Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79524
Title: ความชุกของภาวะความหนาแน่นของกระดูกต่ำ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และ การเกิดกระดูกหักในผู้ใหญ่ไทยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด
Other Titles: Prevalence of low bone mineral density, Sarcopenia, and fracture among Thai adults with transfusion dependent Thalassemia
Authors: สุทธนา โสธนนันทน์
Advisors: ลลิตา วัฒนะจรรยา
ปราณี สุจริตจันทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ธาลัสซีเมีย -- ผู้ป่วย
กระดูกพรุน
กระดูกหัก
Thalassemia -- Patients
Osteoporosis
Fractures
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะความหนาแน่นของกระดูกต่ำ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และการเกิดกระดูกหักในผู้ใหญ่ไทยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด วิธีการวิจัย การวิจัยแบบตัดขวางในผู้ใหญ่ไทยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  ทำการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกที่กระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar spine) กระดูกสะโพกรวม (total hip) และกระดูกคอสะโพก (femoral neck) ด้วยเครื่อง dual energy X-ray absorptiometry เก็บข้อมูลกระดูกหักจากการซักประวัติและการตรวจทางรังสีของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว และประเมินภาวะกล้ามเนื้อน้อยตามเกณฑ์วินิจฉัยของ Asian Working Group for Sarcopenia ปี ค.ศ. 2014 ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 116 คน มีค่ามัธยฐานของอายุ 33 (IQR 23-43.5) ปี ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย 20.0 กก./ม.2 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดเบต้าฮีโมโกลบินอี พบความหนาแน่นของกระดูกต่ำ (T-score < -1.0) ร้อยละ 93.9 ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 มีภาวะกระดูกพรุน (T-score < -2.5) พบความชุกของการเกิดกระดูกหักจากภยันตรายที่ไม่รุนแรง (fragility fracture) ร้อยละ 20.7 และภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยร้อยละ 30.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความหนาแน่นของกระดูกได้แก่ ดัชนีมวลกาย (กระดูกสันหลังส่วนเอวและสะโพกรวม) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความหนาแน่นของกระดูกได้แก่ เพศหญิง (กระดูกคอสะโพก) ระดับเฟอร์ริติน (กระดูกสะโพกรวม) ประวัติตัดม้าม (กระดูกสะโพกรวม) และภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (กระดูกสะโพกรวม) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยคือการใช้ยาขับเหล็กชนิด deferiprone (OR 2.37; 95%CI 1.052-5.348, p=0.037) พบว่าผู้ป่วยที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยทุกคนจะมีความหนาแน่นของกระดูกต่ำ ในทางกลับกัน ร้อยละ 32 ของผู้ป่วยที่มีความหนาแน่นของกระดูกต่ำจะมีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยร่วมด้วย และพบว่าภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักจากภยันตรายที่ไม่รุนแรง 3.5 เท่า (OR 3.49, 95%CI 1.318, 9.236, P=0.012) ความผิดปกติทางฮอร์โมนที่พบบ่อยที่สุดในการศึกษานี้คือ ภาวะขาดวิตามินดี (ระดับ 25-dihydroxyvitamin D < 20 นก./มล.) คิดเป็นร้อยละ 51 รองลงมาคือระดับ IGF-1 ต่ำ ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำหรือต่ำแบบไม่มีอาการ ระดับฮอร์โมนเพศต่ำ ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ (impaired fasting glucose) และระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ต่ำ ในความผิดปกติทางฮอร์โมนทั้งหมดนี้ พบว่ามีเพียงระดับ IGF-1 ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความหนาแน่นของกระดูก และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเกิดกระดูกหักจากภยันตรายที่ไม่รุนแรง  สรุป ผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความหนาแน่นของกระดูกต่ำ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และกระดูกหักจากภยันตรายที่ไม่รุนแรง ดังนั้นจึงควรมีแนวทางคัดกรองและป้องกันภาวะเหล่านี้ เพื่อลดโอกาสในการเกิดกระดูกหักในอนาคต 
Other Abstract: Objective: To determine the prevalence of and risk factors for low bone mineral density (BMD), sarcopenia, and fragility fracture in patients with transfusion-dependent thalassemia (TDT) Methods: A cross-sectional study was conducted in Thai adults with TDT who attended hematological clinic at the King Chulalongkorn Memorial Hospital. BMD at the lumbar spine (LS), total hip (TH) and femoral neck (FN), was measured by the dual energy X-ray absorptiometry. Self-reported clinical fractures were collected by interview and morphometric vertebral fracture was assessed by a lateral thoracolumbar radiograph. Sarcopenia was defined using Asian Working Group for Sarcopenia 2014 criteria.  Results: Of 116 TDT patients were recruited with median age of was 33 (IQR 23-43.5) years and mean body mass index (BMI) was 20.0 kg/m2. Most of them had hemoglobin E-beta thalassemia. Low BMD (T-score < -1.0) was present in 93.9% of patients. Of these, 40% had osteoporosis (T-score < -2.5) at any sites. Overall, prevalence of fragility fractures and sarcopenia were 20.7%, and 30.2% respectively. In this study, BMI was positively associated with BMD at the LS and TH, while female gender (FN), serum ferritin level (TH), history of splenectomy (TH) and sarcopenia (TH) were negatively associated with BMD. We found that patients who were on deferiprone have higher risk of having sarcopenia (OR 2.37; 95%CI 1.052-5.348, p=0.037). Interestingly, all participants who had sarcopenia also have low BMD. In contrast, about 32% of patients with low BMD have sarcopenia. Moreover, patients with sarcopenia had a 3.5 times greater risk of fragility fracture (OR 3.49, 95%CI 1.318, 9.236, P=0.012). Vitamin D deficiency (serum 25-dihydroxyvitamin D <20 ng/mL) was the most common endocrinopathy (51%), followed by low IGF-1 level, secondary hypothyroidism/subclinical hypothyroidism, secondary hypogonadism, impaired fasting glucose, and hypoparathyroidism. However, only IGF-1 level was positively associated with BMD and negtively associated with sarcopenia. Conclusion: Patients with transfusion-dependent thalassemia were at risk of low BMD, sarcopenia, and fragility fracture. Screening and prevention of low BMD and sarcopenia should be considered in these patients to lower the risk of fractures.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79524
URI: http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1332
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1332
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270070130.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.