Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71406
Title: การเปรียบเทียบแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตย ตามการรับรู้ของนักเรียนในระบบและนอกระบบโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Comparison of basic democratic concepts as perceived by formal and non-formal education students at the upper secondary education level, Bangkok Metropolis
Authors: สุนิสา เชาวน์เมธากิจ
Advisors: อุ่นตา นพคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Oonta.N@Chula.ac.th
Subjects: โรงเรียนมัธยมศึกษา
ประชาธิปไตย -- การศึกษาและการสอน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
High schools
Democracy -- Study and teaching
Non-formal education
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตยตามการรับรู้ของนักเรียน ในระบบและนอกระบบโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตย ตามการรับรู้ระหว่างนักเรียนในระบบและนอกระบบโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนสายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปี การศึกษา 2540 โรงเรียนสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา จำนวน 515 คน และนักศึกษาสายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2540 โรงเรียนผู้ใหญ่สายสามัญ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน กรุงเทพมหานคร กรมการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 404 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนในระบบโรงเรียนมีการรับรู้เรื่องแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า นักเรียนมีการรับรู้ด้านอุดมการณ์ประชาธิปไตย และด้านวิถีชีวิต ประชาธิปไตย อยู่ในระดับที่ปานกลาง แต่นักเรียนมีการรับรู้ด้านรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยอยู่ในระดับที่ดี 2. นักศึกษานอกระบบโรงเรียนมีการรับรู้เรื่องแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตย โดยภาพรวมและแยกเป็นรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 3. นักเรียนในระบบโรงเรียนที่มีเพศต่างกัน มีการรับรู้เรื่องแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตยต่างกัน แต่ อายุ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายได้ เขตการเลือกตั้งต่างกัน มีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน 4. นักศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีเพศต่างกัน มีการรับรู้เรื่องแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตย ต่างกัน แต่ อายุ อาชีพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายได้ เขตการเลือกตั้งต่างกัน มีการรับรู้ ไม่แตกต่างกัน 5. นักเรียนในระบบโรงเรียนมีการรับรู้เรื่องแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตยไม่แตกต่างจาก นักศึกษานอกระบบโรงเรียน
Other Abstract: The purposes of this research were to study and to compare the perception towards the basic democratic concepts. The basic democratic concept according to Chaianan Samutavanit’s concepts of three Democratic Components : Ideology, Government, and Way of Life. The sample used in this research was 515 students of general education stream at the upper secondary level from the schools attached to the secondary education division, the Department of General Education and 404 students from adult schools attached to the Bangkok Non-Formal Education Centres, the Department of Non-Formal Education, in the academic year 1997. The sample was randomized through a Muiti-stage random sampling technique. The instruments used for analysis collecting data were; a questionnaire and an interview. The statistics used for analyzing data were percentage, mean, standard diviation, t-test and one-way variance The results of the study are as follows : 1. The perception of the majority of student in the Formal Education section towards, the basic democratic concept as a whole was at a moderate level. When each component was considered, it was found that they perceived Ideology, and the way of life at a moderate level; but they perceived government at a good level. 2. The perception of the majority of student in the non-formal education towards the basic democratic concept as a whole was at a moderate level. 3. The perception of formal education student who had different variables in their background are, age, educational achievement, incomes and ellection constitutencies were not significatly different. The basic democratic component which was significantly different was the variable of sex. 4. The perception of non-formal education student who had different variables in their background are, age, occupation, educational achievement, incomes and ellection constitutencies were not significatly different. The basic democratic component which was significantly different was the variable of sex. 5. The perception of formal and non-formal education student toward basic democratic concept in 3 component had no significant differences.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71406
ISBN: 9746385526
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunisa_ch_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ449.29 kBAdobe PDFView/Open
Sunisa_ch_ch1.pdfบทที่ 1450.48 kBAdobe PDFView/Open
Sunisa_ch_ch2.pdfบทที่ 22.57 MBAdobe PDFView/Open
Sunisa_ch_ch3.pdfบทที่ 3535.42 kBAdobe PDFView/Open
Sunisa_ch_ch4.pdfบทที่ 41.41 MBAdobe PDFView/Open
Sunisa_ch_ch5.pdfบทที่ 51.16 MBAdobe PDFView/Open
Sunisa_ch_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.