Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72168
Title: การประยุกต์ใช้เทคนิคการแปรหน้าที่คุณภาพ เพื่อออกแบบโครงสร้างของระบบทะเบียนนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: An application of quality function deployment technique in structural design for the registration system of Chulalongkorn University
Authors: อรดี พฤติศรัณยนนท์
Advisors: เหรียญ บุญดีสกุลโชค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักทะเบียนและประมวลผล
การกระจายการทำงานเชิงคุณภาพ
ประกันคุณภาพ
การลงทะเบียนนักศึกษา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบโครงสร้างของระบบทะเบียนนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้สนองต่อความต้องการของผู้ใช้ทุกคนในระบบ โดยผู้ใช้ของระบบที่สำคัญประกอบด้วยนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอน และบุคลากรในสำนักทะเบียนและประมวลผล, หน่วยทะเบียนคณะ, ธุรการภาค และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เทคนิคที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ เทคนิคการแปรหน้าที่คุณภาพ (Quality Function Deployment: QFD) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยระบุคุณลักษณะที่ผู้ใช้ระบบต้องการ และความสามารถของระบบที่จะตอบสนองต่อความต้องการนั้น ๆ การดำเนินการเทคนิคนี้ใช้ Four-phased Model ซึ่งประกอบด้วย 4 ช่วงดังนี้ (1) “การวางแผนระบบงานทะเบียนนิสิต” เริ่มจากการรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบโดยการสัมภาษณ์และการออกแบบสอบถาม จากนั้นจึงแปลงข้อมูลความต้องการของผู้ใช้ระบบไปเป็นข้อกำหนดทางเทคนิคของระบบทะเบียน (2) “การออกแบบโครงสร้างระบบงานทะเบียนนิสิต” แปลงข้อกำหนดทางเทคนิคของระบบทะเบียนให้เป็นคุณสมบัติหรือข้อกำหนดที่ส่วนประกอบของระบบทะเบียนนิสิตจะต้องมี เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบโครงสร้างของระบบงานทะเบียนนิสิต โดยนำเทคนิคการวิเคราะห์และออกแบบระบบแบบ Structured Approach มาช่วยในการออกแบบโครงสร้างของระบบ (3) “การวางแผนกระบวนการของระบบงานทะเบียนนิสิต” แปลงข้อกำหนดของส่วนประกอบที่ได้ให้เป็นข้อกำหนดของกระบวนการโดยใช้แผนผังความสัมพันธ์ทำการวิเคราะห์ปัจจัยของกระบวนการที่มีผลกระทบต่อส่วนประกอบของระบบทะเบียน (4) “การวางแผนควบคุมกระบวนการของระบบงานทะเบียนนิสิต” นำข้อกำหนดของกระบวนการที่ได้จากเฟสที่สาม มากำหนดวิธีการควบคุม วิธีการตรวจสอบ และผู้รับผิดชอบการดำเนินการควบคุมและตรวจสอบ โครงสร้างของระบบทะเบียนจากเดิมที่มี 9 ระบบย่อยได้ออกแบบใหม่เหลือ 8 ระบบย่อย โดยตัดระบบบัณฑิตศึกษาออกไปเนื่องจากลักษณะการทำงานมีความซ้ำซ้อนกันกับระบบทะเบียนเรียน, ระบบระเบียนการศึกษา, ระบบระเบียนประวัติ และระบบสารสนเทศ เพียงแต่เป็นระบบที่ให้บริการเฉพาะนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาระบบไตรภาคเท่านั้น สำหรับระบบที่ออกแบบใหม่นี้ ทุก ๆ ระบบจะให้บริการแก่นิสิตทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา โดยระบบใหม่ ประกอบด้วย ระบบรับเข้าศึกษา ระบบตารางสอนตารางสอบ ระบบทะเบียนเรียน ระบบวางแผนและการบริการ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสารนิเทศ ระบบระเบียนนิสิต และระบบการสำเร็จการศึกษา ส่วนกระบวนการทำงานที่ออกแบบขึ้นใหม่ มี 4 กระบวนการ ดังนี้ กระบวนการลงทะเบียนแรกเข้า, ลงทะเบียนเรียน, บันทึกผลการศึกษา-ประมวลผลศึกษาและแจ้งผลการศึกษา และการขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา ในการออกแบบนั้นได้พยายามนำเอาความสามรถของระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบทุกฝ่ายสามารถดำเนินงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น ลดปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน และช่วยป้องกันความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการทำงานผิดพลาดของมนุษย์ได้ การประเมินผลโครงสร้างและกระบวนการของระบบทะเบียนที่ออกแบบขึ้นใหม่นี้ใช้วิธีการตอบแบบสอบถามโดยผู้ใช้ระบบภายในจากฝ่ายต่าง ๆ เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบระบบที่ออกแบบขึ้นใหม่กับระบบเดิมผลการประเมิน สรุปได้ว่า คะแนนประเมินผลโดยรวมสำหรับโครงสร้างของระบบที่ออกแบบใหม่ได้คะแนนเฉลี่ย 6.07 จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน และสำหรับคะแนนประเมินผลโดยรวมของกระบวนการที่ออกแบบใหม่ได้คะแนนเฉลี่ย 7.78 คะแนน จากคะแนนเต็ม 9 คะแนน นั่นหมายความว่าผู้ประเมินผลเห็นว่าโครงสร้างและกระบวนการที่ออกแบบขึ้นใหม่นั้นน่าจะก่อให้เกิดการบริการที่ดีขึ้นมากจากระบบในปัจจุบัน อันจะส่งผลให้ผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจต่อการบริการของระบบทะเบียนนิสิตมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: The purpose of this research is to design the structure of the registration system of Chulalongkorn University which Could satisfy the users’ requirements. The main users of this registration system are students, student advisors and staffs in the Office of the Registrar, Faculties, Departments and other University offices involved. The technique used in this research is Quality Function Deployment or QFD, which will identify the system characteristics and features that could meet the users’ requirements. The Four-phased approach to QFD comprises 4 major activities: (1 ) “ System Planning” this first step consists of the gathering of users’ requirements by means of interviews and questionnaires, and the translation of the acquired information in to technical requirements of the registration system. (2 ) “ System Design” the technical requirements are translated in to part characteristics which considered as the input of the structural design. The system analysis and design technique, named Structured Approach , is also used in structural design. (3) “ Process Planning” in this step, the part characteristics are translated in to process parameters by analyzing the relation diagrams. (4 ) “ Process Control Planning” finally , the process parameters, achieved from the process planning, will be applied to set the control methods, inspection methods and to appoint staffs for control and inspection. In the new structured system, the 9 subsystems, which comprise the old system, have been reduced to 8. The graduate education subsystem, which only served the graduate students in the tri-semester system, has been eliminated, as itsfonction overlapped the function of the enrollment, course schedule, registration, and information subsystems. The new structured system -made up of 8 subsystems, namely: enrollment subsystem, course schedule subsystem, registration subsystem, planning and service subsystem, computer subsystem, information subsystem, student record subsystem and students’ graduation status confirmation subsystem- will serve the undergraduate students as well as the graduate ones. There are 4 new processes: enrollment process, registration process, academic record-evaluation and official documents issuing. The design procedure was based on the attempt to utilize the existing resources of the university combined with new technology in order to facilitate each operation, reduce the repetitive activities and prevent the mistakes that might be caused by human factors. Questionnaires , answered by a number of internal users, with the aim of comparing the new system with the existing system, have been used as the tools for evaluating the new structured system and processes. According to the evaluation, the total average score for the new structured system is 6.07 from 7 full score and for the new processes is 7.78 from 9 full score. The description corresponding to these scores is: the respondents agree that the new structured system and processes would lead to a much better service than the present one. This means that the users would be greatly satisfied with the new service of the registration system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72168
ISBN: 9743463178
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oradee_pr_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ929.04 kBAdobe PDFView/Open
Oradee_pr_ch1_p.pdfบทที่ 1744.02 kBAdobe PDFView/Open
Oradee_pr_ch2_p.pdfบทที่ 21.57 MBAdobe PDFView/Open
Oradee_pr_ch3_p.pdfบทที่ 31.84 MBAdobe PDFView/Open
Oradee_pr_ch4_p.pdfบทที่ 43.23 MBAdobe PDFView/Open
Oradee_pr_ch5_p.pdfบทที่ 53.93 MBAdobe PDFView/Open
Oradee_pr_ch6_p.pdfบทที่ 6734.96 kBAdobe PDFView/Open
Oradee_pr_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.