Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71058
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานพ วราภักดิ์-
dc.contributor.authorนวพร นาถนิติธาดา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-26T09:07:30Z-
dc.date.available2020-11-26T09:07:30Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746960612-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71058-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการประมาณแบบช่วงความเชื่อมั่นสำหรับพารามิเตอร์ ของการแจกแจงแบบปัวส์ชง โดยการเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น และค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น ของแต่ละวิธีการประมาณ วิธีการประมาณที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ วิธีการประมาณอย่างง่าย วิธีการประมาณด้วยรากของสมการกำลังสอง และวิธีการประมาณด้วยตัวประมาณเบส์โดยอัลเบิร์ต การเปรียบเทียบกระทำภายใต้สถานการณ์ของ ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 1 ถึง 50 ค่าพารามิเตอร์ของการแจกแจงแบบปัวส์ชง ({u1D4B3}) เป็น 3 ระดับคือ ระดับ 1 {u1D4B3} มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 10 โดยเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 , ระดับ 2 {u1D4B3} มีค่าตั้งแต่ 15 ถึง 50 โดยเพิ่มขึ้นครั้งละ 5 และระดับ 3 {u1D4B3} มีค่าตั้งแต่ 60 ถึง 80 โดยเพิ่มขึ้นครั้งละ 20 กำหนดระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 90%, 95% และ 99% ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จาก การจำลองด้วยเทคนิคมอนติลาร์โล และทำการทดลองซ้ำ ๆ กัน 2,000 ครั้ง ในแต่ละสถานการณ์ที่กำหนด ผลการวิจัยสรุปได้เป็นดังนี้ 1. ค่าระดับความเชื่อมั่นจากการทดลอง ช่วงความเชื่อมั่นที่ประมาณจากวิธีการประมาณอย่างง่ายจะให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่คำนวณได้ไม่ตํ่ากว่าค่าสัมประสิทธิ์ที่กำหนดเมื่อ {u1D4B3} มีขนาดใหญ่ ({u1D4B3} ≥ 15) ส่วนช่วงความเชื่อมั่นที่ประมาณจากวิธีการประมาณด้วยราก ของสมการกำลังสอง จะให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่คำนวณได้ไม่ตํ่ากว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดเมื่อ {u1D4B3} มี ค่าไม่น้อยกว่า 4 ({u1D4B3} ≥ 4) และช่วงความเชื่อมั่นที่ประมาณจากวิธีการประมาณด้ายตัวประมาณเบส์โดยอัลเบิร์ต จะให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่คำนวณได้ไม่ตํ่ากว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดในทุกสถานการณ์ที่ทำการศึกษา 2. ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น ในกรณีศึกษาส่วนใหญ่ช่วงความเชื่อมั่นที่ประมาณด้วยตัวประมาณเบส์โดยอัลเบิร์ต จะให้ค่าความยาวเฉลี่ย ของช่วงความเชื่อมั่นตํ่าที่สุดในทุกสถานการณ์ ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นจะแปรผันโดยตรงกับค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น และแปรผกผันกับขนาดตัวอย่าง-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to compare the interval estimation methods for the parameter of the Poisson distribution by comparing their confidence coefficients and average confidence interval lengths. The estimation methods under consideration in this study are Classical Method, Root of Quadratic Equation method, and Bayesian Estimation method by Albert. The comparison was done under conditions of sample size 1 to 50, {u1D4B3} ranging from 1 to 10 increasing by 1, {u1D4B3} ranging from 15 to 50 increasing by 5, and {u1D4B3} ranging from 60 to 100 increasing by 20, all of which are considered at confidence coefficients 90%, 95% and 99%. The experimental data were generated through the Monte Carlo Simulation technique. The experiment was repeated 2,000 times under each case. Results of the study are as follows: Confidence levels The confidence coeffcients of the Classical method are not lower than the given confidence coeffcients when the parameter {u1D4B3} is not less than 15 ({u1D4B3} ≥ 15). The confidence coeffcients of the Root of Quadratic Equation method are not lower than the given confidence coeffcients when the parameter is not less than 4 ({u1D4B3} ≥ 4). The confidence coeffcients of the Bayesian Estimation method by Albert are not lower than the given confidence coeffcients for conditions! under study. 2. Average confidence interval lengths In most case, average confidence interval lengths of Bayesian Estimation method by Albert are shortest for all conditions under study. The average confidence interval length varies directly with confidence level and varies indirectly with sample size.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการประมาณค่าพารามิเตอร์-
dc.subjectการแจกแจงปัวซองส์-
dc.subjectParameter estimation-
dc.subjectPoisson distribution-
dc.titleการประมาณแบบช่วงความเชื่อมั่นสำหรับพารามิเตอร์ ของการแจกแจงแบบปัวส์ซง-
dc.title.alternativeInternal estimations for parameter of the poisson distribution-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสถิติ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Navaporn_na_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.27 MBAdobe PDFView/Open
Navaporn_na_ch1_p.pdfบทที่ 1739.41 kBAdobe PDFView/Open
Navaporn_na_ch2_p.pdfบทที่ 2962.23 kBAdobe PDFView/Open
Navaporn_na_ch3_p.pdfบทที่ 3889.09 kBAdobe PDFView/Open
Navaporn_na_ch4_p.pdfบทที่ 46.2 MBAdobe PDFView/Open
Navaporn_na_ch5_p.pdfบทที่ 5851.04 kBAdobe PDFView/Open
Navaporn_na_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก939.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.