Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77314
Title: การวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อเปรียบเทียบมาตรฐานการให้คะแนน ระดับปริญญาตรี ของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ซึ่งได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: A statistical analysis for comparison of undergraduate level's educational grading standard of students from some institutes who enroll in graduate school, Chulalongkorn University
Authors: นฤมล ธนการพานิช
Advisors: สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา)
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
Grading and marking (Students)
Education, Higher
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน การศึกษาต่อระดับปริญญาโทเป็นที่ต้องการของผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ มากขึ้นทุกที แต่เมื่อพิจารณาจากจำนวนนิสิตที่ภาควิชาในคณะต่าง ๆ รับได้มีจำ นวนจำกัด เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านบุคลากร งบประมาณ และความต้องการของสังคม ดังนั้น สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในระดับนี้ จึงต้องวางกฏเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี วิธีหนึ่งที่ใช้กันก็คือ พิจารณาคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี ในการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี ของผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา ต่าง ๆ ซึ่งได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของคณะต่าง ๆ 10 คณะ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ กับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เกณฑ์คะแนนเฉลี่ยสะสม 2.00 ของผู้ที่สำเร็จการ ศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เท่ากับ 2.26 ของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ เป็นต้น นอกจากนั้น คณะอื่น ๆ อีก 7 คณะ คือ คณะอักษรศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะครุศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะนิเทศศาสตร์ มีลักษณะเดียวกันกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ส่วนอีก 2 คณะ คือ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ กับผู้ที่สำเร็จการ ศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทใน 2 คณะดังกล่าว มี เกณฑ์คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาโทของผู้ที่สำเร็จการศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ที่เข้าศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ พบว่า แตกต่างจากผลสัมฤทธิ์ในการเรียนระดับปริญญาโทของผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เข้าศึกษาต่อในคณะดังกล่าวตามลำดับ นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับปริญญาโทชี้ให้เห็นว่าในคณะอักษรศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท ไม่มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้น การรับนิสิตซึ่งสำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของคณะอักษรศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ ไม่จำเป็นที่จะต้องกำหนดคะแนนเฉลี่ยสะสมอย่างต่ำในระดับปริญญาตรีซึ่งเป็นผลให้ผู้สมัครสอบมีโอกาสอย่างเสมอภาคในการที่จะได้รับการพิจารณาเข้า ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Abstract: At present, master’s degree level of education is more and more desired by graduated from different colleges. But the number of students admitted are limited because of limitation in personnel, budget and social needs. The institutions that admit graduate students must set certain regulations regulations in admitting students. There are many ways in doing so. One of which is from considering the grade point average. On the analysis of the grade point average of graduates from different universities and colleges who were admitted into 10 graduate schools of Chulalongkorn University, It was found that grade point average of graduates from other universities who were admitted into School of Engineering were different from thcse graduated from Chulalongkorn University. For example, grade point average 2.00 from Chulalongkorn University is equal to 2.26 of King Mongkutg’s Institute of Technology, North Bangkok campus. The case of Schools of Art, Commerce and Accountancy, Education, Law, Science, Architecture and communication Art the grade point averages are similar to those of the graduate School of Engineering. Those admitted into Schools of Pharmacy and Political Science do not have different grade point average from those of Chulalongkorn University. when one looks closer into the student achievements in this Schools of Engineering, Education and Law, one can find differences between graduate students from other Universities and those from Chulalongkorn University. Also one finds that there is no correlation in student achievements at undergraduate Level and graduate level in the Schools of Law and Art. So the admittance of students into graduate level of education in the Schools of Art and Law does not need to fix grade points average. This will give everybody a fair chance to enter the graduate schools of Chulalongkorn University.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77314
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1984.41
ISBN: 9745638617
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1984.41
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narumol_th_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.17 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_th_ch1_p.pdfบทที่ 1777 kBAdobe PDFView/Open
Narumol_th_ch2_p.pdfบทที่ 21.09 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_th_ch3_p.pdfบทที่ 33.73 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_th_ch4_p.pdfบทที่ 41.12 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_th_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก4.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.