Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74370
Title: เทคนิคการแปลงตารางตัดสินใจให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
Other Titles: Conversion technigues of decision tables to computer programs
Authors: รสสุคนธ์ ทรงอาษา
Advisors: วิชาญ เลิศวิภาตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: wichan@cp.eng.chula.ac.th
Subjects: ตารางการตัดสินใจ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
โครงสร้างข้อมูล (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
Decision logic tables
Computer programs
Data structures ‪(Computer science)‬
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตารางตัดสินใจเป็นเครื่องมือสำคัญชนิดหนึ่งที่ช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบระบบรวมทั้งการพัฒนาโปรแกรมใช้แสดงความสัมพันธ์ทางตรรกะของเหตุการณ์ต่างๆ โดยตารางตัดสินใจจะแสดงข้อมูลของเงื่อไขทั้งหมดที่จำเป็นต่อการตัดสินใจรวมทั้งการกระทำสืบเนื่องเมื่อเกิดการตัดสินใจ ตารางตัดสินใจจะใช้จัดการกับเงื่อนไขสลับซับซ้อนนอกจากนี้ยังใช้เป็นเอกสารในการสื่อสารระหว่างนักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้รวมทั้งโปรแกรมเมอร์ซึ่งทำให้เข้าใจตรรกะของระบบได้ดีเมื่อสร้างตารางตัดสินใจเรียบร้อยแล้วสามารถนำมาแปลงเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยเขียนชุดคำสั่งด้วยมือได้แต่ถ้ามีเงื่อนไขจำนวนมากจะต้องใช้เวลาและยังอาจเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงตารางตัดสินใจ รวมถึงเทคนิคในการแปลงตารางตัดสินใจให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์และพัฒนาโปรแกรมช่วยในการแปลงตารางตัดสินใจเป็นส่วนของโปรแกรมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ในการอกแบบและพัฒนาระบบการแปลงตารางตัดสินใจเป็นส่วนของโปรแกรม ภาษโคบอลนี้แบ่งเป็นโปรแกรมหลักได้ 4 โปรแกรมตามหน้าที่การประมวลผลดังต่อไปนี้ 1. โปรแกรมสร้างตารางตัดสินใจทำหน้าที่เตรียมที่สำหรับรับข้อมูลตารางตัดสินใจรวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลของตารางตัดสินใจลงแฟ้มข้อมูล 2. โปรแกรมบรรณาธิกรข้อมูลของตารางตัดสินใจ ทำหน้าที่รับและแก้ไขข้อมูลของตารางตัดสินใจ 3. โปรแกรมสร้างส่วนของโปรแกรมภาษาโคบอลจากข้อมูลของตารางตัดสินใจที่ผู้ใช้กำหนด 4. โปรแกรมจัดพิมพ์ส่วนของโปรแกรมและตารางตัดสินใจทำหน้าที่พิมพ์ส่วนของโปรแกรมภาษาโคบอลที่ถูกสร้างขึ้นและตารางตัดสินใจออกทางเครื่องพิมพ์หรือเก็บลงแฟ้มข้อมูล ระบบงานนี้จะช่วยลดขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขที่สลัลซับซ้อนทำให้ประหยัดเวลาในการพัฒนาโปรแกรม ลดข้อผิดพลาด ตลอดจนการบำรุงรักษาทำได้ง่ายขึ้น
Other Abstract: The decision table is a specification tool in systems analysis and design, including program development. The decision tables display various combinations of conditions that, when satisfied, imply that certain associated prescribed action are to be taken. The use of decision tables help analysts, users and programmers to deal systematically with inherent complexity, to communicate better with each other, and to clarify the logic of complex designs. The conversion of decision tables to computer programs or part of programs manually may have error. The objectives of this thesis are to study the theory of decision tables, including methods for translating them into programs, and to develop the programs which capable to convert decision table to COBOL-IF-THEN-ELSE. Four selected programs for convert decision tables to COBOL NESTED-IF-THEN-ELSE are implemented on a microcomputer. These programs are 1. Creating decision table program. 2. Editing decision table program. 3. Printing decision table listing, including COBOL NESTED-IF-THEN-ELSE Listing program. These programs minimize the steps and time in the development of complex conditions program, minimize error and make easier maintenance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74370
ISBN: 9745777641
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rossukont_so_front_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Rossukont_so_ch1_p.pdf907.15 kBAdobe PDFView/Open
Rossukont_so_ch2_p.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Rossukont_so_ch3_p.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Rossukont_so_ch4_p.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Rossukont_so_ch5_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Rossukont_so_ch6_p.pdf743.12 kBAdobe PDFView/Open
Rossukont_so_back_p.pdf651.72 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.