Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78401
Title: การประเมินพื้นที่ศักยภาพสำหรับแหล่งกักเก็บน้ำตามลุ่มแม่น้ำชี จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Evaluation of potential area for water storage along the Chi River, Ubon Ratchathani province
Authors: กุลญาดา สุขสมพงษ์
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: การจัดการน้ำ
การเก็บกักน้ำ
แม่น้ำชี
Water -- Storage
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แม่น้ำชีเป็นแม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เนื่องจากลักษณะทางภูมิประเทศท้าให้พื้นที่รอบๆ แม่น้ำชีมักเกิดปัญหาอุทกภัยในช่วงฝนตกชุกต่อเนื่องสลับกับปัญหาภัยแล้งในช่วงฤดูหนาวเป็นประจำทุกปี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาแหล่งรับน้ำเพื่อการกักเก็บน้ำเพิ่มเติม ซึ่งจากการมีทะเลสาบรูปแอก (Oxbow lake) และร่องรอยทางน้ำเก่า (Meander scar) จำนวนมากตลอดความยาวของแม่น้ำชี ซึ่งเป็นบริเวณที่ราบลุ่มต่ำและเคยมีทางน้ำไหลผ่าน จึงเหมาะแก่การศึกษาถึงศักยภาพในการเป็นพื้นที่รับน้ำและกักเก็บน้ำตามธรรมชาติของธรณีสัณฐานเหล่านี้ โดยพื้นที่ศึกษาคือบริเวณ 2 ฝั่งของแม่น้ำชี ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอค้อวังจังหวัดยโสธร อำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรารมย์จังหวัดศรีสะเกษ จากการแปลความภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม ทำให้สามารถจำแนกลักษณะธรณีสัณฐานในพื้นที่ได้เป็น 6 หน่วย คือ ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood Plain) สันดอนทรายเก่าและปัจจุบัน (Former and present point bar) แม่น้ำชี (Chi river) ธารน้ำ (Stream) ทะเลสาบรูปแอก (Oxbow lake) และร่องรอยทางน้ำเก่า (Meander Scar) โดยพบลักษณะธรณีสัณฐานชนิดทะเลสาบรูปแอกทั้งหมด 19 แห่ง และร่องรอยทางน้ำเก่าทั้งหมด 76 แห่ง จากการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบลำดับชั้น (Analytic hierarchy process: AHP) โดยใช้เกณฑ์หลัก 6 เกณฑ์ คือ ความสามารถในการกักเก็บน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ความลาดชันของพื้นผิว ตำแหน่งในแนวกันชนของแม่น้ำ ความถี่น้ำท่วมขังซ้ำซาก และตำแหน่งในแนวกันชนของพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้สามารถแบ่งพื้นที่ศักยภาพสำหรับการรับน้ำและกักเก็บน้ำออกเป็น 3 ระดับ คือ พื้นที่ศักยภาพระดับต่ำ พื้นที่ศักยภาพระดับปานกลาง และพื้นที่ศักยภาพระดับสูง ซึ่งทะเลสาบรูปแอกที่อยู่บนพื้นที่ศักยภาพระดับต่ำมี 2 แห่ง อยู่บนพื้นที่ศักยภาพระดับปานกลางมี 15 แห่ง และอยู่บนพื้นที่ศักยภาพระดับสูงมี 2 แห่ง ในขณะที่ร่องรอยทางน้ำเก่าที่อยู่บนพื้นที่ศักยภาพระดับต่ำมี 1 แห่ง อยู่บนพื้นที่ศักยภาพระดับปานกลางมี 31 แห่ง และอยู่บนพื้นที่ศักยภาพระดับสูงมี 44 แห่ง
Other Abstract: The Chi River is an important river that flows through the center of the Northeastern region of Thailand. Due to the geographical features, the area around The Chi River often floods during the rainy season continuously, alternating with the drought problem in the winter every year. Therefore, it is necessary to find more water storage areas. Due to the presence of many oxbow lakes and meander scar along the Chi River which is an area of low plains and the water used to flow through it, so it is suitable to evaluate the potential of being the natural water storage area. In this study, the study area is on both sides of the Chi River which is in the Kho Wang district, Yasothon Province, Khueang Nai District, Ubon Ratchathani Province, and Kanthararom District, Sisaket Province. From the visual interpretation of aerial images and satellite images, geomorphological features can be classified into 6 features: flood plain, former and present point bar, Chi river, stream, oxbow lake and meander scar which there are 19 oxbow lakes and 75 meander scars. As the result of analysis by Analytic hierarchy process (AHP) to evaluate the potential area for developing to be the water storage area which the factors considered are the water storage capacity, slope, land use, the buffer zone of the river, flooding frequency area and the buffer zone of the urban. The potential area is classified into 3 levels: low potential area, medium potential area and high potential area which there are 2 oxbow lakes and 1 meander scar that are low potential area, 15 oxbow lakes and 31 meander scars are medium potential area and 2 oxbow lakes and 44 meander scars are high potential area.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78401
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-GEO-004 - Kulyada Sook.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.