Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73347
Title: การกำจัดสารหนูในรูปอาร์ซิเนตในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ไคโตแซนแบบเม็ด
Other Titles: Removal of arsenic (v) from synthetic wastewater using chitosan beads
Authors: รามนรี เนตรวิเชียร
Advisors: สุธา ขาวเธียร
เจิดศักดิ์ ไชยคุนา
Advisor's Email: Sutha.K@Chula.ac.th
Jirdsak.T@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด
สารหนู
ไคโตแซน
Sewage -- Purification
Arsenic
Chitosan
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาความสามารถในการดูดซับอาร์ซิเนตในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ไคโตแซนแบบเม็ด ทำโดยใช้ปฏิกรณ์แบบชุดชนิดผสมสมบูรณ์ที่อุณหภูมิห้อง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เวลา พีเอชของสารละลาย ความเข้มข้นเริ่มต้นของอาร์ซิเนต และปริมาณไคโตแซน มีผลต่อปริมาณการดูดซับ การดูดซับของอาร์ซิเนตบนไคโตแซนแบบเม็ดถึงภาวะสมดุลภายในเวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ที่พีเอชตํ่าให้ประสิทธิภาพการกำจัดอาร์ซิเนตสูงกว่าที่พีเอชสูงความ สามารถของไคโตแซนแบบเม็ดในการดูดซับอาร์ซิเนตมีค่าอยู่ในช่วง 0.0061-1.3167 มิลลิกรัมต่อกรัมภาวะที่เหมาะสมในการศึกษาครั้งนี้ คือการใช้ปริมาณไคโตแซน 0.5 กรัม ด้วยอัตราเร็วในการเขย่า 150 รอบต่อนาที ที่พีเอช 6 ภายในเวลา 24 ชั่วโมง การเพิ่ม ionic strength (NaNO3) และการมีแอนไอออนอื่น (SO42-) ไม่มีผลกระทบต่อการดูดซับของอาร์ซิเนตบนไคโตแซนแบบเม็ด ผลจากการกำจัดไคโตแซนที่ใช้งานแล้วด้วยวิธี leaching test แสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของอาร์ซิเนตในสารละลายมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด
Other Abstract: The adsorption ability of arsenate from synthetic wastewater using chitosan beads was studied in a completely-mixed batch reactor at room temperature. The results indicated that time, solution pH, initial arsenate concentration, and chitosan weight affected the adsorption capacity. The equilibrium adsorption of arsenate on chitosan beads was reached in less than 24 hours. Arsenate removal efficiency was higher at lower pH. Adsorption capacity of arsenate on chitosan beads was in the range of 0.0061 - 1.3168 mg/g. The appropriate conditions for this study were using chitosan weight of 0.5 grams with shaking rate of 150 rpm at pH 6 for 24 hours. Increasing ionic strength (NaNO3) and the presence of other anion (SO4-2) had no effect on arsenate adsorption on chitosan beads. The result from leaching test for spent chitosan beads showed that arsenate concentration in the solution was less than those of the Ministry of Industry’s standard.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73347
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.60
ISBN: 9741303459
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.60
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ramnaree_ne_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ841.52 kBAdobe PDFView/Open
Ramnaree_ne_ch1_p.pdfบทที่ 1671.17 kBAdobe PDFView/Open
Ramnaree_ne_ch2_p.pdfบทที่ 21.59 MBAdobe PDFView/Open
Ramnaree_ne_ch3_p.pdfบทที่ 3782.59 kBAdobe PDFView/Open
Ramnaree_ne_ch4_p.pdfบทที่ 41.61 MBAdobe PDFView/Open
Ramnaree_ne_ch5_p.pdfบทที่ 5626.43 kBAdobe PDFView/Open
Ramnaree_ne_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.