Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8002
Title: ความชุกของโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญในผู้ป่วยที่ติดสารแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถาบันธัญญารักษ์
Other Titles: Prevalence of posttraumatic stress disorder in amphetamine dependence patients at Thanyarak Institute
Authors: อารีรัตน์ แสงศิริ
Advisors: อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความเครียด (จิตวิทยา)
แอมฟิตะมิน
สถาบันธัญญารักษ์
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความชุกของโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญในผู้ป่วยที่ติด สารแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถาบันธัญญารักษ์ และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคเครียด ภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นผู้ป่วยที่ติดสารแอมเฟตามีนที่มี คุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมารับการบำบัดรักษาในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาซึ่งมีจำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์สภาวะทางจิต- สังคม (Phycho-social interview form) และแบบสัมภาษณ์การวินิจฉัยโรคสำหรับโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์ สะเทือนขวัญตามเกณฑ์ วินิจฉัยของ DSM-IV ค่าสถิติที่ใช้ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตาฐาน ค่าฐานนิยม ค่าสูงสุด ค่ำต่ำสุด Chi-square test ( X ) Fisher's Exact test Independent Sample t-test และ Pearson Correlation. ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ คิดเป็นร้อยละ 10.0 พบในผู้ป่วยหญิงร้อยละ 16.7 และผู้ป่วยชายร้อยละ 3.3 โรคเครียดภายหลังเหตุการณ์ สะเทือนขวัญมีความสัมพันธ์กับเพศ ความสัมพันธ์ในครอบครัวของผู้ป่วย และเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ในชีวิตที่ผู้ป่วยเคยประสบใน 3 เหตุการณ์คือ รับรู้ว่าคนใกล้ชิดเจอเหตุร้ายต่างๆ ถูกข่มขืนกระทำชำเรา และถูกล่วงเกินทางเพศ จำนวนครั้งของการเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับ การใช้ปริมาณยาเสพติดที่ใช้มากที่สุดในชีวิต ปริมาณยาที่ใช้ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนก่อนมาเข้ารับ การบำบัดรักษา และปริมาณยาที่ใช้มากที่สุดในช่วงระยะเวลา 6 เดือนก่อนมาเข้ารับการบำบัดรักษา
Other Abstract: This study was aimed to estimate the prevalence of posttraumatic stress disorder in amphetamine abusers who received treatment at Thanyarak Institute and to study factors associated with posttraumatic stress disorder 120 qualified subjects were recruited for this study. The demographic data was collected using structured interview. Posttraumatic stress disorder were diagnosed base on DSM-IV criteria using structured interview. Percentage, mean, standard deviation, Mode, maximum and minimum were determined. Chi-square test, Fisher's Exact test, Pearson Correlation and Independent Sample T-test were used for statistical analysis. This study found that the prevalence of posttraumatic stress disorder in amphetamine patients was 10.0%, 16.7% in Female and 3.3% in Male. Factors associated with posttraumatic stress disorder were sex, family relationship, and type of traumatic events, where learning about first degree relation's traumatic events, being raped and sexual abused were associated with having PTSD. Total number of traumatic experiences were positively correlated with highest amount amphetamine ever used in lifetime and the amount of amphetamine used in six month prior to admission.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8002
ISBN: 9741424493
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
areerat.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.