Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72164
Title: การนำกลับน้ำเสียจากอาคารสูงมาใช้ใหม่โดยใช้ระบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพ ที่มีไมโครฟิลเทรชันเมมเบรนแบบจมตัว
Other Titles: High-rise building wastewater reclamation using the submerged type MF.-membrane bioreactor system
Authors: อริยะ เตกษณานนท์
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chavalit.R@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การนำกลับมาใช้ใหม่
น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการแบบตะกอนเร่ง
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไนโตรเจน
เมมเบรน (เทคโนโลยี)
เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้คำเนินการโดยใช้ ไมโครฟิลเทรชันเมมเบรนติดตั้งจมตัวในถังปฏิกรณ์ระบบเอ.เอส. เพื่อการนำกลับน้ำเสียจากอาคารสูงมาใช้ในกิจกรรมการอุปโภค เช่น การชำระโถส้วม ระบบหล่อเย็นปรับอากาศ การป้องกันอัคคีภัย และชำระชะล้างต่างๆ ฯลฯ โดยศึกษาความคงตัวในการทำงานของเมมเบรนประสิทธิภาพการกำจัดสารมลพิษ ความเหมาะสมด้านคุณภาพนำและประเมิต้นทุนในการบำบัด พบว่า การควบคุมระบบให้ค่าฟลักซ์คงที่ ความดันสูญเสียในระบบการกรองจะเป็นตัวบ่งบอกความคงตัวในการทำงานของเมมเบรน ค่าฟลักซ์ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ และความเข้มข้นสลัดจ์จุลชีพที่เพิ่มสูงจะส่งผลกระทบต่อความดันสูญเสีย โดยมีระบบการสร้างแรงเฉือนต่อผิวหน้าเมมเบรนคือ การเติมและฉีดพ่นอากาศ และปั้มหมุนเวียนน้ำภายในช่วยในการขจัดและชะลอการสะสมตัวของสลัดจ์ที่ผิวหน้าเมมเบรน ระบบสามารถกำจัดสารอินทรีย์ และไนโตรเจน ด้วยถังปฏิกรณ์เพียงถังเดียว โดยการเติมอากาศเป็นช่วงๆ สร้างสภาวะสลับแอโรมิค และแอนนอกซิค โดยพบว่าเกิดปฏิกิริยาไนตริฟิเคชันเฉลี่ย 94-98% รอบเวลาการเติมอากาศ 120 นาที ให้ผลในการกำจัดไนโตรเจนสูงกว่าที่ 90 นาที และประสิทธิภาพดี ไนตริฟิเคชั่น 41-93% แปรผันกับค่าอัตราส่วนซีโอดีต่อทีเคเอ็นในน้ำเสีย 2.1-6.2 ผลต่างการสะสมเพิ่มของค่าทีเคเอ็น ไนเตรท ช่วงแอนนอกซิค แอโรมิค จากการถูกจำกัดปฏิกิริยาไนตริและดีไนตริฟิเคชันตามลำดับ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบเล็กน้อยขึ้นอยู่กับรอบเวลาการเติมอากาศ ค่าเวลากักเก็บในถังปฏิกรณ์ และภาระบรรทุกทีเคเอ็น ระบบสามารถกำจัดความขุ่น และของแข็งแขวนลอยไค้มากกว่า 99% กำจัดซีโอดี 90% และไนโตรเจน 40-90% มีค่าสีเฉลี่ยในนำออก 0.9 SU. และไม่สามารถตรวจพบ ฟีคัลโคไลฟอร์มแบคทีเรียทำให้น้ำมีความปลอดภัยและมีสุนทรีย์ภาพในการใช้ ซึ่งเข้าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำนำกลับมาใช้เพื่อการอุปโภคของหน่วยงานที่มีผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือของประเทศ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ต้นทุนในการบำบัดต่อหน่วยปริมาตรมีค่าสูง เนื่องจากราคาเมมเบรนต่อหน่วยการบำบัดตลอดอายุใช้งาน และอุปกรณ์ประกอบมีต้นทุนแรกเริ่มสูงไม่ไค้สัดส่วนกับกำลังผลิต ค้นทุนค่าพลังงานระบบเติมอากาศเป็นช่วงๆ มีค่าสูง แต่มีค้นทุนค่าสารเคมีตํ่าลงหลายเท่าตัว เทียบกับระบบเติมอากาศต่อเนื่อง
Other Abstract: This study is on the microfiltration membrane installed in the AS. system reactor for the use in high-rise building wastewater reclamation system. Treated water is intended for nonpotable uses, such as toilet flushing , cooling tower, fire fighting water reservoir , washing purposes, etc. The experiment investigates the stability of the membrane process, the treatment efficiency, the quality of treated water and the approximate cost of treatment. Keeping the flux constant, the pressure loss in the filtration system will indicate the stability of membrane process. When the flux 5 the organic load or MLVSS increases, pressure loss will be affected. The agitation creating shear force at the membrane’s surface are made by aerator, jet aeration and internal circulation pump will help prevent or reduce the sludge deposit on the surface of the membrane. The system can remove the organic and nitrogen only by single reactor. The intermittent aeration is applied to make possible the switching between the aerobic and anoxic condition. Findings are that the nitrification efficiency is 94-98%; 120 min. intermittent aeration period gives better result of nitrogen removal than of 90 min. ; the denitrification efficiency is 41-93% varied with COD/TKN ratio of 2.1-6.2 The accumulated differential of TKN and N03 in anoxic and aerobic period resulted from nitrification and denitrification reaction-limited respectively, would slightly affect the efficiency of the system, depending on the aeration period, the retention time and TKN loading. The system can remove higher than 99% of the turbudity and ss , 90% COD and 40-90% of nitrogen. Treated water has the average color intensity of 0.9 SU. and fecal coliform bacteria is not detectable. This makes it safe and aesthetic that have reached the standard quality of reclaimed water for nonpotable uses of the organizations having reliable study results in the environmental field in the US. and Japan. The treatment cost per unit volume is very high because of high membrane cost per treatment capacity through its life time and the high initial cost of equipment that is not in a good match with the treatment volume. The intermittent aeration operating also makes the cost of the energy consumption higher, but makes the cost of chemical many times lower comparing to the continuous aeration operating.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72164
ISBN: 9741300166
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ariya_te_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_te_ch1_p.pdfบทที่ 1711.71 kBAdobe PDFView/Open
Ariya_te_ch2_p.pdfบทที่ 22.79 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_te_ch3_p.pdfบทที่ 31.02 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_te_ch4_p.pdfบทที่ 44.92 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_te_ch5_p.pdfบทที่ 5792.53 kBAdobe PDFView/Open
Ariya_te_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.