ข้างต้น โดยจากการวิจัยพบว่า เมื่อขนาดทางไฟฟ้าและระดับความเรียวที่ขอบของระบบสายอากาศชนิดจานสะท้อนเดี่ยวรูปพาราโบลิกทั้งแบบสมมาตรและไม่สมมาตรเพิ่มขึ้น ผลกระทบของการเลี้ยวเบนที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มลดลง เช่น ขนาดระลอกที่เกิดขึ้นบนการกระจายความเข้มของสนามไฟฟ้าทั้งขนาดและเฟสลดลง การผิดเพี้ยนทางขนาดและตำแหน่งของจุดศูนย์บนแบบรูปการแผ่พลังงานย่านสนามไกลเกิดขึ้นที่ตำแหนงเชิงมุมไกลขึ้น และการลดลงของอัตราขยายในแนวแกนของสาย อากาศ ประสิทธิภาพช่องเปิด และประสิทธิภาพของสายอากาศมีแนวโน้มที่ลดลง ส่วนการเปลี่ยนคาอัตราส่วนของระยะ โฟกัสกับขนาดสายอากาศของระบบสายอากาศชนิดจานสะท้อนเดี่ยวรูปพาราโบลิกแบบสมมาตรนั้น เมื่อค่าอัตราส่วนระยะโฟกัสกับขนาดสายอากาศมีค่าลดลงทำให้ผลกระทบของการเลี้ยวเบนมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน และในกรณีระบบสายอากาศชนิดจานสะท้อนเดี่ยวรูปพาราโบลิกแบบไม่สมมาตรได้เปลี่ยนมุมเล็งของสายอากาศป้อนกำลังคลื่นพบว่า การลดลงของประสิทธิภาพช่องเปิดและอัตราขยายในแนวแกนของสายอากาศมีแนวโน้มลดลงเมื่อมุมเล็งของสายอากาศป้อนกำลัง คลี่น ⍦ มากขึ้น ส่วนการลดลงของประสิทธิภาพของสายอากาศนั้นมีลักษณะเป็นรูประฆังควํ่า โดยมีการลดลงมากที่สุดอยู่ที่มุมเล็งของสายอากาศป้อนกำลังคลื่น ⍦ ค่าหนึ่ง-
dc.description.abstractalternativeThis research has the objective of studying the effects of diffraction at the reflector rim on the performance of the single parabolic reflector antenna system eg. the far-field pattern, co-polarization, cross polarization, gain and efficiency using a GTD based technique and the planewave spectrum concept in the analysis. It is found that the effect of edge diffraction causes ripples on the amplitude and phase distribution of the aperture field which result in lobe structure and null position distortion of the far-out sidelobes. For the near-in sidelobes the distortion is not significant. The distortion appears on both the co-polar and cross-polar gain patterns. Besides the axial gain, aperture efficiency and antenna efficiency all deteriorate. The variation of the antenna system's parameters affects the influence from edge diffraction. It is shown that as the electrical size and edge taper increase, the edge diffraction effects decrease. This is evident from the reduction of ripples on the amplitude and phase distributions of the aperture field. In addition the lobe structure and null position distortion will occur at further angular position and the reduction of the axial gain, aperture efficiency and antenna efficiency tend to decrease. When the f/D ratio decreases, the edge effects also decrease. In the case of the offset reflector antenna with varying feed angle, the reduction of the axial gain and aperture efficiency decrease when the feed angle increases. The plot of the antenna efficiency reduction against the feed angle is similar to a skewed bell shape.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสายอากาศแบบจานสะท้อนคลื่นen_US
dc.subjectโพลาไรเซชัน (ไฟฟ้า)en_US
dc.subjectสายอากาศแบบจานสะท้อนคลื่นen_US
dc.subjectการเลี้ยวเบนen_US
dc.subjectGeometrical differactionen_US
dc.titleการศึกษาเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับผลกระทบของการเลี้ยวเบน ที่มีต่อสมรรถนะของระบบสายอากาศ ชนิดจานสะท้อนเดี่ยวรูปพาราโบลิกen_US
dc.title.alternativeTheoretical study of the effects of diffraction on the performance of the single parabolic reflector antenna systemen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supacheat_pr_front_p.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Supacheat_pr_ch1_p.pdf914.2 kBAdobe PDFView/Open
Supacheat_pr_ch2_p.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Supacheat_pr_ch3_p.pdf6.4 MBAdobe PDFView/Open
Supacheat_pr_ch4_p.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open
Supacheat_pr_ch5_p.pdf757.08 kBAdobe PDFView/Open
Supacheat_pr_back_p.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.