Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76386
Title: การเมืองในสถาปัตยกรรมรัฐสภาไทย
Other Titles: The politics in architecture of Thai parliament
Authors: อรณัฐ ปิยะจารุวัฒน์
Advisors: บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษานัยทางการเมืองที่ปรากฏและแฝงตัวอยู่ภายในสถาปัตยกรรมของอาคารรัฐสภาไทย โดยมุ่งศึกษาไปที่อาคารรัฐสภาสัปปายะสภาสถานซึ่งเป็นอาคารรัฐสภาแห่งที่สามของประเทศ เพื่อตอบคำถามงานวิจัยว่า อาคารรัฐสภาไทยมีแนวคิดในการออกแบบ ความเป็นมาในการจัดตั้ง และความหมายทางการเมืองไทยอย่างไร  โดยอาศัยการตีความผ่านหนังสือ เอกสารงานวิจัย และข่าวที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ทั้งในแง่ของแนวคิด การเลือกพื้นที่ และการเลือกแบบในการก่อสร้างของอาคารรัฐสภาไทย ผลการวิจัยประการแรกพบว่า สถาปัตยกรรมของอาคารราชการ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมอาคารรัฐสภาไทยมีนัยยะสำคัญที่สื่อถึงความไม่เท่ากันของอำนาจทางการเมืองระหว่างรัฐและประชาชนผ่านการออกแบบและสถาปัตยกรรม ประการที่สอง พระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งเป็นอาคารที่เดิมถูกออกแบบไว้สำหรับการจัดพระราชพิธีและรับรองพระราชอาคันตุกะ ตกแต่งด้วยภาพวีรกรรมของบูรพกษัตริย์ ก็กลายเป็นสถานที่ซึ่งจัดพระราชทานรัฐธรรมนูญ อันเป็นจุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ  ขณะที่อาคารรัฐสภาแห่งที่สองถูกก่อสร้างในช่วงที่ประเทศถูกปกครองด้วยรัฐบาลทหารอย่างยาวนาน สถาปัตยกรรมแบบทันสมัยของอาคารเป็นการสื่อถึงการเป็นประเทศที่ทันสมัยไปพร้อมกับการเบ่งบานของประชาธิปไตย ประการสุดท้าย อาคารรัฐสภา ‘สัปปายะสภาสถาน’ เป็นอาคารรัฐสภาที่ถูกทีมสถาปนิกออกแบบภายใต้แนวคิดเรื่องคุณค่าทางศีลธรรมจากการเกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ผ่านการออกแบบด้วยคติพุทธ-พราหมณ์ และเรื่องไตรภูมิ อันเป็นรูปแบบจักรวาลวิทยาที่มีพระอาทิตย์และพระจันทร์โคจร บนยอดของอาคารมีเจดีย์พระจุฬามณีเป็นที่ประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช แนวความคิดและการออกแบบเหล่านี้เป็นการออกแบบที่มุ่งสร้างศีลธรรมและการอุปถัมภ์จากเทพผู้คุ้มครองรัฐสยาม เพราะทีมสถาปนิกมองว่าปัญหาทางการเมืองเกิดจากนักการเมืองและประชาชนขาดศีลธรรม การเลือกเขาพระสุเมรุมาสร้างเป็นอาคารจะเป็นการทำให้เหล่าผู้ทำงานภายในอาคารระลึกถึงการทำหน้าที่ของตนเพื่อคนในชาติภายใต้การอุปถัมภ์จากเทพผู้คุ้มครองรัฐสยาม แต่ในอีกด้านหนึ่งพระสยามเทวาธิราชก็แสดงถึงการที่จัดให้สถาบันกษัตริย์เป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงที่สุดในจักรวาลวิทยาแบบไทยเหนือคุณค่าของประชาธิปไตยแบบตะวันตก
Other Abstract: This research focuses on the architecture of the "Sappaya Saphasathan, including other Thai National Assembly Buildings, and their political meanings. The objective of this study is to understand architecture through the political history of the National Assembly Buildings, both Parliament and Senate, and its political meanings. This research uses qualitative methods by looking at documents and evidence related to the history and style of the constructions, conceptual designs, and sites. The findings point out that, firstly, most of the governmental offices, especially Thai Parliament Buildings, have significant political implications in the ways in which they convey asymmetric power relations between the state and people through designs and architectural styles. Secondly, the research highlights the history of Parliament buildings that are focal points of political incidents. Ananta Samakhom Throne Hall, designed and decorated to host royal guests, cherished with great historical moments of Siamese royals, became the place to hold the royal constitution granting ceremony. The throne hall is the site of transition from absolute monarchy to a constitutional monarchy. While the second parliament building was built under a long period of military rules. Thus, its modern architectural style focused on modern architecture to celebrate Thailand as a modern country with ‘blooming democratic values’. Lastly, Sappaya Saphasathan is designed under the concept that the National Assembly should be a moral space to contemplate politics without conflicts. The design based on Buddhist and Hindu concepts of cosmology dividing the Sun and Moon under the three worlds. On the top of the building crowned with a golden Julamanee pagoda, and placed the Siam Devadhiraja, the most supreme and holy guardian of ancient Siamese state inside the pagoda. All of the concepts and designs are meant to reconstruct the morale and courage of Thais for the architecture team believed that Thailand has been in crisis because Thais have lost their moral virtues. So the Sumeru mountain, a center of power of the Thai state, is meant to remind the legislators of their duty for the whole nation under the patronage of the Siamese holy spirit. But on the other hand, the ancient guardian also represents the monarchy as the highest order in Thai cosmology over western democratic values.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76386
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.566
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.566
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5980629124.pdf7.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.