Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7151
Title: การเมืองเรื่องช้าง : ศึกษากรณีหมู่บ้านตากลาง ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูม จ.สุรินทร์
Other Titles: The politics of elephants : A case study of Baan Ta-Klang, Kraposub-District, Ta-toomdistrict, Surin Province
Authors: รวีวรรณ บุญศิริธรรมชัย
Advisors: สุชาย ตรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ช้าง -- การเลี้ยง -- ไทย
หมู่บ้านตากลาง (สุรินทร์)
ปัจจัยการผลิต
ทุนนิยม
ควาญช้าง -- ไทย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษากระบวนการแยกผู้ผลิตออกจากปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นผลมาจากระบบทุนนิยม และศึกษาผ่านกระบวนการเลี้ยงช้างของจังหวัดสุรินทร์ โดยการสัมภาษณ์คนทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเลี้ยงช้าง เช่น ควาญช้าง เจ้าของช้างรายใหญ่ รายกลาง และรายย่อย นักการเมือง เป็นต้น เพื่อพิสูจน์ว่าระบบทุนนิยมได้สร้างเงื่อนไขให้เกิดกระบวนการแยกผู้ผลิตออกจากการควบคุมปัจจัยการผลิต ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างทุนกับแรงงาน และในที่สุดได้เป็นสาเหตุของการต่อสู้ทางชนชั้นด้วยวิธีการต่างๆ นานา ผลการศึกษาพบว่า ทุนและรัฐได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเลี้ยงช้างของจังหวัดสุรินทร์ เนื่องจากต้องการขยายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและกิจการป่าไม้ เพื่อสะสมทุน จนกระทั่งปัจจุบันกระบวนการเลี้ยงช้างได้ขยายตัวเป็นอุตสาหกรรมการเลี้ยงช้างขนาดใหญ่ เห็นได้จากในแต่ละปีปริมาณการเลี้ยงช้างมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์นี้เกิดจากการที่ทุนกดขี่และเอารัดเอาเปรียบแรงงานรับจ้างเลี้ยงช้าง กล่าวคือ ทุนใช้ระบบการควบคุมแรงงานทางเศรษฐกิจทั้งการให้รางวัลและการลงโทษแต่กรณีลงโทษมีการกระทำอย่างเข้มงวด เช่น การจ่ายค่าจ้างในลักษณะค่าทิปและค่าหางตั๋วมากกว่าเงินเดือน เพื่อเพิ่มอัตราเร่งการผลิตสินค้าในรูปแบบการให้บริการ การกดค่าจ้างให้ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การดุด่า ตี เป็นต้น ระบบการควบคุมแรงงานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ผู้ใช้แรงงานตกอยู่ภายใต้กรอบความสัมพันธ์ที่เหลื่อมล้ำทางอำนาจ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังพบว่า ผู้ที่เป็นแรงงานรับจ้างในอุตสาหกรรมเลี้ยงช้าง ซึ่งทำงานให้กับทุนและรัฐ คือ ควาญช้าง และเจ้าของช้างรายย่อย เนื่องจากควาญช้างเป็นผู้ที่ไม่มีปัจจัยการผลิต ทำให้ต้องขายพลังแรงงานให้กับทุน ส่วนกรณีเจ้าของรายย่อยพบว่า ถึงแม้ว่าเจ้าของช้างรายย่อยยังคงมีปัจจัยการผลิต แต่ระบบทุนนิยมไม่เปิดโอกาสให้เจ้าของช้างทุกรายสามารถแข่งขันได้อย่างเท่าเทียมกัน ทำให้เจ้าของช้างรายย่อย ซึ่งมีปัจจัยทุนไม่เพียงพอ ต้องนำช้างออกรับจ้างทำงานกับทุนในสถานที่แสดงช้างต่างๆ และตกอยู่ภายใต้กฎระเบียบ การควบคุมที่เข้มงวด เหตุการณ์นี้ได้สร้างร่องรอยของความขัดแย้งทางชนชั้นและการก่อตัวทางชนชั้นระหว่างชนชั้นแรงงานกับทุนและรัฐในฐานะเครื่องมือของทุน ส่งผลให้แรงงานรับจ้างต่อสู้กับทุนและรัฐในรูปแบบการต่อสู้ทั้งระดับปัจเจกซึ่งมีลักษณะกระจัดกระจาย และระดับการจัดตั้งอย่างหลวมๆ และการต่อสู้ทั้งสองรูปแบบนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางชนชั้น ที่มีพลวัตการต่อสู้แบบขึ้นๆลงๆอ่อนแอและเข้มแข็ง
Other Abstract: This research would like to study the procedure that separates the producer from the means of production due to capitalism. The information was collected by interview the workers and the people who related to process of elephant nourishing such as mahout; large, medium, small elephant owners; and politicians. This study would like to prove that the capitalism have established the conditions that separate the producer from the means of production. As a result, there are conflicts between the capital and the labour; and then they lead to the various ways of class struggle. This study found that the capital and the state have roles to change the elephant nourishing process in Surin province. To accumulate capital, there are expansions of tourism and forestry. That causes the changes from the elephant nourishing process to the large industry at the present. The evidence of this event can be seen from the continous increase in the trend of elephant feeding. Moreover, this situation is brought by the capitalists taking opportunism over the employees by rewarding and strict punishment. For example, the capitalists pay wages to their employees lower than the standard pay rate, pay tips rather than wages, reproach, take violent actions to their employees. Futhermore, this research found there are two reasons why the workers working for the capital and the state in this industry are only mahouts and small elephant owners. Firstly, the mahouts do not own the means of productions. Therefore, they have to work for the capital. In addition, althought the small elephant owners have some means of production, the capitalism does not provide the opportunity for them to compete in the market. Therefore, the small owners must bring their elephant to roam in the city or to work with state in high restriction. This situatiion bring about a clue of conflicts between the social classes, i.e. the workers either as the individuals or loosely-organized groups have to fight against the capitalists and the state. Although the struggles are weak and acattered, these are parts of class struggle which is dynamic.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7151
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.701
ISBN: 9741422997
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.701
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
raweewan.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.