Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72207
Title: การตัดสินใจซื้ออาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานคร ของคนต่างด้าวระหว่างปี พ.ศ. 2535-2539
Other Titles: Decision-making of foreigners when purchasing condominiums in the Bangkok Metropolitan area between 1992 and 1996
Authors: ประกิจ ชยันตธีระศิลป์
Advisors: มานพ พงศทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Manop.B@Chula.ac.th
Subjects: อาคารชุด
คนต่างด้าว
การถือครองที่ดิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
อสังหาริมทรัพย์
การตัดสินใจ
Condominiums
Aliens
Land tenure -- Law and legislation
Real property
Decision making
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อต้องการทราบถึงลักษณะและสภาพด้านเศรษฐกิจ-สังคมของคนต่างด้าวที่ซื้ออาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างปี พ.ศ.2535-2539 และ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานครของคนต่างด้าว ระหว่างปี พ.ศ.2535-2539 ที่มาของการศึกษาครั้งนี้เกิดจาก ผลที่เกิดขึ้นภายหลังจากได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2534 เพื่ออนุญาตให้คนต่างด้าวสามารถถือครองกรรมสิทธิ์พื้นที่ในอาคารชุดได้ไม่เกินร้อยละ 40 โดยมีความคาดหวังว่าข้อกำหนดนี้จะมีส่วนสนับสนุนและสร้างอุปสงค์เพื่อการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกต้องตามกฎหมายให้กับคนต่างด้าวโดยตรง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจาก 5 ปีที่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 ดังกล่าว ปรากฏว่ามีคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ใน อาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานคร เพียง 483,168.73 ตารางเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ7.29 ของพื้นที่ในอาคารชุดทั้งหมด1,065 อาคาร และยังเหลือพื้นที่อีก 2,164,774.22 ตารางเมตร ที่จะให้คนต่างด้าวสามารถถือครองกรรมสิทธิ์พื้นที่ในอาคารชุดได้อีก ผลการศึกษาชี้ให้เห็น'ว่า 1) ระยะเวลาที่ต้องดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศไทย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลทำให้คนต่างด้าวคิดที่จะซื้อที่อยู่ 2) ด้านปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาคารชุด อันดับแรกคือ ”ทำเลที่ตั้ง’’ ของอาคารชุดที่อยู่ใกล้กับที่ทำงาน รองลงมา คือ คุณภาพของวัสดุและการก่อสร้าง , การก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมที่เข้าอยู่ได้ทันที , สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครง , ความสวยงามของอาคาร , พื้นที่และประโยชน์ใช้สอย , ราคา , การให้บริการติดต่อกับทางหน่วยงานราชการ, ชื่อเสียงของเจ้าของโครงการ , มีคนสัญชาติเดียวกันอาศัยอยู่ในโครงการเดียวกัน, เจ้าของโครงการเป็นคนสัญชาติเดียวกัน และมูลค่าในอนาคต ตามลำดับ 3) ด้านความพึงพอใจของคนต่างด้าวที่ซื้ออาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานครพบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีหรือระดับสูง ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภททอาคารชุดในประเทศไทย ถือว่าอยู่ในระดับที่คนต่างชาติยอมรับได้ทั้งในด้านการออกแบบและการก่อสร้าง ดังนั้นเพื่อเป็นการรองรับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รัฐบาลควรทีจะมีการวางแผนระยะยาวเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการด้านที่อยู่อาศัยให้เกิด ความสงบสุข ความยุติธรรม และความปลอดภัย ในเวลาเดียวกัน
Other Abstract: The main objectives of this study were to examine the socio-economic status of foreigners buying condominiums in Bangkok Metropolitan Area between 1992 And1996, and to study the factors affecting their decision of ownership. This study was made after the revision of the Condominium Acts of 1984 was approved on 30 September, 1991 which allows foreigners to own 40% of the total space of a condominium. The Act should have boosted more sales of condominiums, but only 7.29% of the total condominium space was owned by foreigners between 1992 and 1996. The result of this study indicated that 1) the important factor of making oreigners want to be property owners in Thailand was the duration of stay in the country, 2) important factors in deciding to buy a condominium were the location, the quality of construction, the completeness of construction, the amenities, the architecture design, the space and function, the price, the after-sale service, the credit of the project developer, the nationality shared by condominium residents, the nationality shared by the buyer and the project developer, and the value added to the condominium in the future respectively, and 3) the satisfaction of foreigners living in condominiums was at the ‘good’ or ‘high’ level in average. As for future housing development and management, the government should set up a long-term housing policy to suit future trend.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72207
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1998.135
ISBN: 9743316094
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1998.135
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prakit_ch_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.02 MBAdobe PDFView/Open
Prakit_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1905.4 kBAdobe PDFView/Open
Prakit_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.1 MBAdobe PDFView/Open
Prakit_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3904.73 kBAdobe PDFView/Open
Prakit_ch_ch4_p.pdfบทที่ 4768.58 kBAdobe PDFView/Open
Prakit_ch_ch5_p.pdfบทที่ 52.56 MBAdobe PDFView/Open
Prakit_ch_ch6_p.pdfบทที่ 61.74 MBAdobe PDFView/Open
Prakit_ch_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.