Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75704
Title: โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอิทธิพลภาวะผู้นำแบบมีเมตตากรุณา บูรณาการจากแนวคิดเชิงพุทธและตะวันตก ที่มีผลต่อความไว้วางใจ ความผูกพัน และ ความสร้างสรรค์ ในการทำงานของพนักงานชาวไทย
Other Titles: A causal relationship model of the influences of compassionate leadership integrated from Buddhist and western principles on trust, commitments, and creativity among Thai employees
Authors: กิมาพร ลีสมิทธิ์
Advisors: ประพิมพา จรัลรัตนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: ภาวะผู้นำ
ความผูกพันต่อองค์การ
ความไว้วางใจ
Followership
Organizational commitment
Trust
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 การศึกษา ได้แก่ การพัฒนามาตรวัดภาวะผู้นำ และ การทดสอบสมมติฐานการวิจัย เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างพนักงานจากสถาบันการเงินด้วยแบบสอบถามกระดาษ การศึกษาแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตรวจสอบมาตรวัดภาวะผู้นำแบบมีเมตตากรุณาเชิงพุทธ บนพื้นฐานของความไว้วางใจ มาตรวัดถูกทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (n = 203) และวัดความตรงเชิงโครงสร้าง (n = 324) โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและความตรงเชิงลู่เข้า ผลการพัฒนามาตรวัด ภาวะผู้นำแบบมีเมตตากรุณาเชิงพุทธแบบ 4 มิติตัวแปร ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริม การเอาใจใส่ การออกแบบรางวัลและการชมเชย เพื่อแสดงการยกย่อง และ ความยึดมั่นในคุณธรรม สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์สูงสุด การทดสอบสมมติฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลระยะยาวของพฤติกรรมผู้นำ ความไว้วางใจในผู้นำ ที่มีผลต่อความผูกพัน ความสร้างสรรค์ของผู้ปฏิบัติงานในสังคมไทย การศึกษาจัดกระทำในโมเดลสมมติฐานภาคตัดขวางและการศึกษาระยะยาว วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (structural equation modeling: SEM) ด้วยโปรแกรมเอ็มพลัส (Mplus) ผลการศึกษาในโมเดลการศึกษาภาคตัดขวาง ความไว้วางใจในผู้นำเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำแบบมีเมตตากรุณาเชิงพุทธกับความผูกพันและความสร้างสรรค์ของพนักงาน ขณะที่ผลของโมเดลการศึกษาระยะยาว พบว่า ความไว้วางใจในผู้นำ (Time-1) ส่งผ่านอิทธิพลระหว่างภาวะผู้นำแบบมีเมตตากรุณาเชิงพุทธ (Time-1) และความผูกพัน (Time-2) แต่ไม่มีอิทธิผลส่งผ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความสร้างสรรค์ (Time-2)
Other Abstract: This research was conducted in two studies; leadership scale development and hypotheses testing study. Data were collected from financial services employees using a paper-based questionnaire. The first study aimed to develop and validate the Buddhist compassionate leadership scale (BCLS) based on trust. The BCLS was assessed with content validity, Exploratory Factor Analysis (n = 203), then examined construct validity (n = 324) by investigating Confirmatory Factor Analysis and convergent validity. The results showed that the 4-factor BCLS consisted of facilitating, considerate, designing reward and recognition to express appreciation, and integrity provided the best fit for the data. In hypotheses testing study, The purpose was to examine the longitudinal effects of a leader’s behaviors and trust in a leader on employees’ commitment and creativity. The study was conducted in cross-sectional and longitudinal designs. The Structural Equation Modeling (SEM) analysis using Mplus shows that in cross-sectional models, trust in the leader was a mediator between the relationship of BCL with employees’ commitment and creativity. While in a longitudinal model, Time-1 trust in leader appeared to mediate Time-1 BCL and Time-2 commitment but had no significant mediating effect on Time-2 creativity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75704
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.655
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.655
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077901938.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.