Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74804
Title: การศึกษาผังเฉพาะเมืองท่องเที่ยวชายทะเล : กรณีศึกษาเมืองพัทยา
Other Titles: Action plan for resort town : a case study of Pattaya
Authors: เด่นพงศ์ เจริญทิพย์
Advisors: คมสัน ศุขสุเมฆ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผังเมือง -- ไทย -- พัทยา (ชลบุรี)
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- พัทยา (ชลบุรี)
พัทยา (ชลบุรี) -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
City planning -- Thailand -- Pattaya (Chonburi)
Land use -- Thailand -- Pattaya (Chonburi)
Pattaya (Chonburi) -- Description and travel
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผังเมืองรวมเมืองพัทยานั้น เป็นการกำหนดผังการใช้ที่ดินตามนโยบายในการพัฒนาพัทยาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบ โดยการพัฒนาที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมสำหรับชุมชนพักอาศัยและนักท่องเที่ยว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการกำหนดลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมกับพื้นที่ริมชายหาดนาจอมเทียน โดยพิจารณาจากนโยบายในการกำหนดให้พื้นที่บริเวณนาจอมเทียนเป็นศูนย์กลางรอง สำหรับที่พักอาศัยของนักท่องเที่ยวที่สงบได้มาตรฐาน ร่วมกับการพิจารณาลักษณะทางกายภาพที่เด่นของพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่สวยงาม ควบคุมการพัฒนาด้านกายภาพให้เหมาะสมกับสภาพธรรมชาติ และการใช้ที่ดินที่สอดคล้องกันระหว่างชุมชนพักอาศัยกับนักท่องเที่ยว โดยบริเวณพื้นที่ริมชายหาดนาจอมเทียนจะถูกกำหนดให้เป็นเขตผังเมืองเฉพาะ ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนในการพัฒนาที่จะทำให้ผังเมืองรวมสามารถบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง วิธีการศึกษาจะเป็นการใช้ข้อมูลทุติยภูมิมาประกอบกับข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจในพื้นที่ ซึ่งเน้นลักษณะทางกายภาพของพื้นเป็นหลัก โดยการศึกษาเริ่มจากข้อมูลทางด้านสังคมเศรษฐกิจ และกาบภาพตั้งแต่ระดับเมืองพัทยามาจนถึงระดับชุมชนหาดนาจอมเทียน เพื่อทราบภาพรวมปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดขึ้นศักยภาพและแนวโน้มในอนาคต ศึกษาหลักการและทฤษฎีในการพัฒนาชุมชน ซึ่งเน้นถึงการออกแบบจัดย่านที่พักอาศัยของนักท่องเที่ยว ศูนย์กลางการให้บริการระหว่างชุมชนพักอาศัยกับนักท่องเที่ยวให้ความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เพื่อกำหนดย่านการใช้ที่ดิน กิจกรรม และควบคุมลักษณะทางกายภาพอาคารในพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและนโยบายในการพัฒนาของพื้นที่ ผลของการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แนวโน้มการเจริญเติบโตของศูนย์กลางของหาดนาจอมเทียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เนื่องจากคุณสมบัติที่เด่นของชายหาดที่มีความยาวต่อเนื่องประมาณ 6 กิโลเมตร และที่ว่างที่จะทำการพัฒนายังมีอีกมาก ซึ่งการขยายตัวเป็นแบบเส้นความยาวเฉพาะบริเวณริมชายหาด อันจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่นเดียวกับบริเวณอ่าวพัทยา จากผลของการวิเคราะห์ ได้ข้อเสนอแนะเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาศูนย์กลางรองหาดนาจอมเทียน สรุปได้ดังนี้ กำหนดผังการแบ่งย่านการใช้ที่ดินและกิจกรรมสำหรับชุมชนพักอาศัยกับนักท่องเที่ยว รวมถึงศูนย์กลางการให้บริการของย่านทั้งสองให้แยกจากกันอย่างชัดเจน แต่ให้มีความสัมพันธ์กันในระยะทางและการใช้บริการที่เกื้อกูลกัน เสนอแนะเกี่ยวกับการวางโครงข่ายระบบการจราจร การระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าประปา ให้เอื้ออำนวยประโยชน์แก่ชุมชน โดยสอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติเดิม จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการควบคุมลักษณะทางกายภาพของอาคาร เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมตามนโยบาย โดยเสนอข้อกำหนดการวางผังและลักษณะอาคาร ด้วยการใช้มาตรการในการควบคุม ขนาดพื้นที่ดิน เกณฑ์เกี่ยวกับระยะถอยร่นอาคาร ความหนาแน่นอาคาร เนื้อที่อาคารต่อพื้นที่ดิน ที่ว่างรอบอาคารความสูงและประเภทการใช้ของอาคาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดลักษณะทางกายภาพของอาคาร ผลของการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อการแสดงออกของรูปแบบเมืองบริเวณหาดนาจอมเทียน ที่จะรักษาสภาพแวดล้อมที่สวยงามไว้ และยังเป็นแนวทางในการบรรลุถุงจุดประสงค์ของผังเมืองรวมด้วย
Other Abstract: The purpose of this study is to recommend guidance on stipulating appropriated physical characteristic of Chomtien Beach, considering the already set-up policy proposing this area as a sub-area of a good residential location for tourism and the prominent physical characteristics of the area, in order to preserve the beautiful environment, to keep the physical development in lie with the natural condition and to link residential land use and tourism activity appropriately. The area of Na Chomtien Beach is identified to be a zone of specific area planning, another step of development to fulfill the goal of comprehensive urban plan. The study employ both secondary and primary data including socio economic and physical aspects. It has identified the area profile, potentiality, constraints and future trends of development. Relating theories and concepts were analyzed, focusing on designing of tourism residential area and linking of service center residential area and tourists, inorder to syncronize the identification of land use zoning, activities and physical characteristics of building with environmental conditions and development policy of the area. The study was found that Na Chomtien Beach Sub-Center has been growing rapidly with advantage conditions of the beach lenght and the paper left for development. With Ribbon development pattern along the beach, it would cause the various problems similar to those in Pattaya Bay. Thus, guidelines for development of Na Chomtien sub-center were recommended as follow; First, identification of land-use plan and activities for resident and tourism including service center should be clearly seperated but with well-integrated links; Second, proposing appropriate network of traffic draining, electricity and pipe-water supply to fulfill the needs of the community, without destruction of former natural characteristics; Lastly, recommending guidances for controlling of physical characteristics of building in lie with environmental preservation policy by proposing planning and building regulation such as appropriate lots size, set back, density, floor-area ratio, open space, building height and building usage characteristics. This study will be benificial for the public to know the urban pattern of Na Chomtien whose beautiful environment should be preserved; and this will also be a way to fulfill the purpose of multiple urban planning.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74804
ISBN: 9745769974
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Denpong_ja_front_p.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Denpong_ja_ch1_p.pdf834.19 kBAdobe PDFView/Open
Denpong_ja_ch2_p.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Denpong_ja_ch3_p.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open
Denpong_ja_ch4_p.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Denpong_ja_ch5_p.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open
Denpong_ja_ch6_p.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open
Denpong_ja_back_p.pdf882.07 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.