Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72012
Title: ผลของทอรีนและฮัยโปทอรีนต่อการเจริญของแฮมสเตอร์เอ็มบริโอระยะ 8-เซลล์ในจานเพาะเลี้ยงและความอยู่รอดหลังการถ่ายฝาก
Other Titles: Effects of taurine and hypotaurine on the development of 8-cell hamster embryos in vitro and their viability following transfer
Authors: อนุรักษ์ เอี่ยมสมบุญ
Advisors: วิทยา ยศยิ่งยวด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Vithaya.Y@Chula.ac.th
Subjects: แฮมสเตอร์ -- เอมบริโอ
Taurine
Hypotaurine
Fertilization in vitro
Human embryo
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทดลองในครั้งนี้เพื่อศึกษาถึงผลของทอรีนและฮัยโปทอรีนต่อการเจริญของแฮมสเตอร์เอ็มบริโอระยะ 8-เซลล์ ในจานเพาะเลี้ยงโดยการเติมทอรีนและฮัยโปทอรีนลงในน้ำยาเพาะเลี้ยง Hamster Embryo Culture Medium-2 (HECM-2) ผลการทดลองพบว่า ภายหลังการเพาะเลี้ยง 24-48 ชั่วโมง เอ็มบริโอในน้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมทอรีนทุกความเข้มข้น (0.1, 1.0, และ 10.0 มิลลิโมลาร์) สามารถเจริญเป็นบลาสโตซีสได้มากกว่า 90% ซึ่งดีกว่าการเจริญของเอ็มบริโอในน้ำยาเพาะเลี้ยงที่ไม่ได้เติมกรดอะมิโนอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างเอ็มบริโอที่เจริญในน้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมทอรีนและฮัยโปทอรีน เมื่อเพาะเลี้ยงต่อไปจนถึง 72 ชั่วโมง พบว่าจำนวนเอ็มบริโอที่มีชีวิตและมีลักษณะปกติในน้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมทอรีน นอกจากจะสูงกว่าในน้ำยาเพาะเลี้ยงที่ไม่ได้เติมกรดอะมิโนอย่างมีนัยสำคัญแล้ว ยังมีมากกว่าในน้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมฮัยโปทอรีนด้วย และพบว่าความเข้มข้นที่เหมาะสมของกรดอะมิโนทั้งสองชนิดเท่ากับ 0.1 มิลลิโมลาร์น้ำยาเพาะเลี้ยงที่มีทอรีนและฮัยโปทอรีนร่วมกันไม่ได้ส่งเสริมการเจริญได้ดีไปกว่ามีกรดอะมิโนชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียว หลังการถ่ายฝากพลาสโตซีสที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในน้ำยาที่มี 0.1 มิลลิโมลาร์ของทอรีน, 0.1 มิลลิโมลาร์ของฮัยโปทอรีน และ 0.1 มิลลิโมลาร์ของทอรีน + 0.1 มิลลิโมลาร์ของฮัยโปทอรีน เข้าสู่ตัวรับที่ตั้งท้องเทียม พบเปอร์เซ็นต์ฟิตัสที่มีชีวิตในกลุ่มที่ถ่ายฝากจากน้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมกรดอะมิโนทุกกลุ่ม (35.5 – 48.7%) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (5.0%) อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พีตัสที่มีชีวิตในกลุ่มที่ถ่ายฝากจากน้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมทอรีน (48.7%) ยังมเปอร์เซ็นต์สูงกว่ากลุ่มที่ถ่ายฝากจากน้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมฮัยโปทอรีน (35.5%) และเปอร์เซ็นต์พีตัสที่ตายแล้วก็ต่ำกว่ากันอย่างมีนัยสำคัญ (8.2% และ 19.7%, p < 0.05) ผลการทดลองครั้งนี้อาจสรุปได้ว่าทอรีนและฮัยโปทอรีนมีผลส่งเสริมการเจริญของแฮมสเตอร์เอ็มบริโอ โดยทอรีนให้ผลดีกว่าฮัยโปทอรีน
Other Abstract: Experiments on the development in vitro of 8-cell hamster embryos in taurine and hypotaurine added HECM-2 medium were carried out. Results showed that 24 - 48 hours after culture, percentages of blastocyst in every concentrations of taurine and hypotaurine supplemented media (0.1, 1.0 and 10.0 mM) were higher than 80% and were significantly different (p < 0.05) from that in the medium without amino acid (control). Difference between embryos developed in taurine and hypotaurine supplemented media were not observed during this period. When cultivation time was extended to 72 hours, results indicated that number of survived embryos with normal apperance in medium containing taurine was more than those in medium containing hypotaurine and significantly higher than those in medium without amino acids. Optimal concentrations of both taurine and hypotaurine were 0.1 mM. Adding taurine and hypotaurine together in the same culture medium did not support development better than taurine and hypotaurine alone. Viability of blastocysts obtained from media containing 0.1 mM taurine, 0.1 mM hypotaurine or 0.1 mM taurine + 0.1 mM hypotaurine were assessed by transferring them into uteri of pseudopregnant hamsters. Results showed that percentages of live fetus from all amino acid-added groups (35.6 - 48.7%) were significantly higher than that from the control (6.0%). Furthermore, the percentage of live fetus from taurine added group was higher, and the percentage of resorbed fetus was lower, than those from hypotaurine added group (48.7% vs 35.6% and 8.2% vs 19.7% respectively) significantly (p < 0.05). This study suggests that taurine and hypotaurine both support the development: of hamster embryos and taurine is more effective than hypotaurine.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72012
ISBN: 9746319698
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anuruk_ia_front_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Anuruk_ia_ch1_p.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Anuruk_ia_ch2_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Anuruk_ia_ch3_p.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Anuruk_ia_ch4_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Anuruk_ia_back_p.pdf848.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.