Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73981
Title: ผลการฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นเด็กเล็ก โดยการประยุกต์ใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย
Other Titles: Results of mathematics skill practice for preschool children by applying Thai folkplays
Authors: ระพีพัฒน์ ยินดีสุข
Advisors: วรรณี ศิริโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
เกมในการศึกษาคณิตศาสตร์
Mathematics -- Study and teaching
Games in mathematics education
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นเด็กเล็ก โดยการประยุกต์ใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย ผู้วิจัยได้นำการละเล่นพื้นบ้านไทย สำหรับเด็กรวม 175 ชนิด คัดเลือกชนิดที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็กได้ 157 ชนิด นำมาวิเคราะห์ความสอดคล้องกับทักษะคณิตศาสตร์ แล้วเลือกมาประยุกต์ใช้ในแผนการฝึกรวม 18 ชนิด โดยสร้างเครื่องมือวิจัย ซึ่งประกอบด้วย 1. ชุดฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ 3 ชุด คือ ชุดการสังเกต การเปรียบเทียบ และการนับแต่ละชุดมีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.00 / 82.50 88.83 / 88.25 และ 91.50 / 86.25 2. แบบทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ 3 ฉบับ แต่ละฉบับมีค่าระดับความยากเท่ากับ .23-.80, .30- .80 และ .26-.80 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ .20-.90, .26-.73 และ .20-.66 สัมประสิทธิ์แห่งความเที่ยงเท่ากับ .77 .79 และ .70 ตามลำดับ ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นเด็กเล็ก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2533 โรงเรียนวัดมโนรม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า ทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการฝึกโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทยสูงกว่าก่อนได้รับการฝึกที่ระดับความมีนัยยะสำคัญ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the efficiency of preschool children's mathematical skills by appling Thai folk play. The researcher selected 157 from 175 plays that were suitable for those skills. The analysis of relevant mathematical skills constructed 18 training sets. The instruments in this research were as follow. 1. Three training sets of mathematical skill: observing skill comparing skill and counting skill. The training set had the efficiency rating of 89.00/82.50, 88.83/88.25 and 91.50/86.25 2. Three tests for mathematical skills, which had difficulty indices of .23-.80, .30-.80 and .26-.80 discrimination indices of .20-.90, .26-.73 and .20-.66 and a reliability coefficient indices of .77, .79 and .70 The population was 30 preschool children studying in second term of 1990 academic year of Wat Manorom school in Amphoe Si Racha of Changwat Chon buri. The research finding revealed the mathematical skill of preschool children after the training with Thai folk play, were significant higher at the .01 level than those before training which corresponded the hypothesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73981
ISBN: 9745786306
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rapeepat_yi_front_p.pdf985.94 kBAdobe PDFView/Open
Rapeepat_yi_ch1_p.pdf985.91 kBAdobe PDFView/Open
Rapeepat_yi_ch2_p.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Rapeepat_yi_ch3_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Rapeepat_yi_ch4_p.pdf846.54 kBAdobe PDFView/Open
Rapeepat_yi_ch5_p.pdf967.95 kBAdobe PDFView/Open
Rapeepat_yi_back_p.pdf13.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.