Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74681
Title: สภาพและความต้องการการศึกษาผลนอกโรงเรียนด้านอาชีพของประชาชน เขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก
Other Titles: State and need for vocational nonformal education of people in the eastern seaboard
Authors: อำนวย แดงศรี
Advisors: รัตนา พุ่มไพศาล
สมบัติ สุวรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Ratana.P@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
การฝึกอาชีพ
Non-formal education
Occupational training
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการการศึกษานอกโรงเรียนด้านอาชีพของประชาชนในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยเปรียบเทียบความต้องการกับตัวแปร เพศ อายุ การศึกษาสถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครอบครัว อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่ และสภาพพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า หน่วยงานที่จัดการศึกษานอกโรงเรียนด้านอาชีพเป็นหน่วยงานของรัฐบาลมากกว่าเอกชน หน่วยงานส่วนใหญ่จัดการศึกษานอกโรงเรียนด้านอาชีพเป็นกิจกรรมหลัก ในด้านความต้องการหลักสูตรประชาชนต้องการหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นมากที่สุด ด้านเนื้อหาความรู้ประชาชนต้องการวิชาช่างคหกรรมมากที่สุด ด้านวิทยากรประชาชนต้องการวิทยากรที่มีความรู้ความชำนาญในวิชาที่สอนเป็นอย่างดีมากที่สุด ด้านวิธีการสอนประชาชนต้องการวิธีการสอนลักษณะที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงในงานด้านอาชีพนั้น ๆ มากที่สุด ด้านวันเวลาประชาชนต้องการศึกษาวันจันทร์-ศุกร์ตอนค่ำมากที่สุด ด้านความคาดหวังประชาชนต้องการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและครอบครัวมากที่สุด ด้านอื่น ๆ ประชาชนต้องการให้มีการสำรวจความต้องการการศึกษานอกโรงเรียนด้านอาชีพมากที่สุด จากการเปรียบเทียบความต้องการกับตัวแปร เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครอบครัว อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่ และสภาพพื้นที่พบว่า ตัวแปรที่ความแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่. 05 และ. 01 คือ เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ และสภาพพื้นที่ ส่วนตัวแปรที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และ .01 คือจำนวนสมาชิกในครอบครัวและระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่
Other Abstract: The objectives of this research were to study the situation and needs of non-formal education of local people in the Eastern Seaboard Area and to compare their needs according to the variable varieties, sex, age, education marital status, member in the family, profession, income, duration of living in the area and parts of the area. The results of the study revealed that the govermental sectors provided more non-formal education programs than the private sectors in which most of them were emphasized on vocational activities. The local people's needs were mostly placed on short-term vocational traming. They were most interested in the house economics subject. They also preferred skilful and understand able resource persons. Moreover they most appeciated the actual practice in vocation for the mathod of learning. The liked to study on Poway to Friday evenings. In addition, they expected to utilize their obtained knowledge for their daily life activities and for their family. Finally, they suggested that needs assessment on vocational non-formal education be conducted before implementing the activities. The comparisons of local people's vocational needs among determines variables indicated that there were statistically significant differences at .05 and .01 level in sex, age, education marital statas, profession, income and their location while no statistically significant differences were found in members in the family and duration of living in the areas.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74681
ISBN: 9745763489
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amnauy_da_front_p.pdf922.04 kBAdobe PDFView/Open
Amnauy_da_ch1_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Amnauy_da_ch2_p.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Amnauy_da_ch3_p.pdf816.93 kBAdobe PDFView/Open
Amnauy_da_ch4_p.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Amnauy_da_ch5_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Amnauy_da_back_p.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.