Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73663
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
Other Titles: Cost analysis on container handling services of the port authority of Thailand
Authors: เกียรติศักดิ์ ตุลาธรรมกุล
Advisors: ดนุชา คุณพนิชกิจ
สมาน ภัทราพรนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Danuja@.acc.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ระบบขนส่งคอนเทนเนอร์ -- ต้นทุน
การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุนการผลิต)
Containerization -- Costs
Value analysis (Cost control)
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งวิเคราะห์ต้นทุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งต้นทุนการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์เริ่มคิดจากการเคลื่อนย้ายสินค้าคอนเทนเนอร์ที่วางพักหน้าท่าไปจนกระทั่งเก็บที่ ลานตู้คอนเทนเนอร์ (Container Yard) สำหรับสินค้าขาเข้า กรณีสินค้าขาออกจะเริ่มคิดจากการเคลื่อนย้าย สินค้าจากลานตู้คอนเทนเนอร์มาวางพักบนหน้าท่า การวิเคราะห์จะทำเฉพาะปีงบประมาณ 2531 และ 2532 สำหรับการคำนวณต้นทุนนั้นใช้วิธีการปันส่วนต้นทุนแบบขั้น โดยไม่คำนึงถึงการให้บริการระหว่างกับของหน่วยงาน ต้นทุนดำเนินงานการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์แบ่งส่วนได้เป็น ต้นทุนดำเนินงานการเคลื่อน ย้ายตู้คอนเทนเนอร์ฝ่ายท่าเรือกรุงเทพ (ส่วนปฏิบัติงานและส่วนธุรการ) และค่าใช้จ่ายดำเนินงานส่วนกลาง ผลจากการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ต้นทุนดำเนินงานการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์รการ เป็นดังนี้ 2531 (บาท) บาท : T.E.U. 2532 (บาท) บาท : T.E.U. ส่วนปฏิบัติงาน 481,729,379 640 426,222,557 471 ส่วนธุรการ 7,395,483 10 8,298,725 9 รวมฝ่ายท่าเรือกรุงเทพ 489,124,862 650 434,521,282 480 ค่าใช้จ่ายดำเนินงานส่วนกลาง 374,798,333 498 425,448,718 470 รวมทั้งสิ้น 863,923,195 1148 859,970,000 950 การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนการดำเนินงานกับรายได้ โดยการคำนวณอัตรา ผลตอบแทนของรายได้เป็นดังนี่ ผลตอบแทนของรายได้ 2531 2532 กรณีกำไรจากการดำเนินงานรวม 6.06% 32.96% กรณีกำไรผันแปร 72.00% 89.29% กรณีกำไรจากการดำเนินงานที่ไม่พิจารณา ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ 5.45% 32.52% อัตราผลตอบแทนที่วิเคราะห์ได้ เป็นอัตรากำไรที่ไม่ได้พิจารณาถึงค่าใช้จ่าย การลงทุนในโครงการต่างๆ ส่วนจุดคุ้มทุนเฉพาะปีงบประมาณ 2532 การท่าเรือฯ ต้องปฏิบัติงานการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ ในปริมาณ 570,821 T.E.U. จึงทำให้การท่าเรือฯ มีรายได้คุ้มกับค่าใช้จ่ายรวมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดพอดี สำหรับการขนสินค้าในระบบคอนเทนเนอร์ การท่าเรือฯ ยังคงมีปัญหาทางด้านความแออัดหน้าท่า ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการเก็บอัตราค่าภาวะ ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่าการท่าเรือฯ ควรเร่งปรับปรุงพื้นที่ลาน เก็บตู้คอนเทนเนอร์ จัดระบบการจราจรภายใน ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมตู้คอนเทนเนอร์ และปรับปรุงอัตราค่าภาระใหม่ โดยใช้ต้นทุนดำเนินงานการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ต่อ T.E.U. เป็นแนวทางในการปรับปรุง
Other Abstract: This thesis aims at cost analysis on container handling services of The Port Authority of Thailand by which cost included start from the movement of container goods in front of the wharf to the container yard for import goods and from the movement of container goods from the container yard to the front of the wharf export goods. The cost data analyzed are in fiscal year of 1088 and 1989. The method of calculating cost is based on step method of cost allocation which ignores interaction among service departments. The operating cost of handling containter can be subdivided into operating cost of container sections) , and central administration cost. From the analysis , it can be concluded that costs of container handling services are follows : Container Handling Services Cost of Administration operating & clerical for container handling FISCAL YEAR 1988 1989 Total Cost Cost per T.E.U. Total Cost Cost per T.E.U. Operation Section Clerical Section Subtotal for Bangkok Port Department Central Administration Cost Total 481,729,379 7,395,483 640 10 426,222,557 8,298,725 471 9 489,124,862 374,798,333 650 498 434,521,282 425,448,718 480 470 863,923,195 1,148 859,970,000 950 To the return on revenue rations can be summarized as follows : Categories of Analysis FISCAL YEAR 1988 (%) 1989 (%) Return on revenue Case of total profit Case of variable profit Case of profit non-considering Interest charged by loan acquired 6.06 72.00 5.45 32.96 89.29 32.52 The ration analysed ignore initial investment of the PAT. From break-even analysis for fiscal year 1989, the PAT should operate on a handling services of approximately 570,821 T.E.U. in order to reach its break-even point. In order to operate under containerized system, the PAT still has problems involving congestion in the load-undertaking wharf area, operation, and collection charge. The suggestion to the PAT are that the PAT should accelerately expand the container yard area, arrange internal traffic use computer to control the flowing traffic of containers, and re-arrange the charge by using the cost of container handling services per T.E.U. as a guide-line for such re-arrangement.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73663
ISBN: 9745793949
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Keatisak_tu_front_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Keatisak_tu_ch1_p.pdf777.32 kBAdobe PDFView/Open
Keatisak_tu_ch2_p.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Keatisak_tu_ch3_p.pdf5.8 MBAdobe PDFView/Open
Keatisak_tu_ch4_p.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Keatisak_tu_ch5_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Keatisak_tu_back_p.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.