Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75700
Title: การปรับงานระดับกลุ่ม การปรับงานรายบุคคล และความผูกใจมั่นในงานระดับบุคคล: การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านแบบเหลื่อมเวลาไขว้
Other Titles: Collective job crafting, individual job crafting and individual work engagement: cross-lagged mediational analysis
Authors: ติณณ์ ชุ่มใจ
Advisors: ประพิมพา จรัลรัตนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: ความพอใจในการทำงาน
การทำงาน -- แง่จิตวิทยา
Job satisfaction
Work -- Psychological aspects
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการปรับงานในระดับกลุ่ม การปรับงานในระดับบุคคล และความผูกใจมั่นในงานของบุคคล ในกลุ่มตัวอย่างพนักงานรายเดือนบริษัทเอกชนในประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ความสัมพันธ์ในช่วงเวลาเดียวกัน (cross-sectional study) และความสัมพันธ์ช่วงเหลื่อมเวลา (cross-lagged panel design) โดยเว้นช่วงการวัดครั้งละ 1 สัปดาห์ 3 ครั้ง (N = 175) ผลการวิเคราะห์การวัดในช่วงเวลาเดียวกันพบว่า ความสัมพันธ์ของการปรับงานระดับกลุ่ม การปรับงานรายบุคคล และความผูกใจมั่นในงาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดีและมีอิทธิพลทางตรงในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งพบว่าการปรับงานรายบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการปรับงานระดับกลุ่มและความผูกใจมั่นในงานรายบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงเวลาเดียวกันทั้ง 3 ช่วงเวลา แต่อิทธิพลทางตรงในทางบวกของการปรับงานระดับกลุ่มที่ไปยังความผูกใจมั่นในงานระดับบุคคลนั้นไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการวิเคราะห์แบบเหลื่อมเวลาไขว้ผู้วิจัยไม่พบอิทธิพลทางตรงในทางบวกที่มีนัยสำคัญทางสถิติของทุกเส้นอิทธิพลยกเว้นเส้นอิทธิพลของการปรับงานระดับกลุ่มครั้งที่ 1 ไปยัง การปรับงานรายบุคคลครั้งที่ 2
Other Abstract: This study aims to examine the causal relationship between collective job crafting, individual job crafting and individual work engagement in the sample of Thailand public company’s monthly employees. This study was divided to 2 parts which included cross-sectional study and cross-lagged panel design with the data collection period of 1 week-gap 3 times (N = 175). The result in cross-sectional study found that the model of collective job crafting, individual job crafting and individual work engagement was fitted to empirical data well and had positive direct effect with statistically significant. The individual job crafting was found as a mediator between collective job crafting and individual work engagement with significant at three different points of time but there was no significant direct effect path from collective job crafting to individual work engagement. The cross-lagged panel design found no significant positive direct paths, except for T1 collective job crafting to T2 Individual job crafting.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75700
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.656
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.656
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077633738.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.