Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79561
Title: การศึกษาไปข้างหน้าในการคาดการณ์การฟื้นตัวของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลโดยใช้การเพิ่มขึ้นของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์
Other Titles: The prediction of neutrophil recovery by increasing monocyte count, A prospective study
Authors: ภัทรภณ ยศธแสนย์
Advisors: สืบพงศ์ ธนสารวิมล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: เม็ดเลือดขาว
โมโนไซต์
มะเร็ง -- ผู้ป่วย
Leucocytes
Monocytes
Cancer -- Patients
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำเป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดการล่าช้าของการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังได้รับยาเคมีบำบัด แม้ว่าการฟื้นตัวของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลจะเกิดขึ้นในระยะเวลาที่แตกต่างกันในแต่ละผู้ป่วย การเลื่อนรับยาเคมีบำบัดมักจะทำเป็นเรื่องปกติและไม่มีกฎเกณฑ์ จากหลายการศึกษาย้อนหลังได้แสดงถึงเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์มักจะฟื้นตัวก่อนการฟื้นตัวของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาไปข้างหน้า, สังเกตการณ์ (prospective observational study) ในผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและพบว่ามีจำนวนสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลน้อยกว่า 1500 เซลล์ต่อไมโครลิตร และต้องได้รับการเลื่อนรับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการนัดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ณ วันที่ 3 นับจากผลเลือดครั้งแรก ตัวชี้วัดหลักของการศึกษา (primary endpoint) คือการเปรียบเทียบอุบัติการณ์การฟื้นตัวของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (มากกว่าหรือเท่ากับ 1500 เซลล์ต่อไมโครลิตร) ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ตั้งต้นสูงและต่ำ โดยใช้เกณฑ์การแบ่งกลุ่มที่จำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ตั้งต้นเท่ากับร้อยละ 15 และหรือมากกว่าหรือเท่ากับ 400 เซลล์ต่อไมโครลิตร ผลการศึกษา: ตั้งแต่กรกฎาคม 2564 ถึง มีนาคม 2565 ผู้ป่วยทั้งหมด 88 ราย มีจำนวน 50 รายที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ตั้งต้นสูง และจำนวน 38 รายที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ตั้งต้นต่ำ อุบัติการณ์การฟื้นตัวของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล ณ วันที่ 3 มีร้อยละ 64.0 (32/50) ในกลุ่มโมโนไซต์ตั้งต้นสูง และร้อยละ 31.6 (12/38) ในกลุ่มโมโนไซต์ตั้งต้นต่ำ (p=0.003) อุบัติการณ์การฟื้นตัวของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล มีร้อยละ 67.6 (25/37) ในกลุ่มโมโนไซต์ตั้งต้นมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 15 และร้อยละ 37.3 (19/51) ในกลุ่มน้อยกว่าร้อยละ 15 (p=0.005) อุบัติการณ์การฟื้นตัวของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทร มีร้อยละ 70.7 (29/41) ในจำนวนสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์มากกว่าหรือเท่ากับ 400 เซลล์ต่อไมโครลิตร และร้อยละ 31.9 (15/47) ในกลุ่มน้อยกว่า 400 เซลล์ต่อไมโครลิตร (p=<0.001) อัตราผู้ป่วยที่สามารถรับยาเคมีบำบัดได้มีจำนวนร้อยละ 68.0 (34/50) ในกลุ่มโมโนไซต์ตั้งต้นสูง และร้อยละ 39.5 (15/38) ในกลุ่มโมโนไซต์ตั้งต้น (p=0.008) จากวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (multivariate analysis) พบว่ามะเร็งระยะที่ 4 และจำนวนสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์มากกว่าหรือเท่ากับ 400 เซลล์ต่อไมโครลิตร เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล สรุปผล: อุบัติการณ์การฟื้นตัวของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลที่เร็ว มีความสัมพันธ์กับจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ตั้งต้นมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 15 และหรือจำนวนสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์มากกว่าหรือเท่ากับ 400 เซลล์ต่อไมโครลิตร
Other Abstract: Background: Neutropenia is a major reason for treatment delay in cancer patients receiving chemotherapy. Although neutrophil could recover at various time points among patients, chemotherapy delays are usually arbitrary. Several retrospective studies showed that monocyte recovery usually comes right before neutrophil recovery. Material and Methods: We conducted a prospective observational study involving patients with an absolute neutrophil count (ANC) less than 1500 cells/µL required chemotherapy delay. All patients were scheduled to have complete blood count on day 3 of delay period. The primary analysis was the comparison of recovery rate of neutrophil (ANC 1500 cells/µL or higher) between patients with high and low initial monocyte count, using cutoff of monocyte count 15% or higher and/or absolute monocyte count (AMC) 400 cells/µL or higher.  Results: From July 2021 to March 2022. A total of 88 patients were enrolled. 50 patients had high initial monocyte and 38 patients had low initial monocyte. The recovery rate of neutrophil at day 3 was 64.0% (32/50) in the high initial monocyte and 31.6% (12/38) in the low initial monocyte (p=0.003). The recovery rate of neutrophil at day 3 was 67.6% (25/37) in the initial monocyte count 15% or higher and 37.3% (19/51) in the initial monocyte count less than 15% (p=0.005). The recovery rate of neutrophil at day 3 was 70.7% (29/41) in the initial absolute monocyte count 400 cells/µL or higher and 31.9% (15/47) in the initial absolute monocyte count less than 400 cells/µL (p=<0.001). The rate of receiving chemotherapy was 68.0% (34/50) in the high initial monocyte and 39.5% (15/38) in the low initial monocyte (p=0.008). The multivariate analysis demonstrated the cancer stage 4 and initial absolute monocyte count 400 cells/µL or higher as an independent predictor for early neutrophil recovery. Conclusion: Early neutrophil recovery was associated with high initial monocyte count (15% or higher) and/or absolute monocyte count (400 cells/µL or higher). 
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79561
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1151
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1151
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370093730.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.