Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71072
Title: | การวิเคราะห์เนื้อหาและผู้อ่านการ์ตูนแนวยาโอย |
Other Titles: | An analysis of content and readers of "Yaoi" comics |
Authors: | ธันว์ทิพย์ ศรีสุตา |
Advisors: | กิตติ กันภัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kitti.G@chula.ac.th |
Subjects: | การวิเคราะห์เนื้อหา การ์ตูน -- แง่สังคม |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงเนื้อหาของหนังสือการ์ตูนแนวยาโอย ผู้อ่านหนังสือการ์ตูนแนวยาโอย พฤติกรรมในการเปิดรับของผู้อ่าน ทัศนคติเรื่องเพศของผู้อ่าน และการสร้างเครือข่ายกลุ่มของผู้อ่าน โดยใช้การวิจัยเชิง คุณภาพ และใช้กระบวนทัศน์ยุคหลังสมัยใหม่ในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาของหนังสือการ์ตูนแนวยาโอย เน้นการนำเสนอเรื่องราวความรักระหว่างชายกับชายเป็นหลัก มีลักษณะเฉพาะโดดเด่นอยู่ที่แก่นเรื่อง ที่มีการนำเสนอเรื่องความรักระหว่างชายกับชาย โดยเน้นที่การนำเสนอเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย และอาจมีเรื่องเพศสัมพันธ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยผ่านการเล่าเรื่องในมุมมองของผู้ชาย ความขัดแย้งในเรื่องมักมีสองลักษณะ ได้แก่ ความขัดแย้งภายในจิตใจ และความขัดแย้งระหว่างคนกับคน ลักษณะของตัวละครมีแบบแผนรูปลักษณ์ภายนอกที่แสดงออกถึงความเป็นชายและความเป็นหญิง ที่ทำให้สามารถแบ่งแยกบทบาทได้อย่างชัดเจน แต่ยังคงรูปแบบตามค่านิยมที่สังคมมีต่อชายรักชายอยู่ ผู้อ่านหนังสือการ์ตูนแนวยาโอยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงเกือบทั้งหมด มีคุณวุฒิและวัยวุฒิแตกต่างกันออกไป มีความถี่ในการเปิดรับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวบุคคล สาเหตุที่ทำให้ผู้อ่านเลือกเปิดรับได้แก่ความแปลกใหม่ของเนื้อหาการนำเสนอแง่มุมของความรักที่ดูสวยงามและบริสุทธิ์ ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องชีวิตของชายรักชาย ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศสัมพันธ์ และการนำเสนอภาพการ์ตูนที่ดูสวยงาม ทัศนคติในเรื่องเพศของผู้อ่านการ์ตูนแนวยาโอยส่วนใหญ่จะเปิดกว้างมากยอมรับเรื่องเพศที่สามในสังคมได้เป็นอย่างดี มีความเข้าใจและเห็นใจต่อกลุ่มชายรักชายในชีวิตจริง ส่วนในเรื่องรสนิยมทางเพศของผู้อ่านนั้น ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแบบรักเพศตรงข้ามตามปกติ แต่มีบางคนที่อาจมีรสนิยมทางเพศแบบรักได้ทั้งสองเพศ ในส่วนของการสร้างเครือข่ายกลุ่มนั้น กลุ่มผู้อ่านหนังสือการ์ตูนแนวยาโอยมีการรวมกลุ่มกันในอินเทอร์เน็ต เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกันโดยการรวมกลุ่มกันนั้นเกิดขึ้นจากการที่มีรสนิยมในการเปิดรับสื่อและรสนิยมทางเพศที่คล้ายคลึงกันนอกจากนี้กลุ่มผู้อ่านยังมีการพบปะเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในโลกแห่งความจริงด้วย แต่ทั้งนี้เครือข่ายกลุ่มของผู้อ่านจะเป็นแบบการสื่อสารแบบทุกช่องทางนั่นคือสมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ อย่างอิสระ โดยไม่ต้องผ่านสมาชิกคนอื่นเป็นตัวกลางในการสื่อสารแต่อย่างใด |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study the content of Yaoi Comics, readers, readers’ exposure behaviors, readers’ sexual attitudes as well as the readers’ group network. This study employed qualitative method and n postmodernism framework. The result of this research shows that the content of Yaoi comics mainly focus on the homosexual relationships. The theme mostly concerns romantic relationship. The stories are told through the point of view of male. There are two types of conflicts in the story which are internal psychological conflicts and interpersonal conflicts. The characters are usually present as either masculine or feminine which allows them to be easily categorized by the readers whilst still maintaining the social value of male homosexuals. Most of the Yaoi readers are women of different ages and educational backgrounds. Their reading frequencies are also different. The determinants of their exposure are its oddity of content, the presentation of love in a pure and beautiful fashion, the readers’ eagerness to know about homosexual lives and the artistic of comics. The readers’ attitudes towards homosexuals are usually rather open. Homosexuality is acceptable among the readers which they understand with high sympathy for homosexuals. However, most of the readers’ sexuality is heterosexual. The readers have built group networks on the internet to exchange their opinions. They gathered together by exposing their similar media and sexual taste. Furthermore, they also have activities together in their real lives. The readers also have all channel networks where they can freely communicate to each other. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71072 |
ISBN: | 9741423241 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thantip_sr_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 910.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thantip_sr_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 995.78 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thantip_sr_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thantip_sr_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 742.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thantip_sr_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 5.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thantip_sr_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thantip_sr_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thantip_sr_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.