Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73544
Title: | การหมักสารตั้งต้นสถานะของแข็งแบบไม่ใช้ออกซิเจน โดยการหมุนเวียนของเหลวกลับมาใช้ |
Other Titles: | Anaerobic solid3subsirate fermentation with liquid recycling operation |
Authors: | สุนทรียา วงศ์ศิริกุล |
Advisors: | เพียรพรรค ทัศคร สุเมธ ชวเดช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | pienpak.T@chula.ac.th Sumaeth.C@chula.ac.th |
Subjects: | ก๊าซชีวภาพ เคมีของแข็ง Biogas Solid state chemistry |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กระบวนการย่อยสลายของแข็งเพื่อเปลี่ยนเป็นแก๊สชีวภาพนี้ ได้เน้นการวิจัยในขั้นตอน กระบวนการย่อยสลายของแข็ง โมเลกุลเล็กที่ไม่ละลายน้ำไปเป็นสารโมเลกุลเล็กที่ละลายน้ำได้ ซึ่งสารโมเลกุลเล็กที่ละลายน้ำได้เหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการผลิตแก๊สชีวภาพ หรือต้องการเปลี่ยนแปลงเป็น สารเคมีอื่น ๆ ในขั้นตอนต่อไป ซึ่งวิธีการนี้จะดีกว่าวิธีการผลิตโดยตรงจากสารของแข็ง ในงานวิจัยนี้ เลือกใช้เปลือกมันฝรั่งจากโรงงานแปรรูปมันฝรั่งทอดกรอบเป็นวัตถุดิบ จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ การศึกษาปริมาณของแข็งเริ่มต้นที่มีผลต่อการย่อยสลายของแข็งและการผลิตแก๊สชีวภาพ โดยได้ทดลอง แปรค่าปริมาณของแข็งเริ่มต้นช่วง 3-12 % พบว่าที่ปริมาณของแข็งเริ่มต้น 5% ให้ผลการทดลองที่ดีที่ สุดโดยระบบสามารถย่อยสลายของแข็งได้ 85 % และผลิตแก๊สชีวภาพได้ตลอดการทดลอง 1.38 ลิตร /ลิตรของขนาดถังปฏิกรณ์/วัน นอกจากนั้นได้ทดลองแปรค่าปริมาณน้ำที่ใช้หมุนเวียนในระบบที่อัตรา 1.47 2.94 และ 4.41 ลิตร/ลิตรของถังปฏิกรณ์/วัน ผลปรากฏว่าที่อัตราการไหลเวียนค่าต่าง ๆ นี้ไม่มี ผลต่อการย่อยสลายของของแข็งและอัตราการผลิตแก๊สชีวภาพ สำหรับการเปรียบเทียบค่าจุลินทรีย์ เริ่มต้นในระบบที่ 20,000 40,000 และ 60,000 มิลลิกรัม/ลิตร ผลปรากฏว่าทำให้อัตราการ ย่อยสลายเร็วขึ้นแต่ไม่มีผลต่อการผลิตแก๊สชีวภาพ |
Other Abstract: | The anaerobic digestion of solids yeilding biogas was investigated with emphasis on the hydrolysis of solid-substrate yeilding small molecules soluble in water. The intermediate substrate may be used to produce biogas later when it is needed or transformed further into other chemicals. This is a better alternative than utilization of biogas at the production site directly from solid-substrate. Potato peel from potato chip factory was chosen as a raw material. The objectives of this research are to investigate the hydrolysis rate and the production of biogas. In the experiments, the total solid in the system was varied between 3 – 12 %. It was found that the highest total solid reduction was 85 % at the initial total solid of 5%. The accumulation of biogas was obtained at 1.38 1/1 working volume of reeactor/day. A study on water circulation at the rate of 1.47, 2.94 and 4.41 1/1 working volume of reeactor/day showed that circulation rate has no effect on hydrolysis of solid-substrate and biogas production. A comparision of bacterial seed in the system of 20,000 40,000 and 60,000 mg/l indicated a slight increase of the hydrolysis rate with the seed concentration. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73544 |
ISBN: | 9745819484 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Soontareeya_wo_front_p.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soontareeya_wo_ch1_p.pdf | 739.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Soontareeya_wo_ch2_p.pdf | 3.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soontareeya_wo_ch3_p.pdf | 731.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Soontareeya_wo_ch4_p.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soontareeya_wo_ch5_p.pdf | 3.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soontareeya_wo_ch6_p.pdf | 615.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Soontareeya_wo_back_p.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.