Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71900
Title: การผลิตถ่านกัมมันต์จากยางรถยนต์ใช้แล้ว โดยการกระตุ้นดัวยไอน้ำร้อนยวดยิ่ง
Other Titles: Production activated carbon from used tires by Superheated steam activation
Authors: รติกร อิสระเสนีย์
Advisors: ธราพงษ์ วิทิตศานต์
สมเกียรติ งามประเสริฐสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: คาร์บอนกัมมันต์
รถยนต์ -- ยางล้อ
ไอน้ำร้อนยิ่งยวด
เครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทดลองผลิตถ่านกัมมันต์จากยางรถยนต์ใช้แล้ว ได้ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ การคาร์บอไนซ์ยางรถยนต์ และกระตุ้นถ่านที่ได้ด้วยไอนํ้าร้อนยวดยิ่ง การคาร์บอไนซ์ทำในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร สูง 110 เซนติเมตร ตัวแปรที่ศึกษา คืออุณหภูมิและเวลาการคาร์บอไนซ์ พบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับการคาร์บอไนซ์ยางรถยนต์ตัดขนาด 0.5 x 0.5 x 0.5 เซนติเมตร ปริมาณ 1 กิโลกรัม คือ คาร์บอไนซ์ที่อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียส 30 นาที ในบรรยากาศของแก๊สไนโตรเจน ได้ผลิตภัณฑ์เป็นถ่านชาร์ร้อยละ 47.20 ปริมาณคาร์บอน คงตัวร้อยละ 50.48 สารระเหยร้อยละ 23.11 และเถ้าร้อยละ 23.41 ขั้นตอนการกระตุ้นด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งทำในเครื่องแอคติเวเตอร์แบบเบดนิ่ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.81 เซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตร ตัวแปรที่ศึกษาคือ อุณหภูมิและเวลาการกระตุ้น, ขนาดถ่านที่ใช้กระตุ้น และอัตราการป้อนไอน้ำ พบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกระตุ้นถ่านที่ได้จากการคาร์บอไนซ์ 50 กรัม คือใช้ถ่านขนาด 1.18 - 2.36 มิลลิเมตร กระตุ้นที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส 30 นาที โดยมีอัตราการป้อนไอน้ำ 1.88 กรัมต่อนาที และอัตราการป้อนอากาศ 43 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อวินาที ได้ผลิตภัณฑ์เป็นถ่านกัมมันต์ร้อยละ 17.35 ของน้ำหนักยางรถยนต์ใช้แล้ว มีพื้นที่ผิว 691.51 ตารางเมตรต่อกรัม ค่าไอโอดีน 891.11 มิลลิกรัมต่อกรัม ค่าเมทธิลีนบลู 172.03 มิลลิกรัมต่อกรัม ค่าความหนาแน่นเชิงปริมาตร 0.440 กรัมต่อซีซี และค่าเถ้าร้อยละ 29.05
Other Abstract: Production of activated carbon from used tires was investigated in two parts: tires carbonization and superheated steam activation. Carbonization part was conducted in a fixed bed reactor, 15 cm. id. and 110 cm. in height" The studied variables were temperature and carbonization period. It was found that the optimum condition for 1 kg. of used tires, 0.5x0.5x0.5 cm. in dimension, was at 450 °c and 30 minutes under nitrogen atmosphere. Under the above condition, the char product yield was 47.20 %, which consisted of 50.48 % fixed carbon, 23.11 % volatile matter and 23.41 % ash. The superheated steam activation part was operated in a fixed bed reactor, 3.81 cm. id. and 20 cm. in height. The studied variables were temperature and time of activation, char particle size, and steam input rate. It was found that the optimum conditions for 50 g of carbonized char were char particle size of 1.18 - 2.36 mm., temperature and time of activation at 900 °c and 30 minutes, steam input rate at 1.88 g/min and air input rate at 43 cm3/s. The product yield 'was 17.35 % activated carbon from used tires. The activated carbon obtained had the surface area of 691.51m2/g, iodine adsorption 891.11 mg/g, methylene blue adsorption 0.44 mg/g, bulk density 0.44 g/cc, and ash content 29.05%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71900
ISBN: 9746333658
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratikorn_is_front_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Ratikorn_is_ch1_p.pdf748.79 kBAdobe PDFView/Open
Ratikorn_is_ch2_p.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Ratikorn_is_ch3_p.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Ratikorn_is_ch4_p.pdf891.9 kBAdobe PDFView/Open
Ratikorn_is_ch5_p.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Ratikorn_is_ch6_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Ratikorn_is_back_p.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.