Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79959
Title: วาทกรรมการขอรับบริจาคเงินในสื่อสังคมของไทย: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
Other Titles: The discourse of monetary donation request in Thai social media: a critical discourse analysis
Authors: กุณฑิกา ชาพิมล
Advisors: เทพี จรัสจรุงเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวาทกรรมการขอรับบริจาคเงินในสื่อสังคมของไทย ตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โดยมีวัตถุประสงค์ การวิจัย 2 ประการ คือ เพื่อศึกษา 1) รูปแบบ โครงสร้าง และองค์ประกอบของวาทกรรมการขอรับบริจาคเงิน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับอุดมการณ์เกี่ยวกับการบริจาคเงินในสังคมไทย ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยจากสื่อสังคมของไทย 3 กลุ่มข้อมูล ได้แก่ สื่อบุคคล คือ เฟซบุ๊กบิณฑ์ สื่อโครงการ คือ เฟซบุ๊กโครงการก้าว และสื่อมูลนิธิ คือ เว็บไซต์มูลนิธิ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 แนวทางการวิเคราะห์อาศัยกรอบแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของแฟร์คลัฟ (Fariclough, 1995; 2003) และของฟาน ไดก์ (Van Dijk, 2008) ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมการขอรับบริจาคเงินมิได้ทำหน้าที่เพื่อเชิญชวนการบริจาคเงินเท่านั้น แต่ยังสื่อความคิดว่าการบริจาคเงินเป็นวิธีที่สามารถช่วยเหลือแก้ไขปัญหาในสังคมผ่านการประกอบสร้างของตัวบทซึ่งมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนต้น ทำหน้าที่บอกประเด็นปัญหา ส่วนกลาง ทำหน้าที่ให้รายละเอียดข้อมูลปัญหาและวิธีการช่วยเหลือ และส่วนท้าย ทำหน้าที่โน้มน้าวใจให้บริจาคเงิน ตัวบทมีลักษณะความเป็นเรื่องเล่าที่นำมาจากเรื่องจริง มีการใช้ภาษาเพื่อเล่ารายละเอียด รายงานสถานการณ์ เร้าความรู้สึกให้ผู้รับสารตัดสินใจบริจาคเงิน อีกทั้งปริบทการสื่อสารมีส่วนสำคัญต่อการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในสังคมของการบริจาคเงิน ทำให้เห็นว่าสื่อกลางการขอรับบริจาคเงินแต่ละกลุ่มมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน สื่อบุคคลเน้นความน่าเชื่อถือของบิณฑ์ และปัญหาในระดับปัจเจกบุคคล ขณะที่สื่อโครงการเน้นความน่าเชื่อถือของตูนกับคณะผู้จัดทำโครงการ และปัญหาระดับหน่วยงาน ส่วนสื่อมูลนิธิเน้น ความน่าเชื่อถือขององค์กร และปัญหาต่าง ๆ ในสังคม นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับอุดมการณ์เกี่ยวกับการบริจาคเงินในสังคมไทย พบว่า วาทกรรมการขอรับบริจาคเงินได้ประกอบสร้างชุดความคิดที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) ชุดความคิดเกี่ยวกับผู้ขอรับบริจาคเงินว่าเป็นผู้มีปัญหาในชีวิตที่น่าเห็นใจ และเหมาะสมกับการได้รับความช่วยเหลือ 2) ชุดความคิดเกี่ยวกับผู้บริจาคเงินว่าเป็นผู้ที่ทำหน้าที่พลเมือง และเป็นคนดีที่ทำความดีด้วยการบริจาคเงิน 3) ชุดความคิดเกี่ยวกับสื่อกลางการขอรับบริจาคเงินว่าเป็นผู้สร้างโอกาส ผู้เชี่ยวชาญและวีรบุรุษ รวมถึงยังเป็นผู้นำในการทำความดี และ4) ชุดความคิดเกี่ยวกับการบริจาคเงินว่าเป็นวิธีเดียวในการแก้ไขปัญหาที่สะดวก ง่าย และเหมาะสม การบริจาคเงินสามารถสร้างสถานะคนดีในสังคมและสร้างสังคมที่พึงประสงค์ได้ ชุดความคิดเหล่านี้ ถูกประกอบสร้างผ่านกลวิธีทางภาษา ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์หรือกลุ่มคำ การใช้ทัศนภาวะ การสื่อมูลบท การใช้ความเปรียบ การใช้อุปลักษณ์ การใช้ วัจนกรรม การใช้รูปประโยค การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ การใช้สำนวน การใช้คำขวัญ การใช้สหบท การอ้างถึง การขยายความ การเน้นความ การเล่าเรื่อง และการใช้ภาพประกอบ ยิ่งไปกว่านั้น ปริบททางสังคมวัฒนธรรม อาทิเช่น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในสังคมไทย กระแสสังคมเกี่ยวกับสื่อสังคมของไทย สถาบันครอบครัว สถาบันทางเศรษฐกิจ รวมถึงแนวคิดการบริจาคเงิน ต่างมีอิทธิพลต่อวาทกรรม สร้างความเข้าใจว่า เงินเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถแก้ไขปัญหาในสังคม และการบริจาคเงินเป็นทางออกเพียงทางเดียวในการให้ความช่วยเหลือ สรุปได้ว่า ชุดความคิดที่ปรากฏผ่านกลวิธีทางภาษาสื่อสะท้อนว่าอุดมการณ์หลักในสังคม คือ ทุนนิยมที่มีอิทธิพลในการประกอบสร้างตัวบทโดยอาศัยแนวคิดการทำบุญทำทานเป็นเครื่องมือในการครอบงำความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของคนในสังคมให้เชื่อว่า เงินมีบทบาทสำคัญใน การแก้ไขปัญหา การบริจาคเงินสามารถสร้างสถานะของคนดีและสังคมที่พึงประสงค์ นอกจากนี้วาทกรรมการขอรับบริจาคเงินยังแสดงให้เห็นความต่างสถานภาพของคนในสังคมที่แบ่งแยกได้ด้วยสถานะทางการเงิน แต่เชื่อมโยงเป็นสังคมเดียวกันได้ด้วยการบริจาคเงิน
Other Abstract: This thesis aimed at studying the discourse of monetary donation request in Thai social media following a critical discourse analysis notion. It consisted of two objectives that were (1) studying structures and elements of the discourse of the monetary donation request; and (2) investigating the relationship between linguistic strategies and the ideology of monetary donation request in Thai society. The data were gathered from three groups of Thai social media including personal media through the Facebook account of Bin Bunluerit, project media through the Facebook account of Kao project, and foundation media through foundation websites. The data were collected from January 2017 to December 2018 and were analyzed with the critical discourse analysis theory developed by Fairclough (Fariclough, 1995; 2003) and Van Dijk (Van Dijk, 2008). The results revealed that the discourse of monetary donation did not only persuade money donating, but it also conveyed the idea that the donation was the solution of social problems. The idea was carried out through three parts of discourse structure including the beginning to inform the problem, the middle to give problem details and solutions, and the end to persuade the donation. The discourse was a narrative derived from a true story using language to inform details and situations, and arouse the monetary donation. Moreover, a communication context played an important role in interactions relevant to the monetary donation. It showed that each intermediary had different emphasis. The personal media emphasized on the credibility of Bin and individual problems. The project media focused on the credibility of Toon and his project committee and institutional problems, and the foundation media concentrated on the credibility of organizations and social problems. When considering the relationship between linguistic strategies and the ideology of monetary donation in Thai society, it was discovered that the discourse represented four important ideas including 1) the idea that regarded a person who requested for a donation as a sympathetic person with a problem in life, and that person was appropriate to receive help; 2) the idea that considered a donor as a respondent of citizen duties and a good person; 3) the idea that treated an intermediary of the donation project as an opportunity maker, a hero and a leader of doing good acts; 4) the idea that reckoned the donation as the only way that was convenient, simple and suitable for problem solving. The donation could make one person a good man, and it brought about the desirable society. All these ideas were created through linguistic strategies that were a word or a group of words, modality, presuppositions, metaphors, speech acts, sentence structures, rhetorical questions, idioms, slogans, intertextuality, references, explanations, emphasis, narratives, and illustrations. Moreover, socio- cultural contexts, Thai economic situations, Thai social media trends, a family unit, economic institutions and monetary donation idea, have influenced on the discourse. They formed an understanding that money was the key factor for solving social problems. In conclusion, the sets of ideas conveyed through linguistic strategies reflected the main ideology of the society that was the capitalism. It had influences on discursive formation by using the charity idea to dominate thoughts, beliefs, attitudes and values ​​of people to believe that money was important. The monetary donation created good people and the desirable society. Moreover, the discourse of monetary donation expressed the different financial status of people in a society. However, they could be linked to form one society by donating the money.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79959
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.781
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.781
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6080501922.pdf11.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.