Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75409
Title: | ปัญหาการลงโทษผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 |
Authors: | ภวินท์ ประเทืองสุขสกุล |
Advisors: | ณัชพล จิตติรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | natchapol.j@chula.ac.th |
Subjects: | สถาบันการเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ความผิดต่อบุคคล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรายงาน ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินจากบทกําหนดโทษทางอาญา ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัย เชิงคุณภาพ โดยการศึกษารวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร บทความ หนังสือ งานวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวกับมาตรการลงโทษที่ใช้บังคับแก่สถาบันการเงินในความผิดเกี่ยวกับการไม่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุ อันควรสงสัยและความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลความลับแก่บริษัทลูก แล้วนําข้อมูลที่ได้ศึกษามา วิเคราะห์หาแนวทาง โดยใช้กฎหมายประเทศแคนาดาและฝรั่งเศสเป็นกฎหมายต้นแบบ เพื่อปรับปรุง มาตรการลงโทษให้มีความเหมาะสมที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ของสถาบันการเงิน จากการศึกษาพบว่า ปัญหาการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่ไม่มีประสิทธิภาพของ สถาบันการเงินเกิดจากบทกําหนดโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่มีความไม่เหมาะสมในความผิดเกี่ยวกับการไม่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยและ ความผิดจากการเปิดเผยข้อมูลความลับทางราชการ โดยในเรื่องของการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควร สงสัย กฎหมายไม่ได้กําหนดกรอบการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานในการบังคับใช้โทษ จนนําไปสู่การ หลีกเลี่ยงโทษปรับโดยการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่ไม่มีคุณภาพเป็นจํานวนมาก ส่วนในเรื่อง ของการเปิดเผยข้อมูลความลับทางราชการ กฎหมายไม่ได้ให้อํานาจการแลกเปลี่ยนข้อมูลความลับทาง ราชการระหว่างสถาบันการเงินกับบริษัทลูก ผู้วิจัยจึงเสนอมาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่จะช่วยให้เกิดการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเสนอ ให้ปรับบทกําหนดโทษทางอาญาให้มีความเหมาะสมภายใต้แนวคิดการรายงานธุรกรรมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกําหนดโทษที่จะลงแก่ผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรม และเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ซึ่งเป็นขั้นตอนสําคัญที่ในการรวบรวม พยานหลักฐานให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดฐานฟอกเงินและสนับสนุนทาง การเงินแก่การก่อการร้าย และเพื่อยับยั้งการขยายเงินทุนขององค์การอาชญากรรมฟอกเงินที่สร้างความ เสียหายแก่มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75409 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.146 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2019.146 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6186186034.pdf | 56.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.