Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74235
Title: การศึกษาผลในการปฏิบัติตามผังเมืองรวม : กรณีศึกษาผังเมืองรวม เมืองระยอง
Other Titles: Study on implementation assessment of comprehensive plan : a case study Rayong comprehensive plan
Authors: สาธิต สุขบท
Advisors: ดุษฎี ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Dusadee.T@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาเมือง
เมือง -- ไทย (ภาคตะวันออก) -- การเจริญเติบโต
โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ -- ไทย
ผังเมือง -- ไทย (ภาคตะวันออก)
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- ระยอง
ระยอง -- ผังเมือง
ระยอง -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
ระยอง -- ภาวะสังคม
Urban development
Cities and towns -- Thailand, Eastern -- Growth
Infrastructure ‪(Economics)‬ -- Thailand
City planning -- Thailand, Eastern
Land use -- Thailand -- Rayong
Rayong -- City planning
Rayong -- Description and travel
Rayong -- Social conditions
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการพัฒนาเมืองในเขตเทศบาลเมืองระยอง ช่วงปีพ.ศ2520 - 2530 ประเมินผลของการพัฒนาเมืองหลังจากมีการบังคับใช้ผังเมืองรวมเมืองระยองและศึกษาวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามผังเมืองรวมเมืองเมืองระยองช่วง ปีพ.ศ 2527-2530 เสนอปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการปฏิบัติตามผังเมืองรวมฯ และชี้ความสำคัญของผังเมืองรวมระยอง ซึ่งเป็นผังเมืองรวมผังแรกของประเทศไทย วิธีการศึกษาคือ การสำรวจภาคสนาม ออกแบบสอบถามแล้วบันทึกการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบการปฏิบัติในให้เป็นไปตามผังเมืองรวมเมืองระยอง รวมทั้งออกแบบสอบถามประชาชน เพื่อทราบความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับผังเมืองรวมเมืองระยอง นอกจากนี้จะใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสำรวจพื้นที่ เพื่อทราบการพัฒนาเมืองและการปฏิบัติตามผังเมืองรวมเมืองระยอง ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนเมืองในเขตเทศบาลเมืองระยอง เป็นเมืองศูนย์กลางขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดระยอง ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองรองของภาคตะวันออกจากเมืองหลักชลบุรี มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเมืองน้อยมากในช่วงเวลาก่อนบังคับใช้ผังเมืองรวม (29 ธันวาคม 2526) ถึงปี พ.ศ 2530 แต่ในช่วงปีพ.ศ 2530-2531 จะมีการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาเมืองสูงมากในทุก ๆ ด้าน โดยผลกระทบจากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก มีการขยายบริการภาครัฐทางด้านสาธารณูปโภค การเพิ่มขึ้นของสถานประกอบการ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและเกิดการอพยพย้ายถิ่นของประชากรเข้ามาในเขตชุมชน มีการขยายตัวของการใช้ที่ดินมากขึ้นโดยเฉพาะการพาณิชยกรรมและอยู่อาศัย ทำให้ราคาที่ดินในเขตชุมชนมีราคาสูงขึ้นมากและเป็นข้อจำกัดต่อการใช้ที่ดินในเขตชุมชน ปัญหาที่จะเกิดมาในอนาคตคือปัญหาการขาดแคลนที่พักอาศัยปัญหาการใช้ที่ดิน ปัญหาการคมนาคม และปัญหาทางด้านสังคม การพัฒนาเมืองหลัก การใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองระยอง มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในพื้นที่ที่กำหนดเป็นประเภทพาณิชยกรรมและอยู่อาศัยหนาแน่นมาก โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของจำนวนและประเภทสถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม นอกจากนี้ยังมีการกระจายตัวเข้าสู่เขตชนบทและเกษตรกรรมทางด้านเหนือของชุมชน สำหรับผลการปฏิบัติตามผังเมืองรวมเมืองระยองพบว่า ผลการปฏิบัติตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมมีส่วนที่ปฏิบัติได้ผล ปฏิบัติไม่ได้ผล รวมทั้งมีส่วนที่ยังไม่ได้มีการปฏิบัติ สำหรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ พบว่า ส่วนใหญ่ยอมรับในผลดีของผังเมืองรวม แต่ไม่สามารถปฏิบัติให้ได้ผลเต็มที่เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรและไม่มีงบประมาณสนับสนุนจากส่วนกลางและท้องถิ่น ในด้านประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบเรื่องผังเมืองรวมเมืองระยอง ผู้ที่ทราบจะเข้าใจเรื่องผังเมืองรวมน้อยมาก ผลของการบังคับใช้ผังเมืองรวมได้ส่งผลต่อความแตกต่างของราคาที่ดินในเขตชุมชน การตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดิน การศึกษาสรุป ได้ว่า ผังเมืองรวมเมืองระยองประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แม้ว่าจะมีปัญหาและอุปสรรคก็ตาม และเสนอแนะให้การแก้ไขปัญหา โดยควรจะต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านผังเมืองรวม ซึ่งจะส่งผลต่อการปฏิบัติตามผังเมืองรวมให้เกิดประสิทธิภาพตามมา
Other Abstract: The objectives of this study are to identify the change and development in urban area in Rayong municipality during 1977-1978; to evaluate the urban development after the Rayong comprehensive plan was enforced; and to analyze the result of implementing the comprehensive plan in 1984-1987; present problems, obstacles and solutions to implementing the comprehensive plan; and finally to identify the successful features of the Rayong comprehensive plan, the first comprehensive plan in Thailand. The methodology adcpted in this study is by field survey, followed by interviews with government cfficers directly responsible for implementing the Rayong comprehensive plan, interviews with people to find out their under- standing of and comments about the Rayong comprehensive plan. Moreover, statistical analysis is used to process primary data, and secondary data from field survey in order to obtain the result of urban development and Rayong comprehensive plan in practice. The study revealed that urban community in Rayong municipality is the 11:53 largest city Centre community in Rayong, which is also the second largest municipality eastern region, after Chon Buri. Before introduction of the comprehensive plan in December 29,1983, Rayong showed very little change in urban development. However, Rayong changed rapidly in all directions with the implementation of the Eastern Seaboard Development Project in 1987-1988. government invested in infra-structure, which Led to the expansion of commercial and business area, increased employment, higher migration to the urban area, higher use of land especially for commercial and residential all of which contributed to the steep increase in the price of land in the urban area and to limitation of land use. The future problems which may arise are shortage of residential area problems of land use, communication, and social problems. For the urban development, after the enforcement of Rayong comprehend sive plan, the biggest change was in the commercial area-increasing in the number and density of population and variety of commerce. Besides, there has been expansion into the rural and agriculture area in the northern part of the community. In practice, the Rayong comprehensive plan has been implemented with some success, some failures and some measures still to be enforced. When surveying the attitudes of government officials, we found that most accept the good point in plan; but there were failures in implementing due to shortage of man power and budget. From the community attitudes, we found that most of the population do not know the plan, and of those who know, very few understand the plan, the results of the plan cause the differece in price and use of land in urban area. From this study, the results appear that the Rayong comprehensive plan is successful of one level, although there are problems and obstacles. The suggestion is that there should be an organization responsible for the plan in order to solve the problems and it will result in the implementation with greater efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74235
ISBN: 9745782734
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sathit_su_front_p.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Sathit_su_ch1_p.pdf948.57 kBAdobe PDFView/Open
Sathit_su_ch2_p.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
Sathit_su_ch3_p.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open
Sathit_su_ch4_p.pdf13.29 MBAdobe PDFView/Open
Sathit_su_ch5_p.pdf9.4 MBAdobe PDFView/Open
Sathit_su_ch6_p.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Sathit_su_back_p.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.